backup og meta

คันเท้า อาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 23/08/2023

    คันเท้า อาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

    คันเท้า อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน อาการแพ้ หรืออาจเกิดความผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งวิธีการรักษาและการป้องกันก็อาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สาเหตุของอาการคันเท้า ดังนั้น หากสังเกตพบความผิดปกติ จึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างเหมาะสม

    อาการคันเท้า เกิดขึ้นได้อย่างไร

    อาการคันเท้า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ปัญหา คันฝ่าเท้า ที่คุณกำลังประสบอยู่ อาจมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    อาการคันเท้า จากโรคปลายประสาทอักเสบ

    สถาบันโรคทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (National Institute of Neurological Disorders and Stroke) เผยว่าการบาดเจ็บหรือความเสียหายที่ระบบประสาทส่วนปลาย หรือปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy) อาจจะส่งผลต่อระบบรับความรู้สึก เช่น ทำให้เกิดอาการชาที่เท้า อาการคันที่เท้า หรืออาการปวดที่บริเวณเท้า

    โรคสะเก็ดเงิน

    โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังมีการเจริญเติบโตเร็วเกินไปหรือเติบโตเร็วจนผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดอาการอักเสบจนเป็นผื่นขนาดใหญ่ และส่งผลให้เกิดอาการคัน โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณขาหรือเท้าก็จะทำให้รู้สึก คันเท้า

    โรคผิวหนังอักเสบ

    โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) เกิดจากการสัมผัสกับสารเคมี หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง เมื่อเป็นแล้วมักทำให้เกิดผื่น ตุ่มแดง ผิวแห้ง อักเสบ และเกิดอาการคัน และถ้าหากเป็นที่เท้า ก็จะส่งผลให้เกิด อาการคันเท้า

    ติดเชื้อพยาธิปากขอ

    คนที่ชอบเดินเท้าเปล่า  เดินไปไหนมาไหนแล้วไม่สวมรองเท้า พยาธิปากขอที่อาจจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่ไปเดินหรือไปสัมผัสมานั้นอาจมีการติดเชื้อขึ้นที่เท้า และส่งผลให้เกิดอาการคันเนื่องจากการติดเชื้อ แต่โดยมากแล้ว การติดเชื้อพยาธิปากขอ (Hookworm infections) นี้มักจะพบได้หากไปเดินในพื้นที่ที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อเช่นนี้ไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก

    โรคหิด

    โรคหิด (Scabies) เกิดจากการที่ไรตัวเล็ก ๆ เข้าไปในผิวหนังและมีการวางไข่ ซึ่งสามารถเกิดได้กับผิวหนังทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา หรือเท้า เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้เกิดอาการคัน หรือผื่นคันขึ้นมาได้ 

    โรคเบาหวาน

    เบาหวาน (Diabetes) เป็นอาการทางสุขภาพเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดอาการคันได้ เนื่องจากอาการเบาหวานที่เป็นอยู่ไม่สามารถควบคุมได้ จนกระทั่งเกิดจากแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic Neuropathy) ทำให้เกิดความรู้สึกคันและชาตามผิวหนัง แขน ขา หรือบริเวณเท้า รวมถึงอาจมีปัญหาผิวแห้งหรือตกสะเก็ดด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนที่จะพบกับอาการเช่นนี้

    อาการแพ้

    ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้จากสารเคมี หรือแพ้สารในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย หรือสารในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหนัง เช่น สบู่ สบู่เหลว โลชั่น หรือครีมบำรุงผิว อาการแพ้สารเหล่านี้จะก่อให้เกิดผื่น ตุ่ม และมีอาการคัน โดยเฉพาะหากผลิตภัณฑ์นั้นใช้สำหรับเท้า ก็จะทำให้มีอาการระคายเคือง และก่อให้เกิด อาการคันเท้า

    รองเท้า

    ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าแตะ รองเท้าผ้าใบ รองเท้ากีฬา ขึ้นชื่อว่าเป็นรองเท้าก็มักจะเกิดการมักหมม อับชื้น เนื่องจากรองเท้ามักจะมีการหมักหมมเหงื่อจากเท้าเอาไว้ นานเข้าก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียหรือเชื้อรา และถ้าไม่ทำความสะอาดรองเท้าอย่างเหมาะสมหรือทำความสะอาดอย่างทั่วถึง แบคทีเรียที่อยู่ในรองเท้าก็จะส่งผลให้เกิดอาการคันที่เท้าได้

    ผิวแห้ง

    อาการผิวแห้งเกิดจากการที่ต่อมน้ำมันในผิวหนังผลิตน้ำมันออกมาน้อย หรือสูญเสียการผลิตน้ำมันเคลือบผิว ส่งผลให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ทำให้ผิวแห้ง เป็นขุย และปัญหาสุขภาพผิวอย่างผิวแห้งนี้ มักจะก่อให้เกิดอาการคันตามมาด้วย ยิ่งถ้าบริเวณเท้าเกิดปัญหาผิวแห้ง ก็จะส่งผลให้เกิดอาการคันตามมาได้เช่นกัน

    วิธีรักษาอาการ คันเท้า

    หากมี อาการคันเท้า จำเป็นที่จะต้องรักษาตามสาเหตุของอาการ เนื่องจากอาการคันเท้าเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าหากมีอาการคันเท้าเพราะอาการแพ้สารเคมีจากผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหนัง ก็ต้องหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

    หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ก็ควรจะต้องใช้ยาที่ช่วยป้องกันแบคทีเรียหรือเชื้อรา หรือยาเพื่อบรรเทาอาการคันตามผิวหนัง หรือควรไปพบกับคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ และรักษาตามอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันเท้า

    ป้องกันไม่ให้เกิด อาการคันเท้า ได้อย่างไร

    วิธีป้องกันอาการคันเท้าในเบื้องต้นก็คือการหมั่นรักษาความสะอาด ไม่เพียงแต่ความสะอาดของเท้าเท่านั้น แต่เป็นความสะอาดของร่างกายทุกส่วน เพราะการทิ้งให้อวัยวะส่วนใดของร่างกายสกปรก หรือหมักหมม ก็เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางสุขภาพได้ และโดยเฉพาะถ้าเป็น อาการคันเท้า ควรจะต้องใส่ใจกับการดูแลเท้า ดังนี้

  • ไม่ควรสวมถุงเท้าหรือรองเท้าขณะที่เท้ายังไม่แห้ง เพราะรองเท้าหรือถุงเท้าอาจเกิดการอับชื้นจากน้ำที่เท้า ทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อราหรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการคัน
  • ทำความสะอาดเท้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ปลอดภัย และไม่มีสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เพื่อป้องกันการระคายเคืองที่จะก่อให้เกิด อาการคันเท้า
  • ทำความสะอาดเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ และไม่ควรละเลยบริเวณง่ามนิ้วเท้า เพราะถ้าทำความสะอาดไม่ครบทุกจุดอาจทำให้เกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย
  • สวมถุงเท้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อให้สามารถซับเหงื่อที่เท้าได้ดี
  • โรยแป้งหรือผงที่มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อราไว้ในรองเท้า เพื่อป้องกันแบคทีเรียหรือเชื้อราในรองเท้า และป้องกันไม่ให้เท้าเหม็น
  • หลีกเลี่ยงและระมัดระวังการเหยียบตามตามแหล่งน้ำขัง โดยเฉพาะในหน้าฝน เพราะความชื้นเหล่านั้นอาจเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ทำให้เกิด อาการคันเท้า ได้
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 23/08/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา