backup og meta

วัยรุ่น LGBTQ เพศที่สาม ทำร้ายตัวเอง ความเสี่ยงที่ป้องกันได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/05/2022

    วัยรุ่น LGBTQ เพศที่สาม ทำร้ายตัวเอง ความเสี่ยงที่ป้องกันได้

    การ ทำร้ายตัวเอง หมายถึงการทำให้ตัวเองบาดเจ็บ หรือเป็นอันตรายด้วยความตั้งใจ ไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า วัยรุ่นมีปัญหาโรคซึมเศร้า และในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีเด็กคิดฆ่าตัวตาย  6% ซึ่งการทำร้ายตัวเองอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และมีงานวิจัยที่พบว่าวัยรุ่น LGBTQ หรือวัยรุ่นที่เป็น เพศที่สาม มีอัตราเสี่ยงต่อการ ทำร้ายตัวเอง การศึกษาวิธีป้องกัน ว่าจะรับมืออย่างไรเมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นการทำร้ายตัวเอง เช่น กรีดข้อมือ กินยาเกินขนาด ควรไปพบคุณหมอทันที

    งานวิจัยชี้ วัยรุ่น LGBTQ เสี่ยง ทำร้ายตัวเอง

    งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ JAMA Pediatrics ให้ข้อมูลว่า มีจำนวนที่น่าตกใจของวัยรุ่นที่ทำร้ายตัวเอง แต่วัยรุ่นที่เป็นไบเซ็กชวล (Bisexual) หรือวัยรุ่นเพศที่ 3 อาจมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายตัวเองมากกว่าถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสเตรท (Straight) หรือวัยรุ่นที่รักเพศตรงข้าม

    โดยงานวิจัยให้ข้อมูลว่า วัยรุ่นกลุ่มเฮเตอโรเซ็กชวล (Heterosexual) หรือกลุ่มที่รักเพศตรงข้ามระหว่าง 10%-20% มีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย แต่วัยรุ่นกลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มที่รักเพศเดียวกัน  38%-53% มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ผู้วิจัยกล่าวว่า อัตราการบาดเจ็บจากการพยายามฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่วัยรุ่นเพศที่สาม และในขณะที่อัตราการทำร้ายตัวเองในวัยรุ่นกลุ่มเฮเตอโรเซ็กชวลลดลง ในช่วงปี 2005-2007 แต่อัตราการทำร้ายตัวเองของกลุ่มวัยรุ่น LGBTQ ไม่ได้ลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว

    ตัวอย่างการทำร้ายตัวเองที่พบบ่อย ได้แก่ การกินยาเกินขนาด การต่อยตีหรือตบตีตัวเอง การกรีดแขน การดึงผมตัวเอง หรือหยิกตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด หากสังเกตเห็นการทำร้ายตัวเอง ควรพาบุคคลนั้นไปพบคุณหมอทันที

    จากสถิติพบว่าการฆ่าตัวตาย เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของวัยรุ่น และการพยายามทำร้ายตัวเองเพื่อฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นประมาณ 13%-45% โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่เป็น LGBTQ ดังนั้นจึงควรใส่ใจคนรอบข้าง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป นอกจากนี้คุณอาจปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้

    วัยรุ่น เพศที่สาม ทำร้ายตัวเอง ป้องกันได้อย่างไร

    • ใส่ใจและสังเกตสัญญาณบางอย่าง

    ควรใส่ใจเมื่อสังเกตเห็นว่า วัยรุ่นอารมณ์เสียตลอดเวลา เริ่มปลีกตัวออกจากสังคม หรือรู้สึกหงุดหงิด นอกจากนี้การทำร้ายตัวเองมักจะเกิดขึ้นโดยที่คนอื่นไม่รู้ แต่จะมีสัญญาณบางอย่าง เช่น ไม่สนใจความปลอดภัยของตัวเอง และทำกิจกรรมที่อันตรายต่อชีวิต เป็นต้น

    • รับฟังปัญหา

    หากพบว่าวัยรุ่นมีสัญญาณของการทำร้ายตัวเอง ควรพูดคุยอย่างเปิดใจ และรับฟังปัญหาของเขาด้วยความเข้าใจ รวมถึงควรพาวัยรุ่นไปปรึกษาแพทย์

  • ซื้ออุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • หากเกิดเหตุฉุกเฉินควรเรียนรู้วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาล

    • มองหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น

    หากมีปัญหาครอบครัว ควรมองหาความช่วยเหลือทางอื่นด้วย เช่น ญาติหรือเพื่อนสนิท

    • ในกรณีที่คุณทำร้ายตัวเอง

    ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา