ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงตกขาว
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อความสมดุลของแบคทีเรีย ทำให้กลิ่น สีและเนื้อสัมผัสของตกขาวเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
- การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อปรสิต พบบ่อยในผู้หญิงเปลี่ยนคู่นอนบ่อยและไม่ป้องกัน
- การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหลังการผ่าตัด
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม หนองใน
- ช่องคลอดอักเสบ
- โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็งปากมดลูก โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ
- การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่รุนแรงสวนล้างช่องคลอด
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ปฏิชีวนะ สเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด
- วัยหมดประจำเดือนที่ผนังช่องคลอดบางและแห้ง
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ได้โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยตกขาว
หากตกขาวมีสี มีกลิ่น และมีอาการที่บอกถึงความผิดปกติ คุณหมออาจวินิจฉัยอาการเบื้องต้นด้วยการซักประวัติสุขภาพและสอบถามอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับตกขาว หรืออาจเก็บตัวอย่างตกขาวเพื่อทดสอบหาเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือเชื้อปรสิต เพื่อหาสาเหตุของอาการ
การรักษาตกขาว
วิธีรักษาอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของอาการตกขาวผิดปกติ ดังนี้
- การติดเชื้อรา มักรักษาด้วยยาเหน็บหรือครีมต้านเชื้อราในช่องคลอด เช่น โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) บูโตโคนาโซล (Butoconazole)ไทโอโคนาโซล (Tioconazole) และยารับประทานฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
- ภาวะช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย อาจรักษาด้วยยาเมโทรนิดา (Metronidazole) แบบเม็ดรับประทานหรือสอดช่องคลอดหรือเจล หรือครีมคลินดามัยซิน (Clindamycin) ใช้ทาช่องคลอดเพื่อลดอาการอักเสบ
- ช่องคลอดอักเสบที่ไม่ติดเชื้อ อาจต้องระบุสาเหตุของการอักเสบ เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดที่รุนแรง ผ้าอนามัยแบบสอด หรือน้ำยาซักผ้า และหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดความระคายเคืองและอักเสบในช่องคลอด และหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว
- โรคพยาธิในช่องคลอด เชื้อไตรโคโมแนส (Trichomoniasis) อาจรักษาด้วยยา เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) หรือยาทินิดาโซล (Tinidazole)
- กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะของวัยหมดประจำเดือน หรือช่องคลอดฝ่อ อาจรักษาด้วยเอสโตรเจนรูปแบบของครีม หรือยาเม็ด
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับตกขาว
การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันปัญหาตกขาวที่ผิดปกติ สามารถทำได้ดังนี้
- รักษาช่องคลอดให้สะอาด โดยล้างด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่นบริเวณภายนอก หลีกเลี่ยงการสวนล้างหรือใช้สบู่ล้างด้านในช่องคลอดเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือแบคเรียในช่องคลอดเสียสมดุลได้
- หลังจากเข้าห้องน้ำ ควรเช็ดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันแบคทีเรียเข้าสู่ช่องคลอดและทำให้เกิดการติดเชื้อ
- ควรสวมกางเกงในผ้าฝ้ายที่ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง และหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่คับจนเกินไป
- และทำความสะอาดช่องคลอดด้วยน้ำทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพราะอาจเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้
- หากตกขาวเปลี่ยนสี มีกลิ่นรุนแรง หรือมีอาการคันและแสบช่องคลอดร่วมด้วย ควรเข้าพบคุณหมอทันที
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย