backup og meta

การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ออกกำลังกายแบบไหน ช่วยรับมือโรค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

    การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ออกกำลังกายแบบไหน ช่วยรับมือโรค

    การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังอาจสามารถช่วยในการรับมือกับโรคบางอย่างได้อย่างที่คาดไม่ถึง เช่น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ เทคนิค การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจช่วยให้ป้องกันและบรรเทาโรคได้

    ทำความรู้จักกับ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

    โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome : PCOS) หมายถึงอาการความผิดปกติของระบบฮอร์โมน ทำให้ภายในร่างกายของผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป จนส่งผลให้รังไข่ผลิตถุงน้ำรังไข่ขึ้นมาในปริมาณมาก และไม่สามารถตกไข่ได้ตามปกติ

    ปัญหา โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ นี้ พบได้มากถึง 12-21% ของผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ โรคนี้สามารถนำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ มากมาย เช่น

  • โรคหัวใจ
  • เบาหวาน
  • ปัญหาการมีบุตรยาก
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • ระบบเผาผลาญผิดปกติ
  • โรคซึมเศร้า
  • อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยการรับประทานยาบางชนิด การเลือกรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งการออกกำลังกาย

    การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

    การออกกำลังกาย ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยบรรเทาอาการของ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ที่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ เพื่อจากสามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนของร่างกาย รวมไปถึงยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพราะโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้อีกด้วย

    การออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ที่แพทย์แนะนำ มีดังนี้

    การออกกำลังกายแบบ HIIT

    การออกกำลังกายแบบ HIIT หรือ High Intensity Interval Training เป็นทางเลือกในการกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ป่วย โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ เนื่องจากปัญหาน้ำหนักเกินอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความผิดปกติ การออกกำลังกายที่ใช้พลังสูงมากในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ อย่าง HIIT จะทำให้สามารถดึงเอาพลังงานทดแทนจากไขมันที่สะสมในร่างกายออกมาใช้ได้ดี ช่วยลดน้ำหนักได้ และช่วยบรรเทาอาการของโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้

    การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic)

    การออกกำลังกายแอโรบิคในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่การเต้นแอโรบิคเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการออกกำลังกายทั่วไปอย่าง การว่ายน้ำ การขี่จักรยาน การเดิน หรือการวิ่งเหยาะ ๆ อีกด้วย การออกกำลังกายเหล่านี้สามารถช่วยทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจที่อาจเกิดขึ้นเพราะ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ นอกจากนี้ การกำลังกายแบบแอโรบิคยังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักและน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

    โยคะ

    การเล่นโยคะสามารถช่วยลดความเครียด อีกหนึ่งปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเกิดความผิดปกติของฮอร์โมน สาเหตุของ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ นอกจากนี้ โยคะยังสามารถช่วยในการเผาผลาญพลังงาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักอีกด้วย

    แม้ว่าโดยปกติแล้ว การออกกำลังกาย อาจจะเป็นทางเลือกในการรักษา โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาน้ำหนักเกินเท่านั้น แต่ก็มีบางงานวิจัยที่พบว่า ผู้หญิงที่ผอมหรือมีน้ำหนักตัวในเกณฑ์มาตรฐาน ก็ได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายสำหรับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยบรรเทาอาการของ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา