backup og meta

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน มีสาเหตุมาจากอะไร

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน มีสาเหตุมาจากอะไร

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน หรือมากกว่านั้น อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การตั้งครรภ์  ความเครียดสะสม ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ โดยปกติแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก ๆ 28-30 วัน ตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ดังนั้น หากพบว่าประจำเดือนไม่มา 1 เดือนขึ้นไป ควรตรวจครรภ์และเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด

[embed-health-tool-ovulation]

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน เกิดจากอะไร

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือนขึ้นไป อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • การตั้งครรภ์ เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะหยุดกระบวนการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนไม่มา
  • วัยหมดประจำเดือน พบได้มากในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป เนื่องจากระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้การตกไข่น้อยลงจนทำให้ประจำเดือนไม่มาและหยุดลงโดยสมบูรณ์
  • ยาคุมกำเนิด อาจช่วยชะลอการตกไข่ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบาง เพื่อไม่ให้เกิดการปฏิสนธิและฝังตัวของไข่และอสุจิ ซึ่งส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาด้วยเช่นกัน
  • ความเครียด อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ที่อยู่บริเวณสมองส่วนหน้า ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนไม่มา
  • น้ำหนักตัว การมีน้ำหนักมากเกิน หรือน้ำหนักน้อยเกินไป อาจทำให้ร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จำเป็นต่อการตกไข่ หรือทำให้มีปริมาณมากเกินไปจนเสียความสมดุล และอาจทำให้ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน หรือนานกว่านั้น
  • การออกกำลังกายมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเกิดความเครียด และส่งผลกระทบต่อการตกไข่ ซึ่งอาจทำให้ประจำเดือนมาช้าหรือไม่มาได้
  • กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ ส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวนไม่อาจทำให้เกิดการตกไข่ได้ จึงส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา

ภาวะแทรกซ้อนเมื่อประจำเดือนไม่มา 1 เดือน

หากประจำเดือนไม่มา 1 เดือน หรือนานกว่านั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

  • มีบุตรยากและมีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ ปัญหาประจำเดือนไม่มาที่เกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุลจนไม่มีการตกไข่ อาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากด้วยเช่นกัน
  • ปวดกระดูกเชิงกราน เนื่องจากฮอร์โมนเพศมีหน้าที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก กล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยควบคุมการไหลของประจำเดือน ดังนั้น เมื่อฮอร์โมนเพศลดลง จึงอาจทำให้มีอาการปวดกระดูกเชิงกราน และเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้เมื่อประจำเดือนไม่มาเป็นเวลานานหรือเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน
  • เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาประจำเดือนไม่มาเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอาจส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด ที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  • ผลกระทบต่อจิตใจ ประจำเดือนไม่มาอาจส่งผลให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวล เช่น กังวลว่าจะตั้งครรภ์ กังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง

ประจําเดือนไม่มา 1 เดือน ควรทำอย่างไร

ผู้หญิงที่ประจําเดือนไม่มา 1 เดือน หรือนานกว่านั้น ควรปฏิบัติดังนี้

  • ตรวจครรภ์ ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีในรูปแบบหยดและแบบจุ่ม หรือเข้ารับการตรวจครรภ์โดยคุณหมอ
  • ผ่อนคลายความเครียด เนื่องจากการที่ประจำเดือนมาช้าอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด ดังนั้นจึงควรผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ นอนพักผ่อน นั่งสมาธิ
  • หยุดรับประทานยาคุมกำเนิด สำหรับผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด หากอยากให้ประจำเดือนมา ควรรับประทานยาคุมแผงเดิมให้หมดก่อน จากนั้นจึงหยุดรับประทานยาคุม อาจทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติในรอบถัดไป
  • ควบคุมน้ำหนัก ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ระวังไม่ให้น้ำหนักน้อยหรือมากจนเกินไป ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย
  • ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ควรออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที และไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้แรงหนักจนเกินไปหรือนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ร่างกายมีความเครียด เหนื่อยล้า นำไปสู่ประจำเดือนขาด
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพจากคุณหมอ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา และทำการรักษาให้เหมาะสม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Amenorrhea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/amenorrhea/symptoms-causes/syc-20369299. Accessed May 05, 2022

Amenorrhea. https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/guide/absence-periods. Accessed May 05, 2022

Stopped or missed periods. https://www.nhs.uk/conditions/stopped-or-missed-periods/. Accessed May 05, 2022

Amenorrhea. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/amenorrhea. Accessed May 05, 2022

Estrogen’s Effects on the Female Body. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/estrogens-effects-on-the-female-body. Accessed May 05, 2022

Progesterone. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=167&ContentID=progesterone. Accessed May 05, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/11/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

คันช่องคลอด ก่อนเป็นประจําเดือน เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไร

กิน ยาคุมฉุกเฉิน แล้ว ประจำเดือน ไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา