backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

แพ้ เครื่องสำอาง อาการและวิธีรักษาที่ถูกต้องเมื่อเกิดอาการแพ้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 10/01/2022

แพ้ เครื่องสำอาง อาการและวิธีรักษาที่ถูกต้องเมื่อเกิดอาการแพ้

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่น เครื่องสำอางสำหรับใบหน้าและดวงตา มักมีส่วนผสมของสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ดังนั้น อาการแพ้เครื่องสำอาง จึงอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อาการแพ้ เนื่องจาก สารก่อภูมิแพ้อาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ปล่อยสารเคมี เช่น แอนติบอดีที่ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ออกมา โดยอาการแพ้เครื่องสำอางอาจทำให้เกิดผื่นแดงบนผิวหนัง คัน รวมถึงผิวหนังอักเสบ

ทำความรู้จักเครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง เป็นสารที่นำไปใช้กับผิว ผม หรือเล็บ เช่น ครีมบำรุงผิว แชมพู ครีมนวดผม ที่เล็บ โดยเครื่องสำอางจะมีส่วนผสมที่ใช้ในการจัดแต่งหรือปรับเปลี่ยนผิว ผม หรือเล็บ แค่ชั่วคราว สำหรับส่วนผสมในเครื่องสำอาง ได้แก่ เม็ดสี โลหะ เรซิน สารกันบูด นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนประกอบของสารพฤกษศาสตร์ที่แปลกใหม่ เช่น น้ำมันหอมระเหย ผสมอยู่ ซึ่งส่วนผสมต่าง ๆ อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้โดยตรง ซึ่งอาจเป็นปฏิกิริยาที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังก่อให้เกิดการตอบสนองการแพ้ต่อระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้ว การระคายเคืองจะเกิดขึ้นในครั้งแรกตั้งแต่เริ่มใช้เครื่องสำอางซึ่งต่างจากปฏิกิริยาการแพ้ที่ต้องได้รับสัมผัสซ้ำ ๆ

ส่วนผสมในเครื่องสำอางที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้

การทราบว่าตัวเองแพ้ส่วนผสมอะไรในเครื่องสำอางบ้าง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็น เพราะอาจง่ายต่อการหลีกเลี่ยงปัญหา ซึ่งส่วนผสมในเครื่องสำอางที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ มีดังนี้

  • สารประกอบอะลูมิเนียม หากรักแร้เป็นสีแดง หรือเริ่มลอกทุกครั้งที่โดนเหงื่อ นั่นอาจหมายความว่าแพ้สารประกอบอะลูมิเนียม
  • กรด กรดในที่นี้รวมถึงกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) กรดเบต้าไฮดรอกซี (Beta Hydroxy Acid หรือ BHA) ซึ่งมีคุณสมบัติละลายในน้ำมัน ใช้สำหรับรักษาสิวและผิวมัน นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับกำจัดเซลล์ผิวก็จะมีกรดผสมอยู่ด้วย ซึ่งกรดอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิว ความแห้งกร้าน แดง และรอยไหม้หากใช้เกินขนาด
  • กลิ่นหอม ส่วนผสมของน้ำหอมอาจกระตุ้นให้เกิดการระคายเคือง เกิดผื่นที่ผิวหนัง รวมถึงอาการปวดหัว ไอหายใจเสียงดัง และระคายเคืองระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  • โลหะ หากคุณแพ้นิกเกิล หรือโลหะอื่นๆ ก็ควรจะต้องระวังโคบอลต์ ซึ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และผลิตภัณฑ์ทำสีผม นอกจากนั้นแล้วในเครื่องสำอางยังมีโลหะอื่น ๆ เป็นส่วนผสม เช่น อะลูมิเนียม โครเมียม ตะกั่ว
  • สารไขมันที่ดูดซึมได้ ช่วยให้ผิวนุ่ม (Emollient) สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่าย อาจจะทำให้เกิดสิว
  • ซัลเฟต (Sulfate) ส่วนผสมนี้พบได้ในแชมพูและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย เช่น สบู่ สบู่สำหรับเด็ก หากใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้วเกิดอาการตาเรื้อรัง ระคายเคืองผิว ผื่น และคัน ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แล้วเข้าพบคุณหมอทันที
  • น้ำมันหอมระเหย แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ แต่บางคนก็อาจเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

วิธีรักษาอาการแพ้เครื่องสำอาง 

การรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยวิธีการรักษามีดังนี้

  • ยาแก้แพ้ มีทั้งครีม ยาหยอดตา และสเปรย์ เพื่อลดอาการระคายเคือง
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ ช่วยลดการอักเสบ
  • ลูกประคบเย็น หรือเจลประคบเย็น ใช้บรรเทาอาการคันและลดการอักเสบ สามารถวางบนผิวหนังได้ตลอดเวลาที่เกิดอาการ
  • ปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ

หลีกเลี่ยงอาการแพ้เครื่องสำอาง

เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องสำอาง ผู้ที่มีอาการแพ้เครื่องสำอาง อาจปฏิบัติดังนี้

  • มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมน้อยที่สุด
  • ทดสอบอาการแพ้ก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยการทาเอาไว้บริเวณแขน รอ 48-72 ชั่วโมง หากมีผื่นแดง บวม คัน หรือแสบร้อน ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นั้น
  • หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำหอมบนผิวหนัง เพื่อเลี่ยงปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นกับผิวหนัง แต่ถ้าจำเป็นจะต้องฉีดน้ำหอมจริง ๆ ควรฉีดลงบนเสื้อผ้าจะเป็นการดีที่สุด
  • แม้บนฉลากของผลิตภัณฑ์จะติดเอาไว้ว่า ใช้แล้วไม่แพ้ แพทย์ผิวหนังทดสอบ หรือไม่ระคายเคือง นั่นอาจไม่ได้รับประกันว่า ผลิตภัณฑ์จะไม่ทำให้ผิวเกิดอาการแพ้
  • เครื่องสำอางจะมีวันหยุดอายุระบุเอาไว้บนตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งควรต้องดูให้เรียบร้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้ว โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องสำอางจะเก็บได้ 3 เดือน-2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของแต่ละผลิตภัณฑ์ด้วย และเมื่อเกิดอาการแพ้รุนแรง อย่าซื้อยามารับประทานเอง หากไม่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร ทางที่ดีที่สุด คือ การไปหาคุณหมอ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 10/01/2022

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา