backup og meta

แชมพูลดผมร่วง มีส่วนผสมอะไรบ้าง ควรเลือกอย่างไร

แชมพูลดผมร่วง มีส่วนผสมอะไรบ้าง ควรเลือกอย่างไร

ผมร่วง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งพันธุกรรม อาการป่วย ความเครียด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เพื่อรักษาอาการผมร่วง ควรเลือกสระผมด้วย แชมพูลดผมร่วง ที่มีส่วนผสมของตัวยาหรือสารบางอย่างที่ออกฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการผมร่วงและกระตุ้นเส้นผมงอกใหม่ อย่าง ดีเอชทีบล็อกเกอร์ (DHT Blockers) ไมนอกซิดิล (Minoxidil) หรือฮีสทิดีน (Histidine)

[embed-health-tool-bmi]

ผมร่วงเกิดจากอะไร

ผมร่วง เป็นปัญหาเส้นผมที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • พันธุกรรม จัดเป็นสาเหตุของผมร่วงที่พบได้บ่อยที่สุด
  • อายุที่มากขึ้น
  • ความเครียด
  • อาการป่วย เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) รวมถึงการติดเชื้อบริเวณหนังศีรษะ
  • การดึงรั้งเส้นผมซ้ำ ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานานจากการสวมหมวก ผูกผมหางม้า หรือถักเปีย
  • ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลจากภาวะสุขภาพ เช่น ตั้งครรภ์ คลอดบุตร วัยทอง
  • การใช้ยาสำหรับรักษาโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ โรคซึมเศร้า
  • การขาดสารอาหารกลุ่มวิตามินบี โปรตีน เหล็ก สังกะสี
  • การได้รับสารพิษอย่างสารหนู ปรอท แทลเลียม (Thallium) หรือลิเทียม (Lithium)

แชมพูลดผมร่วง รักษาผมร่วงได้อย่างไร

เมื่อพบปัญหาผมร่วง อาจดูแลตนเองด้วยการเลือกใช้แชมพูลดผมร่วง ที่มีส่วนผมของสารต่อไปนี้ ได้แก่

  • ดีเอชทีบล็อกเกอร์ หรือสารระงับการทำงานของฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone หรือ DHT) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หากร่างกายหลั่งออกมามากเกินไปจะทำให้รูขุมขนหดเล็กลง จนเป็นผลให้ผมร่วงง่ายและงอกใหม่ได้ยากกว่าปกติ
  • ไมนอกซิดิล เป็นยารักษาอาการผมร่วงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีคุณสมบัติกระตุ้นการงอกของเส้นผม ด้วยการเพิ่มระยะการเติบโตของเส้นผม และลดระยะพักของรูขุมขนซึ่งเป็นระยะที่ผมจะหยุดยาวและหลุดร่วงจากรูขุมขน
  • ไบโอติน (Biotin) หรือวิตามินบี 7 เป็นสารอาหารที่มีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีนเคราติน (Keratin) ในเส้นผม ซึ่งช่วยให้ผมเงางาม แข็งแรง ไม่แตกปลายหรือหลุดร่วงง่าย
  • ฮีสทิดีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่มีคุณสมบัติในการช่วยปกป้องเส้นผมจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่อยู่ในแสงแดด เพราะหากเส้นผมโดนแสงแดดเป็นเวลานานจะทำให้สุขภาพเส้นผมอ่อนแอและร่วงง่ายขึ้น
  • ไนอะซิน (Niacin) หรือวิตามินบี 3 มีคุณสมบัติกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณรูขุมขน ได้รับออกซิเจนมากขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เส้นผมงอกใหม่
  • แพนทีนอล (Panthenol) มีคุณสมบัติทำให้เส้นผมนุ่มสลวย เงางาม และแข็งแรง นอกจากนี้ แพนทีนอลยังอาจช่วยรักษาอาการผมร่วงหรือผมบางได้ เพราะมีคุณสมบัติกระตุ้นให้เส้นผมงอกใหม่และช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • น้ำมันหอมระเหย ที่ได้จากไม้ซีดาร์ ลาเวนเดอร์ โรสแมรี่ หรือไทม์ (Thyme) มีคุณสมบัติกระตุ้นให้เส้นผมงอกใหม่ เมื่อสระผมด้วยแชมพูที่ผสมน้ำมันหอมระเหย จึงอาจช่วยรักษาอาการผมร่วงได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคหัวล้านเป็นหย่อมด้วยน้ำมันหอมระเหย ตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Dermatology ปี พ.ศ. 2541 นักวิจัยได้แบ่งผู้ป่วยโรคผมร่วงเป็นหย่อมเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้นวดศีรษะทุกวันด้วยน้ำมันจากต้นโจโจบาและเมล็ดองุ่น ส่วนอีกกลุ่มให้นวดศีรษะทุกวันด้วยน้ำมันแบบเดียวกันร่วมกับน้ำมันหอมระเหยจากไม้ซีดาร์ ลาเวนเดอร์ โรสแมรี่ และไทม์ เป็นระยะเวลา 7 เดือน เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง นักวิจัยพบว่า จำนวนของผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นในกลุ่มที่ 2 นั้นมีมากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มแรก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Seborrheic dermatitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352710. Accessed November 1, 2022

Randomized trial of aromatherapy. Successful treatment for alopecia areata. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9828867/. Accessed November 1, 2022

4 DHT Blocking Treatments You Should Know. https://www.webmd.com/connect-to-care/hair-loss/dht-blocking-treatments-to-know-about. Accessed November 1, 2022

Dexpanthenol Promotes Cell Growth by Preventing Cell Senescence and Apoptosis in Cultured Human Hair Follicle Cells. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34698060/. Accessed November 1, 2022

Shampoo for Hair Loss: What to Look for and What to Avoid. https://www.webmd.com/connect-to-care/hair-loss/shampoo-for-hair-loss. Accessed November 1, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/01/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผมหงอกเกิดจาก อะไร ยิ่งถอน ยิ่งหงอก จริงหรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 05/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา