โดยทั่วไป ถุงน้ำบริเวณช่องคลอดมักเกิดบริเวณผนังหรือปากช่องคลอด ทำให้สามารถคลำเจอช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระได้ แต่มักไม่รู้สึกเจ็บ ยกเว้นในกรณีติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้ถุงน้ำเกิดฝีและกลัดหนอง รู้สึกเจ็บได้โดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์
การรักษาถุงน้ำบริเวณช่องคลอด
หากตรวจพบถุงน้ำขนาดเล็กในช่องคลอด โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย คุณหมอมักไม่ใช้วิธีผ่าตัดเพื่อรักษาเนื่องจากไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพียงแต่ในเบื้องต้น คุณหมอมักใช้วิธีตรวจภายในและติดตามอาการเป็นระยะ ๆ
อย่างไรก็ตาม ถ้าถุงน้ำสร้างความเจ็บปวดเนื่องจากการติดเชื้อ คุณหมอจะรักษาด้วยการให้รับประทานยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ถ้าคุณหมอสันนิษฐานจากลักษณะและอาการต่าง ๆ ว่าถุงน้ำบริเวณช่องคลอดอาจเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง คุณหมอจะขอตัดชิ้นเนื้อไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป
ถุงน้ำของต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst )
ถุงน้ำของต่อมบาร์โธลิน เป็นถุงน้ำบริเวณช่องคลอดแบบหนึ่ง เกิดจากการอุดตันของท่อเล็ก ๆ ของต่อมบาร์โธลินซึ่งมีหน้าที่คอยลำเลียงน้ำหล่อลื่นซึ่งผลิตจากต่อมบาร์โธลิน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ช่วยลดการเสียดสีของผิวหนังระหว่างมีเพศสัมพันธ์
ในทางการแพทย์ สาเหตุการอุดตันของท่อต่อมบาร์โธลินยังไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณช่องคลอด
ทั้งนี้ เมื่อเป็นถุงน้ำของต่อมบาร์โธลิน ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีก้อนบวมที่ช่องคลอด หรือปากช่องคลอด หรือรู้สึกว่าช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระ แต่มักไม่รู้สึกเจ็บปวด
อย่างไรก็ตาม หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บช่องคลอดเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายอย่างการเดิน นั่ง หรือมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอาจเกิดการกลัดหนองหากช่องคลอดติดเชื้อแบคทีเรีย และทำให้บริเวณรอบ ๆ มีอาการบวม แดง และเจ็บได้
การรักษาถุงน้ำของต่อมบาร์โธลิน
หากถุงน้ำของต่อมบาร์โธลินมีขนาดเล็กอาจไม่ต้องรักษา แต่หากถุงน้ำของต่อมบาร์โธลินทำให้เจ็บปวด คุณหมอจะแนะนำให้แช่ตัวในอ่างน้ำอุ่น วันละหลายครั้ง เป็นเวลา 3-4 วันติดต่อกัน ร่วมกับการรับประทานยาแก้ปวด
หากดูแลตัวเองตามคำแนะนำของคุณหมอแล้วอาการเจ็บปวดไม่ดีขึ้น คุณหมอจะใช้วิธีอื่นรักษาถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน ด้วยการผ่าถุงน้ำแล้วสอดสายสวนเข้าไปภายใน เพื่อช่วยระบายของเหลวซึ่งขังอยู่ด้านในให้ไหลออกมาจนหมด ซึ่งจะทำให้ถุงน้ำค่อย ๆ ยุบลง
ติ่งเนื้อบริเวณช่องคลอด
ติ่งเนื้อบริเวณช่องคลอด เป็นก้อนเนื้อขรุขระแบบหนึ่ง ไม่เป็นอันตราย เกิดจากการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับเสื้อผ้า โดยคนอ้วนมักมีโอกาสเกิดติ่งเนื้อมากกว่าคนผอม เพราะเสื้อผ้าอาจรัดแน่น และเสียดสีกับร่างกายมากกว่า
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย