- ปวดหัว เวียนศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องอืด
- คัดตึงหรือปวดเต้านม
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- ปริมาณประจำเดือนลดลง หรือประจำเดือนไม่มา
การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น โรคถุงน้ำดี ลิ่มเลือดอุดตัน ตับทำงานผิดปกติ และในผู้ที่สูบบุหรี่อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายได้ ดังนั้นก่อนการเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดจึงควรปรึกษาุณหมอก่อน
ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียว
เป็นยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงตัวเดียว มักใช้ในผู้ที่ให้นมบุตรหรือผู้ที่มีอาการผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียวอาจทำให้มีผลข้างเคียง ดังนี้
- ช่วงเริ่มใช้อาจทำให้มีอารมณ์แปรปรวนง่าย แต่อาการจะหายไปเองเมื่อกินยาคุมอย่างต่อเนื่อง
- ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน
- มีสิวขึ้น
- คัดตึงหรือปวดเต้านม
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มา
ควรรีบพบคุณหมอหากมีอาการรุนแรงขึ้น ดังนี้
ยาคุมฉุกเฉิน
เป็นยาคุมกำเนิดที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ภายใน 72 ชั่วโมง หหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน แต่ทั้งนี้หากกินยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรกภายใน 24 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากยาคึมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนที่สูงกว่ายาคุมโดยทั่วไปจึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนี้
ทั้งนี้การใช้ยาคุมฉุกเฉินอาจไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% และถ้ามีการตั้งครรภ์ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก การใช้บ่อย ๆ อาจส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนของร่างกายได้
ผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดบางประการอาจมีความคล้ายคลึงกับอาการแพ้ยาคุม เช่น อาการปวดหัว คลื่นไส้ อาการเหล่านี้อาจลดลงหรือหายไป เมื่อใช้ยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ยาควรกลับมาปรึกษาคุณหมอ
สาเหตุ
สาเหตุการแพ้ยาคุม
การแพ้ยาคุมอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อต้านฤทธิ์ของยาคุม ส่งผลทำให้เกิดอาการแพ้ยาคุม ในบางกรณีหากได้รับยาอย่าง ต่อเนื่องอาการแพ้ยาอาจลดลงหรือหายไป แต่บางกรณีก็อาจมีอาการรุนแรงขึ้น
ส่วนผลข้างเคียงของยาคุมอาจเกิดจากส่วนประกอบของฮอร์โมนในยาคุมกำเนิด และการตอบสนองของร่างกายจ่อฮอร์โมนจากภายนอก ซึ่งยาคุมแต่ละประเภทก็มีปริมาณของฮอร์โมนที่ไม่เท่ากัน ทำให้บางครั้งการเปลี่ยนชนิดของยาคุม อาจทำให้ลดอาการข้างเคียงลงได้ นอกจากนี้ ผลข้างเคียงอาจขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของผู้ใช้ยาด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย