โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Diseases หรือ STDs) คือ การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อที่ทำให้เกิดโรค โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีมากกว่า 20 ชนิด เช่น โรคหนองใน ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน ส่วนใหญ่อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางนามัย หรือการขาดการดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศที่ดี
คำจำกัดความ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Diseases หรือ STDs) คือ การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อที่ทำให้เกิดโรค โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีมากกว่า 20 ชนิด เช่น
- คลามัยเดีย (Chlamydia)
- โรคหนองใน
- เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์
- ไวรัสเอชพีวี (HPV)
- โรคซิฟิลิส
- ท่อปัสสาวะอักเสบ
- ก้านอัณฑะอักเสบ
- การติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด เช่น โรคเริมที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ การติดเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis)
- ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน
- แบคทีเรียกลุ่มอื่นๆเช่นยูเรียพลาสม่า (urea plasma urealyticum/parvum) ไมโครพลาสม่า (mycoplasma hominis/genitalium)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบบ่อยแค่ไหน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบได้ทั่วไป แต่บางสาเหตุอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หากผู้หญิงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงถ่ายทอดไปยังทารกขณะคลอดได้
อาการ
อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อาการทั่วไปของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจมีดังนี้
- แผลเปื่อยหรือตุ่มที่บริเวณอวัยวะเพศหรือปากหรือช่องทวารหนัก
- ความเจ็บปวด หรือ การถ่ายปัสสาวะมีอาการปวดแสบปวดร้อน
- สารหรือของเหลวที่ถูกปล่อยออกมาจากอวัยวะเพศชาย
- ตกขาวมีกลิ่นผิดปกติหรือกลิ่นแปลก ๆ
- เลือดออกช่องคลอดแบบผิดปกติ
- เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- แผลเปื่อย ขาหนีบบวมโดยเฉพาะที่ต่อมน้ำเหลือง แต่บางครั้งขยายออก
- ความเจ็บปวดท้องน้อย
- อาการทั่วไป เช่น เป็นไข้ อ่อนแอ
- ผื่นคันทั่วลำตัว มือ หรือเท้า
อย่างไรก็ตาม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดอาจไม่แสดงอาการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และบางครั้งก็อาจมีอาการไม่รุนแรง
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
สำหรับเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจไปพบคุณหมอหาก
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- มีคู่นอนมากกว่า 1 คน
- อาจสัมผัสกับเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- มีอาการของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกช่องคลอดแบบผิดปกติ
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราชนิดต่าง ๆ ดังนี้
- ไวรัส เช่น เอชไอวี โรคตับอักเสบบี เฮอร์ปีส์ คอมเพล็กซ์ (Herpes Complex) และไวรัส โรคติดเชื้อเอชพีวี (Human Papilloma Virus)
- เชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคหนองใน คลามัยเดียทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) มัยโคพลาสมา (Mycoplasmas)
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจมีดังนี้
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรค
- ผู้ค้าประเวณี
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด ใช้เข็มร่วมกัน หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ซึ่งอาจมีแนวโน้มในการมีทางเพศโดยไม่ได้ป้องกันและอาจมีความเสี่ยงสูงในการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
- ผู้ที่อยู่ในชุมชนที่มีความชุกของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์เสมอ
การวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ถ้ามีประวัติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ มีสัญญาณและอาการที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณหมออาจวินิจฉัยอาการด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้
- การตรวจร่างกาย โดยรวมถึงการตรวจร่างกายภายนอกและการตรวจภายในเพื่อดูอาการแสดงที่เกี่ยวข้อง เช่นตกขาวที่ผิดปกติ ปวดกดเจ็บบริเวณท้องน้อยหรือมีไข้
- การตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยโรคเอชไอวี หรือระยะของโรคซิฟิลิส
- การตรวจปัสสาวะ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างอาจวินิจฉัยได้จากตัวอย่างปัสสาวะ
- ตัวอย่างของเหลว หากมีแผลเปื่อยที่อวัยวะเพศ การทดสอบของเหลวและตัวอย่างจากแผลเปื่อยอาจช่วยวินิจฉัยชนิดของการติดเชื้อได้ สารหรือของเหลวที่ถูกปล่อยออกมาจากท่อปัสสาวะก็อาจใช้ในบางกรณี ห้องปฏิบัติการจะใช้แผลเปื่อยอวัยวะเพศ หรือตกขาวในช่องคลอด สารหรือของเหลวที่ถูกปล่อยออกมา เพื่อนำมาทดสอบการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด
การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ยาปฏิชีวนะ อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และปรสิต เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส คลามัยเดีย (Chlamydia) และ การติดเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis)
- ยาต้านไวรัส อาจลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการกลับมาเป็นซ้ำหากใช้ยาทุกวัน
อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้ต้องใช้ภายใต้การดูแลของคุณหมอ และหากตรวจพบโรคติดต่อทางสัมพันธ์ตั้งแต่เริ่มต้นก็อาจช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันและรักษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การปรับพฤติกรรมบางอย่างอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ไข่ ถั่ว นม
- งดสูบบุหรี่ และไม่ใช้ยาเสพติด หรือเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น วิ่ง โยคะ แอโรบิค
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง
- ตรวจร่างกายและตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งของตัวเองและคู่รักอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานยาตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
[embed-health-tool-ovulation]