backup og meta

เลือดออกใต้เล็บ สาเหตุ และการรักษา

เลือดออกใต้เล็บ สาเหตุ และการรักษา

เลือดออกใต้เล็บ หรือ เลือดคั่งใต้เล็บ ส่วนใหญ่อาจเกิดจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในส่วนของเล็บ ทำให้ความดันใต้เล็บเพิ่มมากขึ้น และเกิดเป็นอาการเลือดออกใต้เล็บได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด และมีเลือดออกเล็กน้อย แต่หากอาการเจ็บป่วยมีความรุนแรง รวมถึงเลือดไม่หยุดไหล ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อทำการรักษา

[embed-health-tool-heart-rate]

สาเหตุของเลือดออกใต้เล็บ 

เลือดออกใต้เล็บ หรือ เลือดคั่งใต้เล็บ (Subungual Hematoma) ส่วนใหญ่เกิดจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในส่วนของเล็บ ทำให้ความดันใต้เล็บเพิ่มมากขึ้น และเกิดเป็นอาการเลือดออกใต้เล็บได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกใต้เล็บ อาจมีดังต่อไปนี้

  • การโดนค้อนทุบบริเวณนิ้วมือ
  • โดนของหนักตกใส่นิ้วเท้า
  • ปิดประตูรถทับนิ้วมือหรือปิดประตูบ้านทับนิ้วเท้า
  • นิ้วเท้ากระทบกับพื้นผิวที่แข็ง เช่น พื้นบ้าน พื้นถนน
  • เป็นนักกีฬา เช่น นักวิ่ง
  • อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ
  • การใส่รองเท้าที่ไม่พอดีหรือคับเกินไป

ในบางกรณี เลือดออกใต้เล็บอาจมีสาเหตุมาจากสิ่งอื่น ๆ เช่น เนื้องอก ซึ่งเนื้องอกใต้เล็บเท้าอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้นได้เช่นกัน

เมื่อไหร่ที่คุณควรพบคุณหมอ

หากเลือดออกใต้เล็บทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและมีเพียงเลือดออกเล็กน้อย ก็อาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่หากมีอาการเจ็บปวดมาก เลือดไม่หยุดไหล หรือเลือดออกใต้เล็บเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างทั่วเล็บ ควรรีบติดต่อคุณหมอทันที

วิธีรักษาอาการเลือดออกใต้เล็บ

หากเลือดออกใต้เล็บทำให้มีอาการปวดมาก คุณหมออาจแนะนำให้ทำการระบายเลือดออก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด โดยใช้การผ่าตัดเพื่อลดแรงดัน (Decompression) ในบริเวณที่มีอาการ โดยอาจมีขั้นตอนดังนี้

  • คุณหมออาจจะทำให้บริเวณที่มีเลือดคั่งมีอาการชาด้วยการบล็อกเส้นประสาท (Digital Nerve Block) ทั้ง 2 ฝั่งของนิ้วเท้า หลังจากนั้นก็เริ่มระบายเลือด
  • คุณหมอจะใช้คาร์บอนเลเซอร์ ซึ่งเป็นตัวทำความร้อน จี้เจาะรูบนเล็บ หลังจากทำการเจาะเปิดแผลก็อาจใช้ความเย็นประคบที่ส่วนเล็บ โดยทั่วไป การจี้ด้วยความร้อนจะทำด้วยความรวดเร็วโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บใด ๆ
  • คุณหมออาจใช้เข็มเจาะรูที่เล็บ หลังจากนั้น ค่อยระบายเลือดผ่านทางออกมาทางรูที่ทำการเจาะ

หลังจากทำการรักษาอาการเลือดคั่งใต้เล็บ คุณหมอจะพันผ้าพันแผลรอบบริเวณที่ทำการรักษา ปิดแผลไว้ 12 ชั่วโมงเพื่อรอดูอาการ หากเกิดอาการบวมอาจใช้น้ำแข็งประคบ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้น้ำแข็งสัมผัสกับเล็บที่เป็นแผลโดยตรง เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

ในบางกรณี คุณหมออาจต้องทำการถอดเล็บ (Nail Extraction) ซึ่งหลังจากที่ทำการถอดเล็บที่ได้รับผลกระทบออกไปแล้ว เล็บใหม่ก็จะงอกขึ้นมาทดแทน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 6-9 เดือน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Subungual Hematoma. http://www.aocd.org/?page=SubungualHematoma. Accessed March 11, 2017.

Subungual Hematoma (Bleeding Under the Nail). http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/bleeding-under-nail#1. Accessed March 11, 2017.

Subungual haemorrhage. https://dermnetnz.org/topics/subungual-haemorrhage. Accessed March 21, 2022

Subungual Hematoma Drainage. https://emedicine.medscape.com/article/82926-overview. Accessed March 21, 2022

Subungual Hematoma. https://www.fairview.org/Patient-Education/Articles/English/s/u/b/u/n/Subungual_Hematoma_116569en. Accessed March 21, 2022

A to Z: Subungual Hematoma. https://kidshealth.org/PrimaryChildrens/en/parents/az-subungual-hematoma.html. Accessed March 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย แพทย์หญิงเบ็ญจาพร นิมิตรวานิช

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัดเล็บลูกน้อย เคล็ดลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

ลักษณะของเล็บ บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพ


เขียนโดย

แพทย์หญิงเบ็ญจาพร นิมิตรวานิช

สุขภาพ · โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา


แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา