อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นภายใน 1-3 สัปดาห์ของการรับเชื้อ หากมีข้อกังวลใด ๆ เกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอทันที
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากมีอาการต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นหนองในเทียม หรือคู่นอนมีสารคัดหลั่งผิดปกติจากอวัยวะเพศ ควรรีบปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาตามระดับความรุนแรงของโรค
สาเหตุ
สาเหตุของหนองในเทียม
หนองในเทียมเกิดจากแบคทีเรียที่เรียกว่า คลามายเดีย ทราโคเมทิส และอาจแพร่สู่กันได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก และทางทารหนัก หากหญิงตั้งครรภ์เป็นหนองในเทียมอาจแพร่เชื้อไปยังทารกได้ ซึ่งทำให้เกิด โรคปอดบวม (Pneumonia) หรือการติดเชื้อรุนแรงที่ดวงตา และอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease) โดยการอักเสบเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียได้แพร่กระจายไปยังเชิงคอมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย มีไข้ต่ำ ๆ บางรายอาจมีตกขาวผิดปกติ อุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ท้องนอกมดลูก หรือมีอาการปวดปวดท้องน้อยเรื้อรัง
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
- ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
- กลุ่มอาการไรเตอร์ (Reiter’s syndrome) ทำให้เกิดข้ออักเสบ ตาแดง และความผิดปกติเกี่ยวกับท่อปัสสาวะ
- การติดเชื้ออื่น ๆ การติดเชื้อเหล่านี้อาจส่งผลต่อพื้นผิวของท่อปัสสาวะในผู้ชาย พื้นผิวของไส้ตรง หรือดวงตา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นหนองในเทียม
หนองในเทียมอาจมีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้
- มีอายุน้อยกว่า 24 ปี
- มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด ควรมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคหนองในเทียม
หนองในเทียมอาจตรวจพบได้ระหว่างการตรวจร่างกาย มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำควรเข้ารับการตรวจร่างกายทุกปี โดยเฉพาะหากมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือเคยเป็นหนองในเทียมมาก่อน ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน เพราะผู้ที่เป็นหนองในเทียมมักตรวจพบการติดเชื้อร่วมกับหนองในแท้ด้วย
การรักษาโรคหนองในเทียม
หนองในเทียมสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ คุณหมอจะสั่งยาปฏิชีวนะให้กับทั้งผู้ป่วยและคู่นอน ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นเวลานานประมาณ 10 วัน หรือในบางกรณีอาจต้องใช้เวลานานกว่า 2 สัปดาห์ กว่าจะรักษาหนองในเทียมให้หายขาด
ในระหว่างที่รับการรักษาหนองในเทียม ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด และควรใช้ยาปฏิชีวนะให้ครบตามคุณหมอส่งเพื่อป้องกันการดื้อยาและการกลับมาติดเชื้อซ้ำ
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับหนองในเทียม
วิธีการดูแลตนเองหากป่วยเป็นโรคหนองในเทียมอาจปฏิบัติได้ดังนี้
- ถ้ามีการติดเชื้อหนองในเทียม ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
- มีคู่นอนเพียงคนเดียว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดหนองในเทียม
- มีเพศสัมพันธ์แบบป้องกัน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- ตรวจร่างกายเป็นประจำ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย