การดูแลเล็บ

เล็บ เป็นหนึ่งในอวัยวะชั้นนอกที่ปกคลุมร่างกาย เกิดขึ้นจากชั้นหนังกำพร้าที่ตายแล้ว อัดแน่นเป็นแผ่นที่บริเวณปลายนิ้ว และช่วยปกป้องนิ้วมือจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลเล็บ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ควรใส่ใจและไม่มองข้าม เรียนรู้เคล็ดลับใน การดูแลเล็บ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลเล็บ

วิธี ตัดเล็บขบ เองอย่างปลอดภัย และวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีเล็บขบ

เล็บขบ เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่เท้า เกิดขึ้นเมื่อปลายเล็บยาวจนจิกเข้าไปในผิวหนังจนทำให้รู้สึกเจ็บ มักมีอาการบวมแดง หรือปวดบริเวณผิวหนังที่เล็บขบแทงเข้าไปร่วมด้วย หากอาการเล็บขบไม่รุนแรงมาก การ ตัดเล็บขบ ด้วยตัวเองร่วมกับการดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการแช่น้ำอุ่น ตัดเล็บอย่างถูกวิธี สวมรองเท้าที่พอดี กินยาแก้อักเสบตามคำแนะนำของเภสัชกร เป็นต้น ก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ทั้งนี้ หากตัดเล็บขบและดูแลด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น กลับมาเป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือมีอาการอักเสบ บวมแดง เล็บส่งกลิ่นเหม็น หรือเป็นหนอง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เล็บขบเกิดจากอะไร อาการเล็บขบมักเกิดจากการตัดเล็บผิดวิธี เช่น ตัดเล็บเท้าสั้นจนเกินไป ตัดเล็บเท้าเป็นแนวโค้งจนเล็บที่งอกขึ้นมาใหม่งอกเข้าไปในผิวหนังข้างเล็บ และอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น สวมรองเท้าที่ไม่พอดีกับขนาดเท้า ขอบเล็บฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บที่นิ้วเท้า เช่น เท้าไปชนกับขอบเฟอร์นิเจอร์ โดนเหยียบเท้า เหงื่อออกเยอะ ทำให้ผิวหนังรอบเล็บอ่อนนุ่มและทำให้เล็บจิกลึกเข้าไปในผิวหนังข้าง ๆ เล็บได้ง่าย เป็นโรคเกี่ยวกับเท้า เช่น โรคเท้าปุก (Congenital clubfoot) ซึ่งเป็นโรคที่พบแต่กำเนิด เท้าจะบิดผิดรูป อาจทำให้เล็บมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับเท้า หรืออาจทำให้เนื้อเยื่อก่อตัวโดยรอบเล็บตามธรรมชาติ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเล็บขบ เช่น โรคเบาหวาน ความเสียหายของเส้นประสาทที่ขาหรือเท้าอย่างรุนแรง การไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี การติดเชื้อที่บริเวณรอบเล็บ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด อาการของเล็บขบ ในระยะแรก นิ้วเท้าที่เป็นเล็บขบจะแข็งและบวม […]

สำรวจ การดูแลเล็บ

การดูแลเล็บ

เคล็ดลับการ ป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้า อย่างง่ายๆ และได้ผล

เชื้อราที่เล็บเท้า (Toenail fungus) เป็นการติดเชื้อราบริเวณเล็บเท้า ซึ่งไม่สามารถหายไปเองได้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาซึ่งมักใช้เวลานาน และหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา วิธีที่ดีที่สุดคือการดูแลตนเองเพื่อ ป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้า วิธี ป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้า ทำได้อย่างไรบ้าง การดูแลตนเองเพื่อป้องกันเชื้อราที่เล็บเท้า สามารถทำได้ด้วยการปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังนี้ ล้างเท้าและเช็ดให้แห้ง หมั่นดูแลให้เท้าแห้งและสะอาด ควรล้างเท้าทุกวันด้วยสบู่และน้ำอุ่นขณะอาบน้ำ หรือเมื่อถึงบ้านหลังจากไปข้างนอกมา แล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด อย่าลืมเช็ดบริเวณซอกนิ้วเท้าด้วย หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ การติดเชื้อราที่เล็บเท้านั้นสามารถติดต่อกันได้ การเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะอาจทำให้ติดเชื้อราได้ ดังนั้น ควรสวมรองเท้าทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน สวมถุงเท้าเพื่อช่วยซึมซับเหงื่อ เลือกถุงเท้าที่ทำจากผ้าไนลอน โพลิโพรพิลีน หรือ ผ้าขนสัตว์ ซึ่งจะช่วยซึมซับความชื้นขณะใส่รองเท้าได้อย่างดี และควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวันเพื่อให้เท้าแห้งและสะอาดอยู่เสมอ หากเป็นคนเหงื่อออกมากควรเปลี่ยนถุงเท้าบ่อย ๆ อาจใช้ถุงเท้ามากกว่าหนึ่งคู่ต่อวันหากมีเหงื่อออกที่เท้า เลือกรองเท้าที่เหมาะสม เชื้อราชอบอยู่ในที่อากาศร้อนชื้น ซึ่งในรองเท้าถือเป็นที่ชื่นชอบของเชื้อรา ดังนั้น ควรเลือกรองเท้าที่ใส่พอดีและมีที่เหลือพอสำหรับนิ้วเท้า ใส่ใจเลือกวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้า รองเท้าหนังนั้นก็เป็นตัวเลือกที่ดี หรืออาจเลือกรองเท้าที่เปิดนิ้วเท้าอย่างรองเท้าแตะมาสวมใส่ก็ได้ ใช้แป้งต้านเชื้อรา เมื่อล้างทำความสะอาดเท้าแล้วควรเช็ดเท้าให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา อาจเลือกโรยแป้งต้านเชื้อราบริเวณเท้า โดยสามารถหาซื้อแป้งชนิดนี้ได้ที่แผนกอุปกรณ์กีฬา หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวและถุงเท้าร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากเชื้อราที่เล็บนั้นสามารถแพร่จากคนสู่คน การใช้ผ้าเช็ดตัวและถุงเท้าร่วมกันนั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ หากเป็นไปได้ ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ตัดเล็บเท้าให้ถูกวิธี หมั่นดูและเล็บเท้าให้แห้งและตัดให้สั้นอยู่เสมอ การตัดเล็บเท้าให้ตรงสามารถป้องกันการเกิดเล็บขบที่เท้าได้ (คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อเล็บด้านข้างงอกเข้าไปที่บริเวณขอบของผิวหนัง เป็นสาเหตุให้เจ็บและปวดบวมได้) อย่าตัดเล็บสั้นจนเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการตัดขอบเล็บและผิวหนังบริเวณใกล้เคียง รักษาความสะอาดของอุปกรณ์ตัดเล็บ ทำความสะอาดกรรไกรตัดเล็บหลังจากใช้ทุกครั้ง โดยแนะนำให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น เลิกทาเล็บ การทาเล็บอาจทำให้เล็บสวยงาม แต่ในขณะเดียวกันอาจทำให้เล็บเท้าดูดซับความเปียกชื้นและกลายเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีของเชื้อรา เลือกร้านทำเล็บที่สะอาด หากต้องการไปทำเล็บที่ร้าน ควรเลือกร้านที่มีใบรับรอง หรืออาจเตรียมอุปกรณ์ตัดเล็บส่วนตัวไปเอง แต่หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ของทางร้าน ต้องมั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้นั้นสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว หมั่นตรวจดูเท้าอย่างสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตเท้าอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณนิ้วเท้า […]


การดูแลเล็บ

เชื้อราที่เล็บ วิธีรักษา และวิธีดูแลตนเอง

เชื้อราที่เล็บ คือ อาการที่เล็บเกิดการติดเชื้อรา ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า โดยเล็บจะเริ่มมีจุดสีขาวหรือเหลืองใต้ปลายเล็บมือหรือเล็บเท้า หากการติดเชื้อราลึกลงไปใต้เล็บจะทำให้เล็บเปลี่ยนสี หนาขึ้น และอาจทำให้ขอบเล็บแตกได้ด้วย หากอาการที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงและไม่รบกวนชีวิตประจำวันอาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่หากเชื้อราที่เล็บทำให้เกิดอการเจ็บปวดและทำให้เล็บหนาขึ้น ขั้นตอนการดูแลตนเองและการใช้ยาอาจช่วยได้ [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักเชื้อราที่เล็บ เชื้อราที่เล็บ คือ อาการที่เล็บเกิดการติดเชื้อรา ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า โดยเล็บจะเริ่มมีจุดสีขาวหรือเหลืองใต้ปลายเล็บมือหรือเล็บเท้า หากการติดเชื้อราลึกลงไปใต้เล็บจะทำให้เล็บเปลี่ยนสี หนาขึ้น และอาจทำให้ขอบเล็บแตกได้ด้วย หากอาการที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงและไม่รบกวนชีวิตประจำวันอาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่หากเชื้อราที่เล็บทำให้เกิดอการเจ็บปวดและทำให้เล็บหนาขึ้น ควรเข้ารักษาเพื่อป้องกันก่อนที่จะมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา การรักษาอาการเชื้อราที่เล็บเบื้องต้น สำหรับการรักษาอาการเชื้อราที่เล็บเบื้องต้น อาจทำได้ด้วยการซื้อครีม โลชั่น หรือแม้แต่ยาทาเล็บจากร้านขายยามาทาเอง ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจช่วยบรรเทาอาการเชื้อราที่เล็บ หรืออาจเลือกใช้น้ำมันชาสกัด ยาหม่อง หรือน้ำยาบ้วนปากด้วยก็ได้ หากมีข้อสงสัย ลองใช้หนึ่งในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นดูก่อน ยาทา เชื้อราที่เล็บ คุณหมออาจจ่ายยาทาเชื้อราที่เล็บ ที่เรียกว่า เพนเลค (Penlac) โดยใช้ทาบริเวณรอบนิ้วเท้าและรอบบริเวณที่ติดเชื้อ 1 ครั้ง/วัน หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดยาทาเชื้อราที่เล็บออก การรักษาอาการเชื้อราที่เล็บด้วยวิธีนี้อาจใช้เวลาถึง 1 ปี ครีมทาเล็บ ยาต้านเชื้อราชนิดครีมใช้ทาหลังล้างเท้าให้เปียก แล้วทาลงบนเล็บ ควรขูดเล็บให้บางลงก่อนเพื่อให้เนื้อครีมซึมลงไปได้ดีขึ้น ควรเลือกครีมทาเล็บที่มีส่วนผสมของยูเรีย (Urea) ซึ่งทำให้เนื้อเล็บบางลง […]


การดูแลเล็บ

ปัญหาสุขภาพจากการทำเล็บเจล และวิธีการดูแลเล็บ

เล็บเจล เป็นวิธีการตกแต่งเล็บรูปแบบหนึ่ง โดยใช้สีเจลที่ทำขึ้นจากสีทาเล็บผสมเจลเนื้ออ่อนสำหรับต่อเล็บมาทาลงบนเล็บ ก่อนจะอบด้วยแสงยูวี เพื่อทำให้เนื้อเจลแข็งและติดทน การทำเล็บเจลอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเล็บบาง เล็บฉีก เกิดแผลจนอาจนำไปสู่การติดเชื้อ หรือหากทำเล็บเจลบ่อย ๆ ก็อาจได้รับอันตรายจากรังสียูวี จนเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการดูแลเล็บให้ดี เพื่อช่วยให้เล็บมีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ทำไมบางคนถึงเล็บเจล จุดประสงค์ของการทำเล็บเจล อาจมีดังนี้ หากทาสีเล็บเจลถูกวิธี เล็บเจลจะติดแน่นทนทาน อยู่ได้นานโดยไม่ลอกร่อน ต่างจากยาทาเล็บธรรมดา นอกจากจะติดทนแล้ว สีเล็บเจลยังดูมันวาว สวยงามกว่ายาทาเล็บแบบอื่น ๆ การทาเล็บเจล อาจช่วยให้นิ้วน่ามองขึ้นได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเล็บ เช่น เล็บสีผิดปกติจากโรคบางชนิด เนื่องจากยาทาเล็บทั่วไปอาจกลบสีเล็บที่ผิดปกติไม่มิด แต่ การทาเล็บเจล สามารถทำได้ คนที่ไม่เหมาะกับการทาเล็บเจล คนที่ไม่เหมาะกับการทาเล็บเจล อาจมีดังนี้ ผู้ที่มีเล็บอ่อนแอหรือเปราะบาง การทาเล็บเจล ต้องมีการตะไบตกแต่งทรงเล็บ รวมถึงตะไบหน้าเล็บทั้งในขั้นตอนก่อนทาและล้างเล็บ ซึ่งอาจทำให้เล็บบางกว่าเดิมและฉีกขาดได้ ผู้ที่ผิวบอบบาง หรือแพ้ง่าย การทาเล็บเจลต้องใช้น้ำยาล้างเล็บเช็ดทำความสะอาดเล็บ และผิวหนังโดยรอบ รวมถึงใช้ล้างเล็บด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองได้ ผู้ที่ไวต่อรังสียูวี การทาเล็บเจลต้องมีการอบเล็บด้วยรังสียูวีเอ (UVA) เพื่อทำให้ยาทาเล็บเจลแข็งขึ้น และติดแน่นไปกับเล็บ ผู้ที่ไวต่อรังสียูวี ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม อาการป่วย หรือการใช้ยาหรืออาหารเสริม […]


การดูแลเล็บ

กัดเล็บ ส่งผลเสียไหม ทำอย่างไรให้เลิกนิสัยชอบกัดเล็บ

กัดเล็บ คือพฤติกรรมที่อาจเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยเด็กและอาจสร้างความเคยชินจนติดการกัดเล็บมาจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการกัดเล็บนี้อาจสาเหตุมาจากความเครียด กังวลใจ เบื่อ หรือเศร้า อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการกัดเก็บเพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อรอบเล็บเสียหาย เสี่ยงติดเชื้อ ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคนำไปสู่ความเจ็บป่วย และทำให้เสียบุคลิก [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม กัดเล็บ สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการกัดเล็บ อาจเกิดจากความเครียด รู้สึกวิตกกังวล ประหม่า เบื่อ เศร้า เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้กัดเล็บเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรืออาจคุ้นชินกับการกัดเล็บตั้งแต่วัยเด็กจนทำให้มีพฤติกรรมการกัดเล็บอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถสังเกตได้จากการกัดเล็บเมื่อตกอยู่ในสภาวะเครียด กัดเล็บบ่อยครั้งและกัดเป็นเวลานาน จากการศึกษาในวารสาร School Psychology International ปี พ.ศ. 2560 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพจิตใจต่อการกัดเล็บในช่วงเด็กวัยรุ่น โดยให้นักเรียนในโรงเรียนทั้ง 7 แห่งในเมืองอิสตัลบลู ประเทศตุรกี ทำแบบฟอร์ม จากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด พบว่า วัยรุ่นอายุ 11-17 ปี มีนิสัยชอบกัดเล็บ 48.2% ซึ่งเกิดจากความตกกังวล ซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจ กัดเก็บ ส่งผลเสียอย่างไร การกัดเล็บอาจส่งผลเสียที่กระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อรอบเล็บและตัวเล็บ ติดเชื้อจากแผลบนผิวหนังรอบ ๆ เล็บ ทำให้เล็บยาวแบบผิดปกติและผิดรูปร่าง เป็นไข้หวัดและเสี่ยงลำไส้อักเสบเนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อโรค สิ่งสกปรก ปรสิตที่อยู่ใต้เล็บ ปวดกราม ทำให้ฟันสึกกร่อน […]


การดูแลเล็บ

ลักษณะของเล็บ บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพ

ลักษณะของเล็บ ทั้งเล็บเปลี่ยนเป็นสีขาว สีซีด สีเหลือง ผิวเล็บขรุขระ เล็บแตกร่อน ล้วนแล้วแต่อาจสามารถบ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลได้ ดังนั้น การคอยสังเกตลักษณะของเล็บรูปแบบต่าง ๆ อาจช่วยให้สามารถสังเกตพบความผิดปกติของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และทำการรักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] ลักษณะของเล็บ บอกอะไรเกี่ยวกับ สุขภาพ เล็บขาว ถ้าเล็บเป็นสีขาวเกือบทั้งหมด หรือประมาณสองในสามส่วนของเล็บ อาจหมายถึงปัญหาโรคตับ เช่น โรคตับอักเสบ และโรคตับแข็ง นอกจากนี้ยังหมายถึงโรคเบาหวานและหัวใจวายด้วย  แต่หากเล็บสีขาวแต่นิ้วมือเป็นสีเหลืองอาจหมายถึงโรคดีซ่าน ซึ่งเกิดจากการที่ตับมีปัญหา  ผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มักมีเล็บเป็นสีขาวครึ่งเล็บ ส่วนถ้ามีสีขาวเป็นแถบขวางบนเล็บ และเมื่อใช้มือกดที่เล็บ สีขาวจะจางลง อาจหมายถึงภาวะขาดโปรตีนในร่างกาย เล็บสีซีด เล็บสีซีดอาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตับ หรืออาจจะแค่ขาดสารอาหารบางอย่างก็ได้ เล็บเหลือง หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการเล็บสีเหลือง คือการติดเชื้อรา ถ้าการติดเชื้อรุนแรงขึ้น เนื้อเยื่อใต้แผ่นเล็บอาจหดตัว และเล็บอาจหนาและงอ ในกรณีที่หาได้ยาก เล็บเหลืองอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคเบาหวาน หรือโรคสะเก็ดเงิน เล็บเหลืองยังอาจเป็นสัญญาณของ Yellow Nail Syndrome ซึ่งอาการของโรคนี้อาจทำให้เล็บหนาขึ้น แต่ไม่ยาวขึ้นเหมือนอย่างปกติ หนังรอบเล็บอาจหายไป หรือโคนเล็บร่อนขึ้นมา ซึ่งอาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคภายในหลายอย่าง เช่น การมีเนื้อร้ายในร่างกาย โรคของระบบทางเดินหายใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน