backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

คิ้วบาง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และมีวิธีแก้หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/07/2023

คิ้วบาง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และมีวิธีแก้หรือไม่

คิ้วบาง เป็นอาการที่ขนคิ้วร่วงจนทำให้คิ้วบางลง โดยสาเหตุของคิ้วบางนั้นอาจเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น เป็นเรื่องปกติที่รูขุมขนจะผลิตขนน้อยลง หรืออาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพื่อรักษาโรค รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน 

คิ้วบาง เป็นเพราะอะไร

คิ้วบาง เป็นอาการที่ขนคิ้วเริ่มร่วง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของอาการคิ้วบางหรือขนคิ้วร่วงนั้น มีดังนี้ 

อายุมากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้น รูขุมขนจะค่อย ๆ หยุดการผลิตขนหรือเส้นขน รวมทั้งผมหรือขนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทา และสีขาว อีกทั้งจะค่อย ๆ ร่วง จนกระทั่งหนังศีรษะบางไปจนถึงหนังศีรษะล้าน  

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ภาวะความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นสาเหตุที่ทำให้ขนคิ้วร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ป่วยมีภาวะของโรคไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) ทั้งในภาวะที่มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป และภาวะที่มีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไป แต่สาเหตุนี้จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาอยู่ในระดับปกติ ขนหรือเส้นผมก็จะงอกกลับมาดังเดิม

โรคแพ้ภูมิตัวเอง

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกโจมตี ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะส่งผลต่อเซลล์ที่สุขภาพดี ซึ่งลักษณะเช่นนี้ จะเป็นการไปกระตุ้นให้เกิดผมหงอก ผมบาง และผมร่วง รวมถึงทำให้คิ้วบางได้

ความผิดปกติของผิวหนัง

ขนเกิดขึ้นมาจากรูขุมขนนผิวหนัง ดังนั้นการมีสุขภาพผิวหนังที่ดีย่อมหมายถึงการมีสุขภาพของเส้นผมและเส้นขนที่ดีตามไปด้วย ปัญหาโรคผิวหนัง เช่น อาการคัน อักเสบ แห้งกร้าน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ขนคิ้วร่วงจนคิ้วบางได้

โรคขาดสารอาหาร (Nutritional deficiencies)

อาหารมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเจริญเติบโตของร่างกาย ทั้งประโยชน์ต่อสุขภาพผิวและสุขภาพของเส้นผมด้วย ช่วยบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าร่างกายขาดสารอาหารจนกระทั่งเป็นโรคขาดสารอาหาร ก็ส่งผลให้คิ้วบางได้  ซึ่งภาวะขาดสารอาหารที่ว่านั้น ได้แก่

  • ภาวะขาดกรดไขมันที่จำเป็น (Fatty acid deficiency)
  • ภาวะขาดไบโอติน (Biotin deficiency)
  • ภาวะขาดสังกะสี (Zinc deficiency)

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรค

การรักษาโรคซึ่งทำให้อาการของโรคนั้น ๆ ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาโรคบางอย่าง อาจเป็นสาเหตุที่ทำขนคิ้วร่วงได้ เช่น

  • การใช้ยาอาซิเทรติน (Acitretin) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเรตินอยด์ ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังบางประการ เช่น โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • การทำคีโม เพื่อการรักษามะเร็ง
  • การใช้ยาวาลโพรอิค แอซิด (Valproic acid) เป็นยาสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก

พันธุกรรม

พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดลักษณะทางกายภาพ อาการผมร่วง หรือขนน้อยนั้น อาจถ่ายทอดมาจากผู้เป็นพ่อหรือแม่ บางคนอาจจะผมบางเหมือนแม่ ในขณะที่บางคนอาจจะมีผมหยักศกเหมือนพ่อ บางคนอาจจะคิ้วบางเหมือนกับทั้งพ่อและแม่ ในขณะเดียวกันปัญหาคิ้วบางอาจเป็นผลจากภาวะทางพันธุกรรมเหล่านี้ ได้แก่

  • โรคสังข์ทอง (Ectodermal Dysplasia) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีผลต่อเซลล์เนื้อเยื่อ จึงส่งผลต่อความผิดปกติของผิวหนัง เส้นผม เล็บ ฟัน และยังทำให้ผมร่วงผมบางเป็นหย่อม ๆ รวมถึงทำให้ขนในบริเวณอื่น ๆ และขนคิ้วร่วงหรือคิ้วบางได้อีกด้วย
  • กลุ่มอาการนิเธอทัน (Netherton syndrome) โรคนี้เป็นภาวะความผิดทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก มีผลต่อผิวหนังและระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เส้นผมเปราะและแตกง่าย ซึ่งภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นตั้งแต่แรกเกิด

นอกจากนี้คิ้วบางยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • การได้รับรังสีทางเคมี
  • โรคแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis)
  • โรคซาร์คอยโดสิส (Sarcoidosis)
  • ภาวะการเผาไหม้ทางเคมี
  • โรคดึงผม (Trichotillomania)
  • มะเร็งผิวหนังชนิดคาร์ซิโนมา (Carcinoma)
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคเรื้อน

วิธีดูแลและปกป้องขนคิ้วให้มีสุขภาพดี

หากอยากให้ขนคิ้วเรียงสวย ดกดำ เป็นเงางามแล้วต้องหมั่นดูแลขนคิ้วเป็นประจำ ทั้งนี้ อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินมากเพียงพอที่จะนำไปซ่อมแซมหรือบำรุงอวัยวะต่าง ๆ 
  • พยายามที่จะไม่เครียด หาวิธีคลายเครียดไม่ว่าจะเป็นการนวด การทำสมาธิ หรือเข้ารับการบำบัด หรือหาวิธีรักษาจากคุณหมอ
  • หลีกเลี่ยงการถอนขนคิ้วบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการเติมแต่งขนคิ้ว 
  • บำรุงขนคิ้วด้วยวาสลีน หรือน้ำยาสำหรับดูแลเส้นผมและเส้นขนโดยเฉพาะ

เมื่อใดควรไปพบคุณหมอ

หากเริ่มสังเกตว่าตนเองกำลังประสบปัญหากับอาการผมร่วง หรือมีอาการขนในบริเวณอื่นร่วงมากจนผิดปกติ ควรเข้ารับคำแนะนำและขอคำปรึกษาจากคุณหมอที่เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการรักษาหรือรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเหมาะสม

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา