รังไข่ เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ลักษณะเป็นคู่ รูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์อยู่บริเวณปลายท่อนำไข่ทั้งสองข้างของมดลูก ทำหน้าผลิตไข่ให้ตกเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อรองรับการปฏิสนธิจนเกิดการตั้งครรภ์ และสร้างฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร · สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์
รังไข่ เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ลักษณะเป็นคู่ รูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์อยู่บริเวณปลายท่อนำไข่ทั้งสองข้างของมดลูก ทำหน้าผลิตไข่ให้ตกเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อรองรับการปฏิสนธิจนเกิดการตั้งครรภ์ และสร้างฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
รังไข่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง รูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ขนาดประมาณนิ้วโป้งมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร อยู่ข้างปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง
หน้าที่หลักของรังไข่ คือการผลิตไข่ และการผลิตฮอร์โมนเพศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รังไข่ มีหน้าที่ผลิตไข่ ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง ภายใต้การกระตุ้นของฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ (Follicle Stimulating Hormone) และฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone) ซึ่งหลั่งออกมาจากสมอง และถูกส่งมายังรังไข่ผ่านหลอดเลือด
โดยปกติ ในแต่ละเดือน รังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ขึ้นมาโดยรังไข่หนึ่งข้างจะผลิตไข่ขึ้นมาพร้อมกันจำนวนหลายฟอง เมื่อมีไข่ 1 ฟองที่เติบโตและแข็งแรงกว่าไข่ฟองอื่น ๆ ที่เหลือจะหยุดการเติบโตหรือฝ่อลง โดยปกติตลอดชีวิต ร่างกายผู้หญิงจะผลิตไข่ทั้งหมดประมาณ 400 ฟอง
เมื่อไข่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการสืบพันธุ์แล้ว จะเกิดการตกไข่ (ovulation) ไข่ดังกล่าวจะเคลื่อนตัวไปยังท่อนำไข่ ซึ่งเชื่อมต่อกับมดลูก เพื่อรอปฏิสนธิกับตัวอสุจิ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย
ทั้งนี้ หากได้ปฏิสนธิกับตัวอ่อน ไข่จะเคลื่อนไปฝังตัวที่ผนังมดลูก และเกิดการตั้งครรภ์ หากไม่ได้รับการปฏิสนธิ ไข่จะเคลื่อนไปที่มดลูกและฝ่อสลายไปในที่สุด และรังไข่จะเริ่มกระบวนการผลิตไข่อีกครั้ง
ฮอร์โมนซึ่งผลิตจากรังไข่ ประกอบด้วย
เอสโตรเจน (Estrogen)
เป็นฮอร์โมนซึ่งมีความสำคัญมากในเพศหญิง นอกจากผลิตจากรังไข่แล้ว ยังผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมันด้วย แต่ในปริมาณที่น้อยกว่า
หน้าที่ของเอสโตรเจนมีหลายประการ ประกอบด้วย
โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
โปรเจสเตอโรน ผลิตจากกลุ่มเนื้อเยื่อในรังไข่ เรียกว่า “คอร์ปัส ลูเทียม” (Corpus Luteum) เมื่อไข่ปฏิสนธิกับอสุจิสำเร็จ โปรเจสเตอโรน ซึ่งโดยปกติจะหลั่งออกมาก่อนมีรอบเดือน จะกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกให้คงความหนานุ่มเตรียมพร้อมสำหรับตัวอ่อนมาฝังตัว และยังกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลั่งสารอาหารออกมาเพื่อหล่อเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งพัฒนาจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว
นอกจากนั้น ระหว่างตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรนยังมีหน้าที่สำคัญ คือ
ทั้งนี้ ระดับโปรเจสเตอโรนจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ และจะลดลงหลังทารกคลอดออกมา
อย่างไรก็ตาม หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ระดับโปรเจสเตอโรนจะลดลง ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของผนังมดลูกซึ่งรอการฝังตัวของไข่จะหลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน
การรักษาสุขภาพรังไข่ ทำได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย