backup og meta

สาเหตุที่ควรหยุดออกกำลังกายหลังสัก

สาเหตุที่ควรหยุดออกกำลังกายหลังสัก

หลังจากการสัก อาจมีข้อแนะนำบางอย่างที่ควรปฏิบัติ เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักของดอง ระวังอย่าให้รอยสักโดยน้ำร้อนหรือสบู่ รวมไปถึงอาจแนะนำให้ หยุดออกกำลังกายหลังสัก ชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ แผลเปิด การเรียนรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายหลังสักอย่างเหมาะสม อาจช่วยป้องกันไม่ให้แผลเปิด ลดการเกิดเหงื่อ ที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ในอนาคต

[embed-health-tool-heart-rate]

สาเหตุที่ควรหยุดออกกำลังกายหลังสัก

สาเหตุที่ควรหยุดออกกำลังกายหลังสัก มีดังนี้

เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

การสักเป็นขั้นตอนที่ทำให้ผิวหนังเกิดบาดแผลเล็ก ๆ หลายร้อยแผล ซึ่งแผลจากการสักเป็นแผลเปิด ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่รางกายได้ง่าย และเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ใน การออกกำลังกาย มักมีการสะสมของแบคทีเรียจำนวนมาก การสัมผัสอุปกรณ์ออกกำลังกายต่าง ๆ จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ผิวหนัง ดังนั้น จึงควรหยุดออกกำลังกายหลังสัก

อาจทำให้แผลหายช้าขึ้น

เมื่อออกกำลังกาย กล้ามเนื้อบริเวณผิวหนังจะยืดตัว และมักมีเหงื่อออก การที่ผิวหนังยืดและร่างกายขับเหงื่อออกมากเกินไปในบริเวณรอยสัก จะส่งผลต่อกระบวนฟื้นฟูตัวเองของผิวหนัง ทำให้แผลเปิดบริเวณรอยสักหายได้ช้าขึ้น

อาจเกิดความระคายเคือง

เมื่อผิวบริเวณที่มีรอยสักที่เพิ่งสักมาใหม่ ๆ ถูกับเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ออกกำลังกาย อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการระคายเคือง ทั้งยังสามารถถูสะเก็ดของรอยสัก และรบกวนการรักษาของผิวหนังที่เหมาะสมอีกด้วย

ควรหยุดออกกำลังกายหลังสักนานแค่ไหน

หลักจากสักเสร็จเรียบร้อยแล้ว ช่างสักจะแนะนำให้รออย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนที่จะออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก แต่ความจริงแล้ว หลังสักเสร็จควรหยุดออกกำลังกายอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้ผิวหนังมีเวลารักษาบาดแผลที่เกิดขึ้น

การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ที่เพิ่งสัก

นอกจากการให้เวลาผิวหนังในการรักษาตัวเองแล้ว ควรจะต้องคำนึงถึงขนาด และตำแหน่งของรอยสักด้วย เมื่อตัดสินใจที่จะกลับมาออกกำลังกาย อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า ควรจะเริ่มออกกำลังกายรูปแบบใดดี ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจออกกำลังกายรูปแบบใด ๆ แนะนำให้ลองเดินแบบสบาย ๆ เพื่อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวนั้นดึงผิวหนังบริเวณที่มีรอยสักหรือไม่ ถ้าผิวหนังบริเวณที่มีรอยสักถูกดึง อาจจะต้องหยุดออกกำลังกายต่อไปอีกสักระยะ หรืออาจจะต้องหาการออกกำลังรูปแบบอื่นที่ไม่รบกวนบริเวณที่มีรอยสักใหม่ แต่ในบางกรณี การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับรอยสักที่เพิ่งสักมาใหม่อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากรอยสักมีขนาดใหญ่ เช่น รอยสักที่เต็มหลัง

การออกกำลังกาย ที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีรอยสัก

แม้รอยสักจะหายดีแล้ว แต่ก็มีข้อควรระวังบางอย่างเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ควรจะต้องระวัง ดังนี้

หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแสงแดด เพราะผิวบริเวณรอบ ๆ รอยสักใหม่จะบอบบางเป็นพิเศษอีกทั้งแสงแดดยังอาจทำให้รอยสักจางหรือซีดลงได้ ดังนั้น ช่างสักส่วนใหญ่จึงแนะนำให้รักษารอยสักใหม่ให้พ้นจากแสงแดดเป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์

หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ

ช่างสักส่วนใหญ่จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะการแช่รอยสักเอาไว้ในน้ำนาน ๆ ก่อนที่รอยสักจะหายดีอาจทำให้หมึกสักสลาย และการว่ายน้ำในสระที่ผ่านการบำบัดทางเคมี อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและระคายเคืองได้ ส่วนการว่ายน้ำในทะเลสาบ มหาสมุทร และแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่น ๆ อาจทำให้รอยสักใหม่สัมผัสกับแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Body Art: What You Need to Know before Getting a Tattoo or Piercing. https://uhs.umich.edu/bodyart. Accessed February 11, 2021

Tattoos: Understand risks and precautions. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/tattoos-and-piercings/art-20045067. Accessed February 11, 2021

Tattoos & Permanent Makeup: Fact Sheet. https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-products/tattoos-permanent-makeup-fact-sheet. Accessed February 11, 2021

Wound Healing Phases. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470443/. Accessed February 11, 2021

Tattoo Safety, and Safe Tattoo Removal. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-before-you-tattoo. Accessed March 7, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

รอยสักติดเชื้อ อาการและการรักษา

คันที่รอยสัก เป็นเพราะอะไร และควรบรรเทาอาการด้วยวิธีไหนดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา