backup og meta

วัยทอง วิตกกังวล ง่าย ควรรับมืออย่างไรดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

    วัยทอง วิตกกังวล ง่าย ควรรับมืออย่างไรดี

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียดในชีวิต ปัญหาการนอนหลับ ความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง ภาวะมีบุตรยาก อายุที่เพิ่มขึ้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับ วัยทอง ที่สามารถนำไปสู่การมีอารมณ์แปรปรวน ความเครียด หรือความวิตกกังวลได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วัยทอง ความวิตกกังวล ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรมาให้ได้อ่านกันค่ะ

    วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน คืออะไร

    วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) เป็นช่วงที่เข้าสู่วัยที่มักจะไม่มีประจำเดือนแล้ว ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงมักจะเริ่มมีอาการวัยทอง หลังจากที่ประจำเดือนหมดติดต่อกันนาน 12 เดือน โดยเฉลี่ยแล้ววัยทองมักจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 40-50 ปี วัยทองนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย ซึ่งสามารถส่งผลได้ทั้งทางกายภาพและทางอารมณ์ จิตใจ เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก นอนหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย น้ำหนักเพิ่ม

    วัยทอง วิตกกังวล ง่าย เกิดจากอะไร

    ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทองหลายๆ คนมักจะมีความรู้สึกเศร้าและมีปัญหารบกวนจิตใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น ภาวะตั้งครรภ์ยาก แต่ก็ยังมีผู้หญิงหลายๆ คนที่รู้สึกดีเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แล้ว

    นอกจากนี้ผู้หญิงในช่วงที่อยู่ในช่วงวัยทอง มักจะพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญมากมาย เช่น ลูกๆ โตกันหมดแล้ว ไม่มีเวลาสำหรับครอบครัว พ่อแม่ของผู้ที่อยู่ในวัยทองก็เริ่มแก่หรือเริ่มมีโรคต่างๆ รุมเร้า ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความวิตกกังวลให้ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง

    ฮอร์โมนที่มีความเปลี่ยนแปลงไปในช่วงวัยทอง ยังทำให้พวกเขาเกิดความวิตกกังวลอีกด้วย ซึ่งอาการเครียด ความวิตกกังวลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทองนั้นจะเริ่มหายไปเองเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายวัยทอง

    วัยทอง ความวิตกกังวลปัญหาที่สามารถแก้ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

    แพทย์มีความเชื่อว่า การมีสุขภาพชีวิตที่ดีนั้น ย่อมส่งผลต่ออารมณ์ ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทองได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดการเกิดความวิตกวังกลได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้วการออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอนั้นมีส่วนช่วยลดอาการวิตกกังวลได้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงวัยทองนั้นควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    โดยเลือกกิจกรรมที่ชอบเพื่อที่จะได้ทำได้อย่างมีความสุข และสามารถทำได้นาน ไม่ว่าจะเป็น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือโยคะ ก็มีส่วนช่วยขจัดความกังวลได้ทั้งสิ้น ที่สำคัญควรลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนนั้นนี้มีส่วนทำให้เกิดความวิตกกังวล ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หากดื่มมากไปอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

    การนอนหลับอย่างเพียงพอ ก็เป็นอีกเรื่องที่ช่วยลดความวิตกกังวลได้ เนื่องจากผู้หญิงที่อยู่ในวัยทองมักจะเกิดปัญหาในการนอนเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ดังนั้นการได้รับการนอนหลับที่เพียงพอก็จะช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียดต่างๆ ให้ดีขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา