สุขภาพทางเพศ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ และมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรืออยู่ในสถานะของสังคมใด เพราะนี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ จนส่งผลต่อร่างกาย จิตใจและอาจส่งผลต่อสังคมในอนาคตได้
[embed-health-tool-bmi]
สุขภาพทางเพศ คืออะไร
สุขภาพทางเพศคือ สภาวะของร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ไม่ใช่เพียงแค่ไม่มีโรค ความผิดปกติ หรือทุพพลภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงสุขภาพทางเพศที่ต้องมีความเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งต่อเรื่องเพศและความสัมพันธ์ทางเพศด้วย ตลอดจนความสัมพันธ์ทางเพศที่น่าพึงพอใจ ปลอดภัย ปราศจากการบีบบังคับ การเลือกปฏิบัติ ความรุนแรง การรักษาสุขภาพทางเพศ สิทธิทางเพศของทุกคนจะต้องได้รับการเคารพ คุ้มครอง และการปฏิบัติที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับ
- การเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศ
- ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลร้ายที่อาจตามมาของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน
- ความสามารถที่จะเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศ
- มีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพทางเพศ
การให้ความสำคัญกับ สุขภาพทางเพศ
สุขภาพทางเพศ ที่ทุกคนควรให้ความสำคัญได้แก่เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่ส่งต่อจากอีกคนไปสู่อีกคนผ่านกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องคลอด ปาก และทวารหนัก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจแสดงไม่แสดงอาการ หรืออาจแสดงอาการน้อย ไปถึงมาก ดังนั้น ควรเข้ารับการตรวจคัดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี เพื่อเข้ารับการรักษาและเยียวยาได้อย่างทันท่วงที โรคบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้
เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรรู้จักวิธีป้องกันที่ถูกต้องเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสการติดโรค และผลเสียที่อาจเป็นปัญหาสุขภาพทางเพศในอนาคต
สุขภาพการตั้งครรภ์
การดูแลสุขภาพทั้งก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ควรมุ่งเน้นไปที่สุขภาพทางเพศในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อปกป้องสุขภาพของทารกในอนาคต เพราะโรคที่ติดมากับเพศสัมพันธ์อาจส่งผลต่อทารกโดยตรงได้ ดังนั้น จึงควรตรวจสุขภาพและวางแผนการตั้งครรภ์ให้รัดกุม
อนามัยการเจริญพันธ์
อนามัยการเจริญพันธ์ เป็นการสร้างสุขภาพดี ป้องกัน แก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นกับแม่และทารก เป้าหมายคือ
- ปรับปรุงสุขภาพการเจริญพันธ์ของสตรีตั้งแต่มีประจำเดือนจนถึงช่วงหมดประจำเดือน เพื่อ เพิ่มความเป็นไปได้ของการตั้งครรภ์ ทำให้สตรีวัยเจริญพันธ์รู้จักการดูแลสุขภาพ
- ดูแลสุขภาพครรภ์ เช่น การตรวจคัดกรอง ป้องกัน รักษาโรคติดเชื้อ โรคเรื้อรัง ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการตั้งครรภ์ เฝ้าระวังและลดอัตราการตายของมารดาระหว่างคลอด
- ดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด เช่น ลดการเจ็บป่วย การตาย และการคลอดก่อนกำหนด ลดการเกิดโรคไหลตายในทารก ดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์และแรกเกิดอย่างเหมาะสม
ความรุนแรงทางเพศ
ความรุนแรงทางเพศเกิดขึ้นเมื่อกิจกรรมทางเพศไม่ได้รับความยินยอม เป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในสังคม ทุกเพศทุกวัยสามารถประสบกับปัญหาความรุนแรงทางเพศนี้ได้ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเพศหญิงและถูกกระทำความรุนแรงโดยเพศชายที่รู้จักกับเหยื่อ
เพื่อไม่ให้ความรุนแรงทางเพศเกิดขึ้น การป้องกันจะช่วยลดโอกาสการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศได้ ดังนี้
- ครอบครัวร่วมสอดส่องดูแล และให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ
- สร้างสุขภาพทางอารมณ์ให้เหมาะสม
- เรียนรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ และการป้องกันตนเองจากความรุนแรงทางเพศ
- รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ตระหนักถึงการกระทำของตนเองที่อาจส่งผลต่อผู้อื่น
สุขภาพของกลุ่ม LGBTQ
กลุ่มเหล่านี้มีทั้งเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล หรือคนข้ามเพศ ซึ่งมีความหลากหลายและอยู่ในทุกชุมชน มีทุกเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ทุกวัย ทุกสถานะเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมุมมองและความต้องการของกลุ่ม LGBTQในด้านสาธารณสุขเพื่อสุขภาพและขจัดความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เพราะความไม่เท่าเทียมกันในสังคมมักเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพที่แย่ลง
รสนิยมทางเพศของกลุ่ม LGBTQ มักส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่างและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มชายหญิง ความแตกต่างในพฤติกรรมทางเพศนี้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ บางส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมกันทางสภาพสังคมและโครงสร้าง เช่น ถูกตีตราและการเลือกปฏิบัติ