แต่หากสังเกตว่าประจำเดือนมีสีอื่นนอกเหนือจากสีชมพูหรือสีแดง เช่น สีเทา สีส้ม สีดำ สีน้ำตาล ตั้งแต่วันแรกที่เป็นประจำเดือน หรือมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ควรเข้าพบคุณหมอ
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และมาแบบกะปริบกะปรอย
- ประจำเดือนมานานกว่า 7 วัน
- ประจำเดือนมามาก จนจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
- ประจำเดือนขาดนานกว่า 3 เดือน โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์
- สีตกขาวผิดปกติและช่องคลอดมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
- ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง
- มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียนระหว่างเป็นประจำเดือน
- มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบากหลังประจำเดือนหมด
- ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือดหรือเป็นก้อนขนาดใหญ่
- รอบเดือนเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน และมีรอบเดือนระยะสั้นกว่า 24 วัน หรือนานกว่า 38 วัน
- เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน แต่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
ควรเข้าพบคุณหมอทันทีหากสังเกตพบอาการดังกล่าว เพื่อรับการตรวจคัดกรองโรคเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด เนื้องอกในช่องคลอด ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก และการแท้งบุตร
วิธีดูแลตัวเองที่อาจช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ
วิธีดูแลตัวเองที่อาจช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ อาจทำได้ดังนี้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและช่วยรักษาความสมดุลของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน
- ลดความเครียด เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดูหนัง เล่นเกม ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ เพราะความเครียดอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาช้า
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาความสมดุลของฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไป หรือใช้แรงมากเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดและเหนื่อยล้า ที่อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาดได้
- รับประทานยาคุมกำเนิด ในรูปแบบ 21 หรือ 28 เม็ด ที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินเพื่อช่วยให้ฮอร์โมนสมดุลและอาจกระตุ้นให้ประจำเดือนมาปกติ โดยควรรับประทานวันแรกที่ประจำเดือนมา อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยา
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจคัดกรองโรคที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะไทรอยด์ต่ำ โรคมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งมดลูก และเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย