backup og meta

อวัยวะเพศชาย แข็งตอนเช้า เรื่องปกติหรือมีอารมณ์ทางเพศ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/01/2024

    อวัยวะเพศชาย แข็งตอนเช้า เรื่องปกติหรือมีอารมณ์ทางเพศ

    อวัยวะเพศชาย มักมีอาการแข็งตอนเช้า หรือที่ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า การแข็งตัวขององคชาติในขณะหลับ โดยอาการแข็งตัวนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในเด็กผู้ชายและผู้ชายทุกคน แต่อาจมีลักษณะอาการแข็งตัวบางอย่างที่อาจแสดงถึงความผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอ

    อวัยวะเพศชาย แข็งตอนเช้า เกิดจากอะไร

    มีความเข้าใจผิดว่าเกี่ยวกับอาการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายยามเช้า โดยเฉพาะที่ว่า อาการดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ถูกกระตุ้นทางเพศ หรือเป็นเพราะร่างกายกักเก็บปัสสาวะเอาไว้ในขณะนอนหลับ หรือมีความคิดหรือความฝันในเรื่องเพศ ซึ่งแท้จริงแล้วอาการแข็งตัวยามเช้าอาจเป็นอาการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่ง 

    สาเหตุของอาการแข็งตัวยามเช้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ  ดังนี้

    • การกระตุ้นทางร่างกาย ถึงแม้ดวงตาจะปิดสนิท แต่ร่างกายยังคงรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวได้ ถ้าผู้ชายหรือคนรักเผลอเอามือไปสัมผัสกับอวัยวะเพศโดยบังเอิญ อวัยวะเพศชายก็อาจเกิดการแข็งตัวขึ้นมาได้ ร่างกายจะรับรู้ได้ถึงการกระตุ้น และโต้ตอบด้วยอาการแข็งตัว
    • การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะพุ่งขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดหลังตื่นนอนตอนเช้า ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการแข็งตัวได้ แม้ไม่มีสิ่งกระตุ้นทางร่างกาย แต่เวลาที่ผู้ชายมีอายุมากขึ้น โดยปกติระหว่าง 40-50 ปี ระดับเทสโทสเตอโรนก็จะเริ่มลดลง ส่งผลให้อาการแข็งตัวยามเช้าลดลงตามไปด้วย
    • ผ่อนคลายสมอง ในช่วงที่ตื่นขึ้นมานั้น ปกติสมองจะปล่อยนออารีนาลีน (Noradrenaline)ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่คอยควบคุมแรงดันเลือดแต่ในขณะหลับสมองจะปล่อยฮอร์โมนตัวนี้น้อยลงทำให้มีอาการอวัยวะเพศแข็งตัวในตอนกลางคืนถึงตอนเช้านี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ชายถึงเกิดอาการแข็งตัวในขณะนอนหลับ และมักจะมีสภาวะการแข็งตัวขององคชาตในขณะหลับมากขึ้น

    อวัยวะเพศชายแข็งตอนเช้า เกิดขึ้นกับใครบ้าง

    ผู้ชายทุกวัยมักจะมีอาการเช่นนี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี ในการทำงานของระบบเลือดและระบบประสาท ที่อยู่ในบริเวณอวัยวะเพศ เด็กผู้ชายอาจมีอาการแข็งตัวยามเช้าได้ตั้งอายุ 6-8 ขวบ และอาการแข็งตัวยามเช้าอาจเกิดขึ้นผู้ชายในวัย 60-70 ปีก็ได้

    ผู้ชายอาจมีอาการแข็งตัวได้ถึงคืนละ 3-5 ครั้ง โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับความฝัน และอาจมีอาการแข็งอยู่ได้นานถึง 30 นาที ผู้ชายบางคนอาจมีอาการแข็งตัวได้นานถึง 2 ชั่วโมงในระหว่างนอนหลับ ซึ่งอาการอวัยวะเพศแข็งตัวโดยส่วนใหญ่จะหายไปหลังตื่นนอนได้ 2-3 นาที

    ถ้าไม่มีอาการ อวัยวะเพศชายแข็งตอนเช้า หมายความว่าอย่างไร

    อาการแข็งตอนยามเช้าบ่งบอกว่าระบบเลือดและระบบประสาทในบริเวณอวัยวะเพศนั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังบ่งบอกว่าผู้ชายคนนั้นมีความสามารถคงอาการแข็งตัวในขณะตื่นได้ด้วย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    หากอวัยวะเพศชาย ไม่แข็งตอนเช้า อาจเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับภาวะสุขภาพว่าผู้ชายคนนั้นอาจมีความผิดปกติบางอย่าง ได้แก่  

    นอกจากนี้ การใช้ยาก็อาจส่งผลต่ออาการแข็งตัวยามเช้าด้วย ยาแก้ปวดและยาต่อต้านอาการซึมเศร้าอาจทำให้อาการแข็งตัวยามเช้าหายไป อาการแข็งตัวยามเช้าจะลดลงเมื่อผู้ชายมีอายุมากขึ้น แต่ถ้าผู้ชายคนไหนที่ยังอายุน้อยแต่ไม่มีอาการแข็งตัวยามเช้า หรือจู่ ๆ อาการแข็งตอนเช้าหายไป ควรให้คุณหมอตรวจวินิจฉัย 

    ควรไปพบคุณหมอเมื่อไร

    อาการแข็งตัวยามเช้าเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีสุขภาพดี แต่หากเกิดความปกติบางอย่างควรปรึกษาคุณหมอ ดังนี้

    • อาการแข็งตัวยามเช้าหายไป ถ้าผู้ชายเคยมีอาการอวัยวะเพศแข็งตอนเช้าเป็นประจำ แล้วจู่ ๆ อาการแข็งตัวหายไปเลยหรือมีบ้างแต่น้อยมาก ควรปรึกษาคุณหมอ ถึงแม้อาการแข็งตัวยามเช้าจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่หากอาการเช่นนั้นหายไปทันที อาจบ่งบอกว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพแอบแฝงอยู่
    • อาการแข็งตัวยามเช้าทำให้รู้สึกเจ็บ อาการแข็งตัวยามเช้าจะหายไปภายใน 30 นาทีหลังตื่นนอน แต่ถ้าอาการแข็งตัวยามเช้าไม่ยอมหายไปหลังตื่นนอนเกิน 1 ชั่วโมง หรืออาการแข็งตัวนั้นทำให้รู้สึกเจ็บปวด จำเป็นต้องพบคุณหมอ

    แม้ว่าอวัยวะเพศชายแข็งตอนเช้าเป็นเรื่องปกติ แต่หากรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับอาการแข็งตัว เมื่อถึงเวลาตรวจสุขภาพประจำปี ควรเล่าให้คุณหมอฟังถึงอาการและความถี่ที่อวัยวะเพศชายแข็งตัวยามเช้า เพื่อคุณหมออาจช่วยวินิจฉัยได้ว่าปกติหรือผิดปกติหรือไม่  

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/01/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา