การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาโรค BPH หรือต่อมลูกหมากโตในระดับรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การผ่าตัดที่นิยมใช้ อาจมีดังนี้
- การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้อง (Transurethral Resection of the Prostate หรือ TUR-P) เป็นการตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากบางส่วนหรือทั้งหมดออกเพื่อให้ปัสสาวะไหลผ่านท่อปัสสาวะออกมาได้สะดวกขึ้น
- การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขยายท่อปัสสาวะ (Transurethral Incision of the Prostate หรือ TUIP) เป็นการกรีดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากประมาณ 1-2 แผล เพื่อขยายท่อปัสสาวะและเปิดทางให้ปัสสาวะไหลได้ง่ายขึ้น
- การจี้ต่อมลูกหมากด้วยไฟฟ้า (Transurethral electrovaporization) เป็นการใช้ไฟฟ้าจี้ทำลายเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ขยายใหญ่ผิดปกติจนอุดกั้นและเบียดท่อปัสสาวะให้หายไป ทำให้ปัสสาวะไหลผ่านได้ดีขึ้น
- การจี้ต่อมลูกหมากด้วยเลเซอร์กรีนไลท์ (Photo-Selective Vaporization of Prostate หรือ Green Light PVP) เป็นนวัตกรรมการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยการยิงแสงเลเซอร์เพื่อตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากบางส่วนหรือทั้งหมดออก เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง
นอกจากนี้ยังมีวิธีรักษาที่เรียกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery หรือ MIS) เช่น การรักษาด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะเทียมเพื่อดันต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ (Prostatic urethral lift) และการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ (Water vapor therapy) ที่ใช้น้ำอุณหภูมิสูงเพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่โตผิดปกติ
การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กเป็นวิธีรักษาเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมาก เนื่องจากสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อโดยรอบน้อยกว่า มีผลข้างเคียงน้อย โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติ การระคายเคืองบริเวณต่อมลูกหมากขณะที่รอแผลหาย แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านภายในวันที่ผ่าตัดได้เลย อาจใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2-3 วันก็สามารถกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตได้ตามปกติ และอาการที่เกิดจากต่อมลูกหมากโตก่อนหน้านี้มักจะหายไปภายใน 3-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ วิธีนี้ยังเป็นเทคนิคใหม่ที่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพในระยะยาวหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย