ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด
การผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยง แต่เปอร์เซ็นต์ในการเกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดของโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอนั้นค่อนข้างน้อย และเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก โดยความเสี่ยงที่อาจพบ ได้แก่
- การผ่าตัดแบบการเย็บด้านตรงข้ามกับด้านที่โค้งงอเป็นเทคนิคที่ใช้ไหมชนิดไม่ละลาย ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้อวัยวะเพศชายสั้นลง หรืออาจทำให้เกิดก้อนใต้ผิวหนังได้
- การผ่าตัดเทียมอวัยวะเพศชายอาจมีความเสี่ยง เช่น การติดเชื้อ
ผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอด้วยการผ่าตัด ควรดูแลแผลผ่าตัดให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ หรือการอักเสบของแผล
2. การรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอด้วยการใช้ยา
ยาที่นิยมใช้ในการรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ อาจมีดังนี้
- ยาไอบูโพรเฟน ช่วยบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบได้
- ยาทาดาลาฟิล ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในอวัยวะเพศ และอาจป้องกันไม่ให้แผลเป็นแย่ลง
- ยาเพนท็อกซิฟิลลีน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด แต่อาจทำให้ปวดท้อง
- กรดอะมิโนแอลอาร์จินิน เป็นกรดอะมิโนที่สามารถกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้
- ยาโคลชิซีน ช่วยลดอาการบวม
3. การรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอด้วยการฉีดสารบางชนิด
สารที่นิยมนำมาฉีดเพื่อรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ ได้แก่
- เอนไซม์คอลลาจีเนส (Collagenase) หากมีอวัยวะเพศชายโค้งงอเกิน 30 องศา แต่น้อยกว่า 90 องศา เพื่อสลายเนื้อเยื่อแผลเป็น และปรับให้อวัยวะเพศตรงขึ้น
- อินเตอร์เฟียรอน (Interferon) เป็นโปรตีนที่ช่วยควบคุมอาการบวม และการเกิดแผลเป็น โดยช่วยชะลออัตราการสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นด้วยการสร้างเอนไซม์
- เวอราปามิล (Verapamil) เป็นยากลุ่มแซลเซียมแชแนลบล็อกเกอร์ หรือยาปิดกั้นแคลเซียมที่ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง เมื่อฉีดเข้าไปในคราบจุลินทรีย์ จะช่วยลดอาการปวดอวัยวะเพศ และลดความโค้งงอของอวัยวะเพศชายได้
ผู้ชายทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอได้ หากสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคนี้ หรือมีความผิดปกติที่อวัยวะเพศ ควรรีบปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะได้หาวิธีรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะโรคนี้ยิ่งทิ้งไว้อาจยิ่งรักษาได้ยากขึ้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย