
คุณอาจสังเกตเห็นเลือดสีแดงหรือน้ำตาลใต้บริเวณเล็บมือหรือเล็บเท้า คุณอาจจะคิดว่า นี่ต้องเป็นเรื่องร้ายแรงแน่ หรือ ทำไมฉันเลือดออก หรือ นี่มันเลือด ฉันต้องป่วยเป็นโรคร้ายแรงแน่ๆ อย่างไรก็ตาม อย่าได้กังวลไป เลือดออกใต้เล็บ (Subungual hematoma) ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกกังวลนัก หากไม่เป็นอันตรายถึงกระดูก เล็บ หรือเนื้อเยื่อส่วนอื่น
สาเหตุของอาการ เลือดออกใต้เล็บ
อาการเลือดออกใต้เล็บ หรือ เลือดคั่งใต้เล็บ (Subungual hematoma) ส่วนใหญ่เกิดจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในส่วนของเล็บ ทำให้ความดันใต้เล็บเพิ่มมากขึ้น และเกิดเป็นอาการเลือดออกใต้เล็บได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกใต้เล็บ อาจมีดังต่อไปนี้
- การโดนค้อนทุบบริเวณนิ้วมือ
- โดนของหนักตกใส่นิ้วเท้า
- ปิดประตูรถทับนิ้วมือหรือปิดประตูบ้านทับนิ้วเท้า
- นิ้วเท้ากระทบกับพื้นผิวที่แข็งอาทิพื้นบ้านหรือพื้นถนน
- เป็นนักกีฬา เช่น นักวิ่ง
- อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ซํ้าแล้วซํ้าเล่า
- การใส่รองเท้าที่ไม่พอดี คับเกินไป
ในบางกรณี เลือดคั่งใต้เล็บ ก็อาจมาจากสาเหตุอื่น อาทิ เนื้องอก เนื้องอกใต้เล็บเท้านั้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้นได้เช่นกัน
เมื่อใดที่คุณควรพบคุณหมอ
หากอาการ เลือดคั่งใต้เล็บ ที่คุณเป็นนั้น อาการเจ็บปวดใด ๆ และมีเพียงเลือดอกเล็กน้อยเท่านั้น ก็อาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่หากมีคุณอาการเจ็บมาก เลือดไม่หยุดไหล หรือเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างทั่วเล็บ ควรรีบติดต่อแพทย์ในทันที
การรักษาอาการ เลือดคั่งใต้เล็บ
หากอาการ เลือดคั่งใต้เล็บ ของคุณมีอาการปวดมาก แพทย์อาจแนะนำให้ทำการระบายเลือดออก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด โดยใช้ การผ่าตัดเพื่อลดแรงดัน (decompression) ในบริเวณที่มีอาการ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ขั้นแรก แพทย์จะทำให้บริเวณที่มีเลือดคั่ง มีอาการชาด้วยการบล็อกเส้นประสาท (digital nerve block) ทั้งสองฝั่งของนิ้วเท้า หลังจากนั้น ก็จะเริ่มดำเนินการระบายเลือด
- แพทย์จะใช้คาร์บอนเลเซอร์ หรือตัวทำความร้อน จี้เจาะรูบนเล็บ หลังจากทำการเจาะเปิดแผลได้สำเร็จ ก็จะใช้ความเย็นประคบที่ส่วนเล็บ โดยทั่วไปนั้น การจี้ด้วยความร้อนจะทำด้วยความรวดเร็วโดยที่คุณไม่รู้สึกเจ็บใด ๆ
- แพทย์อาจใช้เข็มเจาะรูที่เล็บ หลังจากนั้นก็ค่อยระบายเลือดผ่านทางออกมาทางรูที่ทำการเจาะ
หลังจากทำการรักษาอาการ เลือดคั่งใต้เล็บ แพทย์จะพันผ้าพันแผลรอบบริเวณที่ทำการรักษา ปิดแผลไว้ 12 ชั่วโมงแรกเพื่อรอดูอาการ คุณอาจใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการปวดบวม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้น้ำแข็งสัมผัสกับเล็บที่เป็นแผลโดยตรง เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้
ในบางกรณี คุณอาจต้องทำการถอดเล็บ (nail extraction) ซึ่งหลังจากที่ทำการถอดเล็บที่ได้รับผลกระทบออกไปแล้ว เล็บใหม่ก็จะงอกขึ้นมาทดแทน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 6-9 เดือน
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
อ่านเพิ่มเติม: