backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

อวัยวะเพศงอ ปัญหาสุขภาพที่ผู้ชายควรรู้

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 15/11/2023

อวัยวะเพศงอ ปัญหาสุขภาพที่ผู้ชายควรรู้

อวัยวะเพศงอ หรือ โรคพีโรนี (Peyronie’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในอวัยวะเพศชาย เนื่องจากมีคราบจุลินทรีย์ก่อตัวขึ้นใต้ผิวหนังของอวัยวะเพศชาย อาจทำให้อวัยวะเพศโค้งงอระหว่างแข็งตัว แม้อวัยวะเพศงอจะไม่สามารถหายได้เอง แต่ก็อาจรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ดังนั้น หากกำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคนี้ควรรีบไปพบคุณหมอ เนื่องจากการได้รับการรักษาเร็ว อาจทำให้ปลอดภัยจากอาการข้างเคียงต่าง ๆ ได้

อวัยวะเพศงอ คืออะไร

อวัยวะเพศงอ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในอวัยวะเพศชาย เนื่องจากมีคราบจุลินทรีย์ก่อตัวขึ้นใต้ผิวหนังของอวัยวะเพศชาย อาจทำให้อวัยวะเพศโค้งงอระหว่างแข็งตัว โดยอวัยวะเพศงออาจพบได้ในผู้ชายที่มีปัจจัย ดังนี้

  • มีพังพืดใต้อวัยวะเพศชายแต่กำเนิด
  • อายุ 40-70 ปี แต่ผู้ชายวัย 20 ก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
  • มีประวัติของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อาการของอวัยวะเพศงอ

สำหรับอาการที่เกิดขึ้นเมื่ออวัยวะเพศงอ อาจมีดังนี้

  • อวัยวะเพศมีลักษณะโค้งงอผิดปกติ โดยอวัยวะเพศชายอาจจะโค้งขึ้น หรืองอไปด้านใด ด้านหนึ่ง
  • รู้สึกเหมือนมีก้อนในอวัยวะเพศ
  • ปวดบริเวณอวัยวะเพศ
  • มีปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
  • อวัยวะเพศอาจสั้นลง
  • ขณะที่อวัยวะเพศอ่อนนุ่ม อาจจะไม่เห็นปัญหา แต่หากอาการรุนแรงขึ้น คราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัวจะขัดขวางความยืดหยุ่นทำให้อวัยวะเพศเกิดความเจ็บปวด

สาเหตุของอวัยวะเพศงอ

สาเหตุของอวัยวะเพศงอ ยังไม่มีการระบุแน่ชัดได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะเพศ เช่น อวัยวะเพศงอระหว่างมีเพศสัมพันธ์ มีคราบจุลินทรีย์ที่เป็นเส้น ๆ ซึ่งทำให้เลือดออกภายในอวัยวะเพศด้วย ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน รวมถึงสมาชิกในครอบครัวมีประวัติอวัยวะเพศงอ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอวัยวะเพศงอได้

วิธีรักษาอวัยวะเพศงอ

สำหรับวิธีรักษาอวัยวะเพศงอ อาจทำได้ดังนี้

  • การฉีดอวัยวะเพศชาย ปัจจุบันมีเพียงยาคลอสตริเดียม ฮีสโทไลติคัม (Clostridium Hystolyticum) ที่ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยา (FDA) ให้สามารถใช้รักษาโรคนี้ได้ และได้รับการอนุมัติให้ใช้ในผู้ชายที่อวัยวะเพศงอมากกว่า 30 องศา ในระหว่างการแข็งตัว เพื่อทำลายการสะสมของคอลลาเจน
  • การรับประทานยา เช่น โคลชิซิน (Colchicine) ทามอคซิเฟน (Tamoxifen)
  • การผ่าตัด อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของอวัยวะเพศที่รุนแรง และทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยาก โดยวิธีการผ่าตัดที่ใช้อาจมีดังนี้
  • การเย็บองคชาตด้านตรงข้ามที่มีการโค้งงอเพื่อให้องคชาตเหยียดตรง
  • การตัดพังผืดแข็งออกแล้วเย็บปิดด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ
  • การผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 15/11/2023

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา