การดูแลเล็บ

เล็บ เป็นหนึ่งในอวัยวะชั้นนอกที่ปกคลุมร่างกาย เกิดขึ้นจากชั้นหนังกำพร้าที่ตายแล้ว อัดแน่นเป็นแผ่นที่บริเวณปลายนิ้ว และช่วยปกป้องนิ้วมือจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลเล็บ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ควรใส่ใจและไม่มองข้าม เรียนรู้เคล็ดลับใน การดูแลเล็บ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลเล็บ

วิธี ตัดเล็บขบ เองอย่างปลอดภัย และวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีเล็บขบ

เล็บขบ เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่เท้า เกิดขึ้นเมื่อปลายเล็บยาวจนจิกเข้าไปในผิวหนังจนทำให้รู้สึกเจ็บ มักมีอาการบวมแดง หรือปวดบริเวณผิวหนังที่เล็บขบแทงเข้าไปร่วมด้วย หากอาการเล็บขบไม่รุนแรงมาก การ ตัดเล็บขบ ด้วยตัวเองร่วมกับการดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการแช่น้ำอุ่น ตัดเล็บอย่างถูกวิธี สวมรองเท้าที่พอดี กินยาแก้อักเสบตามคำแนะนำของเภสัชกร เป็นต้น ก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ทั้งนี้ หากตัดเล็บขบและดูแลด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น กลับมาเป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือมีอาการอักเสบ บวมแดง เล็บส่งกลิ่นเหม็น หรือเป็นหนอง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เล็บขบเกิดจากอะไร อาการเล็บขบมักเกิดจากการตัดเล็บผิดวิธี เช่น ตัดเล็บเท้าสั้นจนเกินไป ตัดเล็บเท้าเป็นแนวโค้งจนเล็บที่งอกขึ้นมาใหม่งอกเข้าไปในผิวหนังข้างเล็บ และอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น สวมรองเท้าที่ไม่พอดีกับขนาดเท้า ขอบเล็บฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บที่นิ้วเท้า เช่น เท้าไปชนกับขอบเฟอร์นิเจอร์ โดนเหยียบเท้า เหงื่อออกเยอะ ทำให้ผิวหนังรอบเล็บอ่อนนุ่มและทำให้เล็บจิกลึกเข้าไปในผิวหนังข้าง ๆ เล็บได้ง่าย เป็นโรคเกี่ยวกับเท้า เช่น โรคเท้าปุก (Congenital clubfoot) ซึ่งเป็นโรคที่พบแต่กำเนิด เท้าจะบิดผิดรูป อาจทำให้เล็บมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับเท้า หรืออาจทำให้เนื้อเยื่อก่อตัวโดยรอบเล็บตามธรรมชาติ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเล็บขบ เช่น โรคเบาหวาน ความเสียหายของเส้นประสาทที่ขาหรือเท้าอย่างรุนแรง การไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี การติดเชื้อที่บริเวณรอบเล็บ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด อาการของเล็บขบ ในระยะแรก นิ้วเท้าที่เป็นเล็บขบจะแข็งและบวม […]

สำรวจ การดูแลเล็บ

การดูแลเล็บ

ถอดเล็บ ขั้นตอนการรักษาและการดูแล

ถอดเล็บ เป็นวิธีรักษาทางการแพทย์โดยการตัดเล็บบางส่วนหรือถอดเล็บ ที่มีการติดเชื้อ หรือได้รับบาดเจ็บบริเวณเล็บอย่างรุนแรงออกทั้งหมด เช่น เล็บฉีกขาด เล็บขบ ซึ่งจะใช้เวลาไม่นานในการรักษา แต่สำหรับเล็บที่งอกใหม่ตามธรรมชาติอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน [embed-health-tool-heart-rate] ทำไมต้องถอดเล็บ การถอดเล็บ เป็นวิธีการรักษารูปแบบหนึ่งหากผู้ป่วยมีอาการปวดหรือติดเชื้อรุนแรงบริเวณเล็บ คุณหมออาจต้องรักษาด้วยการถอดเล็บ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เล็บงอกใหม่และแข็งแรงขึ้น สาเหตุที่อาจต้องรักษาด้วยการถอดเล็บ มีดังนี้ เล็บขบ เกิดการบาดเจ็บที่เล็บ หรือเล็บฉีกขาดอย่างรุนแรง เล็บเกิดการติดเชื้อ โดยมีอาการบวมแดง มีหนอง มีกลิ่นเหม็น เจ็บปวด และมีไข้ เล็บหนา (Onychogryphosis) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โรคสะเก็ดเงิน หรือการใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป ขั้นตอนการถอดเล็บ ก่อนเริ่มการรักษาด้วยวิธีถอดเล็บ คุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อทำให้บริเวณที่ต้องการรักษาชา และล้างทำความสะอาดบริเวณที่ต้องทำการรักษาด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ จากนั้น เมื่อบริเวณเล็บเริ่มชา คุณหมอจะทำการถอดเล็บออกทั้งหมดหรืออาจถอดเล็บเพียงบางส่วน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการพิจารณาของคุณหมอ หลังจากถอดเล็บเรียบร้อย คุณหมอจะทายาปฏิชีวนะชนิดขี้ผึ้ง และปิดแผลด้วยผ้าพันแผล นอกจากนี้ คุณหมออาจสั่งยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยเพื่อใช้รักษาแผลที่บ้าน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการถอดเล็บ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากการถอดเล็บได้ ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งป็นการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษา การติดเชื้อราที่เล็บ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในผิวหนังใต้เล็บเมื่อเล็บงอกมาใหม่ ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้ยาที่ใช้ในการรักษา เล็บเท้าผิดรูป ในบางคนเล็บเท้าอาจงอผิดรูป หรือเล็บอาจไม่งอกใหม่ ผู้ป่วยที่เป็นเล็บขบ หลังจากการักษาอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก การดูแลแผลหลังถอดเล็บ หลังจากการถอดเล็บ ผู้ป่วยควรทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด และใช้ยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ดังนี้ ล้างแผลด้วยน้ำเกลือชนิดนอร์มัลซาไลน์ […]


การดูแลเล็บ

วิธีดูแลเล็บมือ ง่าย ๆ ให้เล็บแข็งแรง สุขภาพดี ไม่เปราะหักง่าย

เล็บเป็นอวัยวะควรได้รับการดูแลไม่แพ้อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย หากปล่อยให้เล็บอ่อนแอ อาจเกิดความเสียหายได้ เช่น เล็บแตก เล็บหัก เล็บเปราะ เล็บฉีกขาด วิธีดูแลเล็บมือ ให้แข็งแรงสุขภาพดีนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการบำรุงเล็บด้วยวิธีต่าง ๆ ที่สำคัญควรดูแลเล็บเป็นประจำสม่ำเสมอ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ส่งผลให้ เล็บมือพัง พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจทำโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการกัดเล็บ แกะเล็บ ใช้เล็บงัดแงะของแข็ง อาจส่งผลให้เล็บพัง และเนื้อเยื่อโดยรอบเสียหาย จนเกิดการบวม ช้ำ อักเสบได้ นอกจากพฤติกรรมข้างต้นแล้ว ยังมีภาวะสุขภาพบางประการที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพเล็บ ได้แก่ โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ อาการเล็บเปราะบาง โรคเชื้อราที่เล็บ อาการเล็บคุด อาการปลายเล็บร่น อาการเล็บขบ นอกจากนี้ ยังอาจมีโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพเล็บได้ด้วย หากสังเกตว่าเล็บ หรือเนื้อเยื่อรอบเล็บ มีสีเปลี่ยนแปลง บวม เจ็บบริเวณเล็บ เล็บแตกหักง่าย มีเลือดคั่งใต้เล็บ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเข้ารับการตรวจจากคุณหมอในทันที เพื่อคณหมอจะได้วินิจฉัยและรักษาให้เหมาะสมกับอาการและสาเหตุที่เป็นอย่างเหมาะสมต่อไป อาหารเสริมที่ช่วยให้ เล็บมือ แข็งแรง ไบโอติน (Biotin) เป็นวิตามินในตระกูลวิตามินบี ที่มีคุณสมบัติช่วยรักษาสุขภาพด้านระบบประสาท ผม […]


การดูแลเล็บ

เล็บฉีก วิธีปฐมพยาบาล และวิธีป้องกัน

เล็บฉีก อาจเกิดจากการขาดสารอาหาร เล็บได้รับบาดเจ็บ หรือภาวะอื่น ๆ อาจส่งผลให้เล็บไม่แข็งแรง ดังนั้น การดูแลเล็บด้วยวิธีการที่ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการละเลยสุขภาพเล็บอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าได้ เช่น การติดเชื้อรา [embed-health-tool-bmr] เล็บฉีก เกิดจากอะไร เล็บฉีกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การขาดสารอาหาร เล็บขาดความชุ่มชื้น การได้รับบาดเจ็บ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่าได้ เช่น เมื่อเล็บฉีก เชื้อโรคอย่างเชื้อราอาจเข้าสู่แผล ทำให้ติดเชื้อราได้ การดูแลสุขภาพเล็บให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันเล็บเปราะฉีก แต่ยังอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้ด้วย อาหารบำรุงเล็บที่อาจช่วยป้องกัน เล็บฉีก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยบำรุงสุขภาพเล็บให้แข็งแรง ป้องกันเล็บฉีกหรือเปราะง่าย ปลา อุดมไปด้วยโปรตีนมีโอเมก้า 3 (Omega 3) และกรดไขมันปลา ซึ่งอาจช่วยบำรุงสุขภาพเล็บให้ชุ่มชื้น เพิ่มความอ่อนนุ่ม ป้องกันเล็บบาง ไข่ นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว ยังมีวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และไบโอติน มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความหนาให้เล็บ ถั่วลันเตา อุดมไปด้วยโปรตีน เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี อาจช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเล็บ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเล็บ ผักใบเขียว ผักอุดมไปด้วยแคลเซียม […]


การดูแลเล็บ

เล็บปลอม กับข้อควรรู้ก่อนต่อเล็บปลอม

การทำเล็บได้รับความนิยมแพร่หลาย ทั้งการทาสีเล็บ การทำสปาเล็บ รวมถึงการทำเล็บปลอม ซึ่งอาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเล็บที่แข็งแรง ทนทาน แต่ใช้เวลาในการทำไม่นาน เล็บปลอม มีด้วยกันหลายประเภท จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการ และควรศึกษาวิธีดูแลเล็บปลอมที่ถูกต้อง เพื่อให้เล็บปลอมติดทนขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพเล็บที่อาจพบได้จากการต่อเล็บปลอม เช่น เล็บติดเชื้อรา [embed-health-tool-bmr] เล็บปลอม มีกี่ประเภท เล็บปลอมมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ เล็บอะคริลิค กับ เล็บเจล โดยเล็บปลอมทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างกันตั้งแต่วัสดุที่ใช้ทำเล็บปลอม วิธีการต่อเล็บ ไปจนถึงการล้างเล็บ ดังนี้ เล็บอะคริลิค (Acrylic) เล็บอะคริลิคนั้นเป็นวิธีการต่อเล็บปลอมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความแข็งแรงมากกว่าเล็บเจล และไม่จำเป็นต้องใช้แสง UV อบให้แห้งแบบเล็บเจล เล็บอะคริลิคทำขึ้นมากจากการผสมผงอะคริลิค ซึ่งเป็นพลาสติกประเภทหนึ่ง เข้ากับน้ำยาเฉพาะของผงอะคริลิค ผสมกันแล้วจะมีลักษณะคล้ายแป้งเปียก เมื่อปล่อยทิ้งไว้ก็จะแห้งและแข็ง ทำให้สามารถขึ้นรูปและตัดเล็บให้เป็นลักษณะที่ต้องการได้สะดวก โดยปกติ หากจะต่อเล็บอะคริลิคจะต้องกรอหรือตะไบส่วนหน้าเล็บก่อน เพื่อให้ตัวอะคริลิคสามารถเกาะกับผิวหน้าเล็บได้ ดังนั้น วิธีนี้จึงอาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่มีเล็บบางเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาขณะกรอหน้าเล็บได้ เล็บเจล (Gels) เล็บเจลมีราคาที่แพงกว่าและอยู่ได้นานกว่าเล็บอะคริลิค สามารถทาสีเจลที่ผสมไว้เรียบร้อยแล้วลงบนเล็บได้เลยคล้ายกับการทาสีเล็บตามปกติ จากนั้นจึงอบสีเจลให้แห้งด้วยเครื่องอบยูวี เมื่อสีเจลแห้งแล้วจะมีลักษณะเงาวาวและเรียบเนียน คล้ายกับเล็บจริงมากกว่าเล็บอะคริลิค เล็บเจลจะไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนกับการทาสีเล็บตามปกติหรือการต่อเล็บอะคริลิค ความเสี่ยงสุขภาพจากการต่อเล็บปลอม การติดเชื้อ การต่อเล็บปลอมอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เล็บและนิ้วมือ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย […]


การดูแลเล็บ

ภาวะปลายเล็บร่น วิธีดูแลและรักษาด้วยตัวเองในเบื้องต้น

ภาวะปลายเล็บร่น เป็นอาการที่เล็บแยกออกจากผิวหนังซึ่งไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่มักเป็นสัญญาณของโรคผิวหนัง หรือการติดเชื้อที่ควรจะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ร้ายแรง หรือทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ [embed-health-tool-bmr] ภาวะปลายเล็บร่น คืออะไร ภาวะปลายเล็บร่น (Onycholysis) คือ อาการของโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง โดยมีลักษณะของเล็บที่แยกออกจากผิวหนังที่อยู่ข้างใต้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และอาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนัง การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บ มักพบในผู้หญิงที่มีเล็บยาว และพบได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า ภาวะปลายเล็บร่นนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอยู่นานหลายเดือน เนื่องจากเล็บมือหรือเล็บเท้าจะไม่ติดกลับไปที่ผิวหนังใต้เล็บ ต้องรอให้เล็บใหม่งอกขึ้นมาทดแทนเล็บเก่าก่อน โดยปกติแล้วเล็บมือจะใช้เวลา 4-6 เดือนในการงอกใหม่อย่างเต็มที่ ส่วนเล็บเท้าอาจจะใช้เวลา 8-12 เดือน สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปลายเล็บร่น สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปลายเล็บร่นนั้น หากเป็นเล็บเท้า มักเกิดจากการสวมรองเท้าที่คับจนเกินไป จนมีอาการบาดเจ็บได้ นอกจากนั้นอาจเป็นผลจากการแพ้ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น น้ำยาล้างเล็บ เล็บเคมี เล็บปลอม รวมไปถึงอาจจะเป็นอาการของเชื้อราที่เล็บ หรือโรคสะเก็ดเงิน ส่วนสาเหตุนอกเหนือจากนี้ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่  การบาดเจ็บ การเคาะเล็บซ้ำ ๆ การตีกลอง นอกจากนั้น ภาวะปลายเล็บร่นเป็นสัญญาณแรกที่ที่อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อรา หรือโรคต่อมไทรอยด์ รวมทั้งการที่ร่างกายได้รับวิตามินหรือแร่ธาตุที่จำเป็นไม่เพียงพออีกด้วย วิธีการรักษาภาวะปลายเล็บร่นด้วยตัวเอง เมื่อเกิดภาวะปลายเล็บร่น อาจดูแลตัวเองในเบื้องต้นดังนี้ ควรหมั่นตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จำเป็นต้องใช้เล็บหรือปลายนิ้วมือ หลีกเลี่ยงการให้เล็บโดนสารเคมีหรือสารที่ก่อการระคายเคือง เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ควรสวมถุงมือหากต้องสัมผัสกับน้ำยาเหล่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุแหย่เข้าไปเพื่อทำความสะอาดใต้เล็บ […]


การดูแลเล็บ

กาวต่อเล็บ ทิ้งคราบไว้ ควรกำจัดอย่างไรดี

กาวต่อเล็บ เป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยให้การต่อเล็บสวยงามและสะดวกสบายแลดูสมจริง แต่เมื่อถอดเล็บออกก็จะเกิดเป็นคราบกาวทิ้งเอาไว้ ทำให้เล็บดูไม่สวยงาม จำเป็นต้องมีเคล็ดลับในการขจัดคราบกาวต่อเล็บ ซึ่งอาจต้องใช้อุปกรณ์หรือขั้นตอนที่ไม่ใช่แค่ล้างด้วยน้ำเปล่า ที่สำคัญ ไม่ควรปล่อยคาบกาวทิ้งไว้เพราะทำให้เสียบุคลิกและอาจทำให้เล็บเสียหายได้ [embed-health-tool-heart-rate] การต่อเล็บปลอม การต่อเล็บปลอม สามารถทำให้เล็บที่สั้นยาวได้ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งยังทำให้นิ้วดูยาว เล็บดูเรียบชวนมอง และผิวเล็บดูแข็งขึ้น การต่อเล็บที่ได้รับความนิยม มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. การต่อเล็บอะคริลิก สำหรับวิธีการต่อเล็บแบบอะคริลิกนั้นจะต้องตะไบพื้นผิวของเล็บตามธรรมชาติจนกว่าหน้าเล็บจะหยาบ ซึ่งอาจทำให้เล็บบางลง จนถึงขั้นอ่อนแอได้ นอกจากนั้นสารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาเล็บปลอมยังอาจทำให้ผิวหนังรอบ ๆ เล็บ ระคายเคืองได้ การต่อเล็บจึงถือเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างหนึ่ง สำหรับการถอดเล็บแบบอะคริลิกออกนั้นมักต้องแช่นิ้วที่มีเล็บปลอมลงในอะซิโตน (Acetone) หรือตะไบเล็บออก การต่อเล็บเป็นเวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ มักจะต้องไปเติมโคนเล็บอยู่เสมอ เพราะเล็บจริงตามธรรมชาตินั้นมีการงอกขึ้นมาใหม่ แต่การเติมโคนเล็บบ่อย ๆ ก็อาจทำให้เล็บจริงเสียหายได้ 2. การต่อเล็บเจล การเลือกต่อเล็บแบบเจลแทนการต่อเล็บแบบอะคริลิก ถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะเล็บเจลทำได้ง่ายกว่า นอกจากนั้น เล็บเจลมีความยืดหยุ่นมากกว่า ทำให้เล็บจริงเสี่ยงน้อยกว่าในการที่จะเกิดโอกาสแตกหรือบิ่น นอกจากนั้น เล็บเจลสามารถใช้แสง LED เข้ามาทดแทนในการอบเล็บทำให้สัมผัสรังสียูวีน้อยลง ความเสียหายของเล็บที่เกิดจากการต่อเล็บ ขั้นตอนในการทำเล็บ เริ่มตั้งแต่การกำจัดส่วนหนังกำพร้าที่งอกออกมาใหม่  ทั้งที่หนังกำพร้ามีทำหน้าที่ในการปกป้องเล็บและผิวหนังโดยรอบจากการติดเชื้อ เมื่อเล็มหรือตัดหนังกำพร้าออก แบคทีเรียและเชื้อโรคอื่น ๆ จะเข้าไปในร่างกายและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งการติดเชื้อที่เล็บนั้นมักใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าปกติ หากเป็นไปได้ ควรเลือกต่อเล็บในช่วงโอกาสพิเศษเท่านั้น เพื่อลดปัญหาการสร้างความเสียหายต่อสุขภาพเล็บ […]


การดูแลเล็บ

ตัดเล็บ อย่างไร ให้ปลอดภัยและถูกวิธี

มือ นิ้วมือ และเล็บเป็นอวัยวะที่เสี่ยงสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกตลอดเวลา และเชื้อโรคจากนิ้วหรือเล็บก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อ หรือก่อให้เกิดการเจ็บป่วย การ ตัดเล็บ อย่างถูกวิธี จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ สุขอนามัยของเล็บที่ควรรู้ สุขอนามัยของมือที่เหมาะสม ได้แก่ การทำความสะอาดและการตัดแต่งเล็บอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเล็บ โดยเฉพาะเล็บยาว อาจเป็นที่กักเก็บสิ่งสกปรก เชื้อโรค และปรสิต เช่น พยาธิ ซึ่งอาจทำให้เชื้อแพร่กระจาย หรือนำไปสู่การติดเชื้อ และการเจ็บป่วยได้ จึงควรตัดเล็บให้สั้นและควรทำความสะอาดมือและเล็บด้วยสบู่และน้ำเปล่าเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ตัดเล็บ อย่างไรให้ปลอดภัยและถูกวิธี การตัดเล็บด้วยกรรไกรตัดเล็บปากแหลมหรือปากเฉียง กรรไกรตัดเล็บปากแหลมหรือปากเฉียงมักมีด้ามจับสะดวกสะดวก แต่ข้อเสีย คือ การตัดเล็บด้วยกรรไกรตัดเล็บปากแหลมหรือปากเฉียงให้แม่นยำนั้นถือเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับบางคน โดยเฉพาะเมื่อตัดเล็บด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด อย่างไรก็ตาม วิธีตัดเล็บด้วยกรรไกรตัดเล็บปากแหลมหรือปากเฉียงอย่างถูกต้องและปลอดภัยอาจมีดังนี้ ให้ใช้เล็บที่สั้นที่สุดเป็นหลักในการตัดเล็บ และตัดเล็บให้มีความยาวของเล็บที่ยื่นออกมาเท่า ๆ กันทุกเล็บ ตัดตรงมุมเล็บทั้ง 2 ข้างก่อน ตัดเล็บส่วนที่เหลือ โดยค่อย ๆ เล็มเล็บออกให้โค้งตามความโค้งของนิ้ว เพราะหากตัดทั้งหมดในคราวเดียว แรงกดที่เกิดขึ้นบนแผ่นเล็บ อาจทำให้เล็บแตกได้ การตัดเล็บด้วยกรรไกรตัดเล็บปากโค้ง การตัดเล็บด้วยกรรไกรตัดเล็บปากโค้งสามารถตัดส่วนโค้งมนของเล็บได้นุ่มนวล ทำให้จัดแต่งทรงเล็บได้ง่ายขึ้น และเล็บได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ การใช้กรรไกรตัดเล็บปากโค้งยังควบคุมได้ง่าย ตัดได้อย่างแม่นยำ แต่อาจจะใช้งานยากสำหรับบางคน หากตัดด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด วิธีตัดเล็บด้วยกรรไกรตัดเล็บปากโค้งอย่างถูกต้องและปลอดภัยอาจมีดังนี้ หันหัวโค้งของใบมีดเข้าหาเล็บ แล้วค่อย ๆ ตัดจากด้านหนึ่งของเล็บไปยังอีกด้านหนึ่ง […]


การดูแลเล็บ

ขอบเล็บอักเสบ ประเภท อาการ และการรักษา

ขอบเล็บอักเสบ (Paronychia) เป็นโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า สเตรปโทคอกคัส ไพโอจีน (Streptococcus pyogenes) หรือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่บริเวณผิวหนังโดยรอบจนถึงภายในเล็บ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บที่เล็บ เช่น การกัดเล็บ ประตูหนีบ ทำให้เชื้อแบคทีเรียแทรกเข้าไปในเนื้อเล็บ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีป้องกัน และการรักษาเบื้องต้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามอย่างรุนแรง [embed-health-tool-bmi] โรค ขอบเล็บอักเสบมี่กี่ประเภท โรค ขอบเล็บอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ขอบเล็บอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute paronychia) โรคขอบเล็บอักเสบแบบเฉียบพลัน เป็นการติดเชื้ออย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง เมื่อได้รับเชื้อแบคทีเรีย แต่การติดเชื้อประเภทนี้มักไม่แพร่กระจายลงไปเข้าสู่นิ้ว ซึ่งอาจสามารถทำให้ฟื้นฟูสุขภาพเล็บกลับมาเป็นดังเดิมได้ค่อนข้างไว ขอบเล็บอักเสบเรื้อรัง (Chronic paronychia) หมายถึงโรคขอบเล็บอักเสบที่มีอาการนานกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป และมีความร้ายแรงกว่าโรคขอบเล็บอักเสบแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่เล็บโดนความชื้นหรือทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำเป็นเวลานาน เพราะความชื้นอาจกระตุ้นให้แบคทีเรียเจริญเติบโต จนนำมาสู่อาการเล็บติดเชื้อได้ สัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรค ขอบเล็บอักเสบ อาการทั่วไปของโรคขอบเล็บอักเสบ อาจมีดังต่อไปนี้ ผิวหนังรอบเล็บบวมแดงขึ้น บริเวณขอบเล็บมีแผลพุพองเต็มไปด้วยหนอง สีผิว หรือพื้นผิวเล็บเปลี่ยนแปลงไป เล็บ และผิวหนังหลุดลอก หรือได้รับความเสียหาย วิธีการรักษาโรค ขอบเล็บอักเสบ การรักษาโรคขอบเล็บอักเสบ อาจแตกต่างกันออกไป […]


การดูแลเล็บ

วิธีดูแลเล็บให้แข็งแรง ไม่เหลือง ไม่บาง ไม่เปราะหักง่าย

เล็บ เป็นอีกหนึ่งอวัยวะภายในร่างกายที่ต้องใส่ใจดูแลให้ดี เพราะเล็บอาจบ่งบอกถึงสุขภาพของเราได้ เมื่อเล็บแข็งแรง ไม่เปราะบาง หักง่าย ไม่เหลือง ก็อาจหมายถึงสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ดังนั้น วิธีดูแลเล็บให้แข็งแรง นอกจากจะช่วยให้เล็บมีสุขภาพที่ดีแล้ว ยังอาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] วิธีดูแลเล็บให้แข็งแรง สำหรับวิธีดูแลเล็บให้แข็งแรงอาจทำได้ ดังนี้ อย่าให้เล็บโดนน้ำบ่อย หากเล็บโดนน้ำบ่อย ๆ หรือแช่น้ำนานเกินไป อาจทำให้เล็บอ่อนแอและเปราะหักง่าย ยิ่งหากเล็บโดนสารเคมีด้วยแล้ว ก็ยิ่งอ่อนแอง่ายขึ้นไปอีก ฉะนั้น ควรสวมถุงมือเวลาล้างจาน หรือหากแช่น้ำในอ่างก็พยายามอย่าให้เล็บแช่น้ำนาน ๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ให้เล็บโดนน้ำไม่ได้ เช่น ต้องล้างมือบ่อย ๆ ก็ต้องซับมือและเล็บให้แห้ง แล้วทาครีมบำรุงทันที อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ ถือเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอแล้ว ทุกระบบในร่างกายก็จะทำงานได้อย่างเป็นปกติ อวัยวะทุกส่วนจะแข็งแรง รวมถึงเล็บด้วย แต่หากร่างกายขาดน้ำอาจทำให้เล็บเปราะ บาง แตกหักง่าย ดังนั้น จึงควรดื่มน้ำเปล่า 2-3 ลิตร/วัน เพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้น เล็บแข็งแรง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเล็บให้ดี สำหรับผู้ที่ชอบทาเล็บ หรือทำทรีตเมนต์บำรุงเล็บ ควรเลือกยาทาเล็บ น้ำยาล้างเล็บ และผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บให้ดี โดยควรเลือกยาทาเล็บแบบปลอดสารเคมีอันตราย และน้ำยาล้างเล็บแบบไม่มีอะซิโตน (Acetone) รวมถึงควีหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีรุนแรง เพราะยิ่งใช้จะยิ่งทำร้ายเล็บจนอ่อนแอลงได้ และหลังล้างเล็บแล้ว แนะนำให้พักเล็บอย่างน้อย 1 อาทิตย์ อย่าทาเล็บติดต่อกันตลอด […]


การดูแลเล็บ

เล็บเป็นขีดสีดํา เล็กๆ สัญญาณเตือนโรคที่ไม่ควรมองข้าม

เล็บเป็นขีดสีดํา เล็กๆ คือใต้ผิวเล็บมีเส้นขีดสีดำ หรือน้ำตาลปรากฏขึ้นในแนวตั้งเล็บใดเล็บหนึ่งหรือทุกเล็บ เป็นได้ทั้งเล็บมือและเล็บเท้า ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณสะท้อนสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกเกี่ยวกับร่างกายและระบบต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจและรักษา เพราะอาจเป็นได้ทั้งเส้นเลือดใต้เล็บแตก หรือกระทั่งโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง [embed-health-tool-bmr] เล็บเป็นขีดสีดํา เล็กๆ คืออะไร เล็บเป็นเส้นขีดดำคือ รอยเส้นยาวส่วนมากจะเป็นแนวตั้งสีดำ หรือน้ำตาลเข้มปรากฏขึ้นให้เห็นเด่นชัดบนเล็บ สามารถเกิดขึ้นได้กับเล็บมือ และเล็บเท้า รอยเส้นนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไป ดังนี้ เนื้องอกใต้ผิวหนัง เมื่อเกิดเนื้องอกใต้ผิวหนัง จะทำให้เกิดเส้นใต้ผิวเล็บปรากฎขึ้น เนื่องจากเนื้องอกเติบโตขึ้น และในบางรายอาจไม่ได้มีเพียงแค่เส้นสีดำเท่านั้น อาจทำให้เกิดการเจ็บปวดบริเวณรอบ ๆ เล็บ ร่วมด้วย พร้อมทั้งมีอาการเลือดออกปะปนตามออกมา จากการรายงานของ Podiatry Management พบว่า ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์มักปรากฎเส้นขีดดำกับเล็บเท้าบ่อยที่สุด เส้นเลือดใต้เล็บแตก เป็นอาการตกเลือด ที่เกิดมาจากเส้นเลือดภายใต้เล็บบาดเจ็บ หรือประสบกับอุบัติเหตุรุนแรงจนหลอดเลือดในบริเวณนั้นขาด จนเกิดเป็นร่องรอยสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ ปรากฏอยู่บนเล็บ โดยปกติแล้วอาการเช่นนี้จะสามารถหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน แต่ถ้าหากเส้นเลือดใต้เล็บนี้ขาดเป็นจำนวนมาก  อาจทำให้รอยเส้นสีดำอยู่บนเล็บถาวรก็เป็นได้ ภาวะของโรคที่เป็นสาเหตุเล็บเป็นเส้นขีดดำ ปกติแล้วสีของเล็บ ผม ผิวหนังถูกผลิตโดยเซลล์ที่มีชื่อว่า “เมลาโนไซต์ (Melanocytes)” ซึ่งภายในประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดสีเมลานิน (Melanin) หากสังเกตว่า เส้นขีดดำบนเล็บมีความเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเกิดการลุกลามไปยังนิ้วอื่น ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน