เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ
หากอาการเจ็บเต้าสองข้างเกี่ยวเนื่องกับประจำเดือน มักหายไปเองหลังประจำเดือนรอบนั้นหมดลง แต่หากเจ็บเต้านมขณะตั้งครรภ์ อาจใช้วิธีประคบเย็นบริเวณเต้านมเป็นเวลา 15 นาที ทุก ๆ ชั่วโมง เพื่อช่วยให้หลอดเลือดบริเวณเต้าหดตัวลง และชะลอการไหลเวียนของเลือด อาการเจ็บเต้าสองข้างอาจจะค่อย ๆ ทุเลาลง
หากอาการเจ็บเต้านมเกิดจากสาเหตุอื่น และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอ
- มีอาการเจ็บเต้าสองข้างทุกวันต่อเนื่องกันนานเกินสองสัปดาห์
- มีอาการเจ็บหรือปวดเกิดขึ้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านมโดยเฉพาะ
- มีอาการแย่ลง หรือรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มีอาการไข้ ปวดหัว วิงเวียน หรือคลื่นไส้ ร่วมด้วย
- ทำให้เป็นกังวล นอนไม่หลับ
เจ็บเต้าสองข้างรักษาอย่างไร
คุณหมอจะตรวจเต้านมโดยดูจากภายนอกหรือคลำรอบ ๆ บริเวณหน้าอก เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการเจ็บเต้าสองข้างก่อนจะประเมินวิธีการรักษาตามอาการ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- จ่ายยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs) ให้ทาบริเวณหน้าอก เพื่อทุเลาความเจ็บปวดหรืออาการอักเสบ
- จ่ายยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) พาราเซตามอล สำหรับรับประทานเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดเบื้องต้น
- จ่ายยาต้านเชื้อ หากพบว่าอาการเจ็บเต้าสองข้างเกิดจากการติดเชื้อโรคและทำให้เกิดภาวะเต้านมอักเสบ คุณหมออาจให้รับประทานยาต้านเชื้อเป็นเวลา 10 วันติดต่อกัน
- ให้รับประทานฮอร์โมนทดแทน เพื่อปรับระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายให้สมดุล ไม่ต่ำลงมามากจนเกินไป
- ให้ลองปรับพฤติกรรม เช่น อาจแนะนำให้ใส่เสื้อชั้นในที่กระชับหรือพอดีกับขนาดหน้าอกของตัวเอง
เจ็บเต้าสองข้าง ป้องกันอย่างไร
เจ็บเต้าสองข้าง อาจป้องกันได้ หากปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- สวมใส่เสื้อชั้นในที่กระชับ เนื้อผ้านุ่ม ให้ความรู้สึกสบายตัว หรือสปอร์ตบราแบบไร้โครง ที่โอบอุ้มเต้านมได้พอดีไม่หลวมหรือคับจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดที่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เจ็บเต้านม เช่น คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) ซึ่งเป็นยาสำหรับรักษาความผิดปกติทางจิตวิทยา ดิจิทาลิส (Digitalis) ยาสำหรับรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เมธิลโดปา (Methyldopa) ยาสำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตสูง
- เลือกคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัยแทนการรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน หรือใช้การคุมกำเนิดแบบอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ฮอร์โมน เช่น การนับวันตกไข่ การทำหมัน
- หญิงให้นมบุตรควรปั๊มน้ำนมออกเมื่อมีน้ำนมเหลือในเต้านม เนื่องจากนมที่ค้างอยู่ในเต้าอาจทำให้เต้านมอุดตันและติดเชื้อ จนเต้านมมีภาวะอักเสบและเจ็บเต้าสองข้างได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย