backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ด่างขาว อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/07/2022

ด่างขาว อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ด่างขาว (Vitiligo) เป็นภาวะที่มีรอยสีขาวเกิดขึ้นบนผิวหนังแบบถาวร เกิดจากการขาดเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีในผิวหนัง โรคด่างขาว สามารถส่งผลกระทบต่อผิวหนังบริเวณใดก็ได้ แต่มักเกิดขึ้นบนใบหน้า คอ มือ และตามรอยพับของผิวหนัง

ด่างขาว คืออะไร

ด่างขาวเป็นภาวะที่มีรอยสีขาวเกิดขึ้นบนผิวหนังแบบถาวร เกิดจากการขาดเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีในผิวหนัง โรคด่างขาวสามารถส่งผลกระทบต่อผิวหนังบริเวณใดก็ได้ แต่มักเกิดขึ้นบนใบหน้า คอ มือ และตามรอยพับของผิวหนัง

บ่อยครั้งที่โรคด่างขาวสามารถส่งผลต่ออวัยวะทั้ง 2 ข้าง เช่น มือซ้ายและมือขวา หัวเข่าทั้ง 2 ข้าง ในบางรายพบว่า มีการเปลี่ยนสีในปาก หนังศีรษะ เส้นผม ขาตา หรือคิ้ว ด้วย โดยบริเวณที่ซีดของผิวจะมีความเสี่ยงต่อการถูกแดดเผา ดังนั้น จึงควรดูแลเป็นพิเศษเมื่ออยู่กลางแดด และใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดดสูง (SPF)

สถาบัน National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (NIAMS) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งข้อสังเกตว่า ความผิดปกติของผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเชื้อชาติ แม้ว่าจะเห็นได้ชัดที่สุดในกลุ่มของคนที่มีผิวคล้ำ เนื่องจากความแตกต่างระหว่างสีผิวปกติและรอยด่างขาวที่ได้รับผลกระทบจาก โรคด่างขาว นั้นเด่นชัดกว่า

ด่างขาว พบบ่อยแค่ไหน

ด่างขาวเป็นโรคที่ทำให้สูญเสียสีผิวเป็นหย่อม ๆ โดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Dermatology หรือ AAD) ระบุว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับโรคด่างขาวทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 0.2-2 แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรณีที่เกิดขึ้นมักจะได้รับการวินิจฉัยในเด็กหรือก่อนที่จะมีอายุครบ 20 ปี

อาการของโรคด่างขาว

บริเวณผิวหนังที่มักได้รับผลกระทบจากโรคด่างขาว ได้แก่

บางครั้งอาจเกิดบริเวณที่มีรากผม เช่น บนหนังศีรษะ การขาดเมลานินในผิวหนังสามารถทำให้ผมในบริเวณที่ได้รับผลกระทบเป็นสีขาวหรือเทา โรคด่างขาว มักจะเริ่มจากเป็นจุดด่างดำบนผิวหนัง แล้วจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวอย่างสมบูรณ์ โดยตรงกลางของรอยด่างอาจจะเป็นสีขาว ส่วนผิวบริเวณรอบ ๆ ผิวอาจจะเป็นสีซีด

หากมีเส้นเลือดอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณที่เป็นรอยด่างขาว รอยอาจจะเป็นสีชมพูเล็กน้อยแทนที่จะเป็นสีขาว ขอบของรอยด่างขาวอาจจะเรียบหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ บางครั้งอาจมีสีแดงและอักเสบ หรือมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล หรือรอยดำ

แม้โรคด่างขาวจะไม่ทำให้ผิวแห้งกร้าน แต่บางครั้งอาจมีอาการคันได้ สภาพของโรคด่างขาว จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนมีรอยสีขาวเล็ก ๆ เพียงเล็กน้อย แต่บางคนมีรอยสีขาวขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งรวมอยู่ในบริเวณส่วนใหญ่ของผิวหนัง ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผิวหนังจะได้รับผลกระทบมากแค่ไหน แค่รอยขาวที่เกิดขึ้นมักจะอยู่บนผิวหนังอย่างถาวร

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ควรไปพบคุณหมอ หากบริเวณผิวหนัง ผม หรือเนื้อเยื่อสูญเสียสี โรคด่างขาวไม่มีทางรักษา แต่การรักษาอาจหยุดหรือชะลอกระบวนการเปลี่ยนสี และคืนสีบางส่วนให้กับผิวได้

สาเหตุของโรคด่างขาว

โรคด่างขาว เกิดจากการขาดเม็ดสี หรือเมลานินในผิวหนัง เมลานินผลิตโดยเซลล์ผิวหนัง ที่เรียกว่า เมลาโนไซต์ (Melanocytes) มีหน้าที่ทำให้ผิวหนังมีสี ผู้ที่เป็นโรคด่างขาวเกิดจากเมลาโนไซต์ไม่สามารถสร้างเมลานินในผิวหนังได้เพียงพอ จึงก่อให้เกิดรอยด่างขาวบนผิวหนังหรือเส้นผม อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า เหตุใดเมลาโนไซต์จึงหายไปจากบริเวณผิวหนังที่ได้รับผลกระทบ

การรักษาด่างขาว

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หากโรคด่างขาว เริ่มมีอาการรุนแรง ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน หรือทำให้เสียความมั่นใจ การเข้ารับการรักษาถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด แม้ว่าจะมีทางเลือกในการรักษาเพื่อลดรอยสีขาวที่เกิดจากโรงด่างขาว แต่โรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างถาวร  สำหรับรอยด่างขาวที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก สามารถใช้ครีมอำพรางผิวเพื่อปกปิดได้ ครีมสเตียรอยด์สามารถใช้กับผิวเพื่อฟื้นฟูเม็ดสีบางส่วนได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ครีมสเตียรอยด์ในระยะยาวอาจทำให้เกิดรอยแตกลายและผิวบางลงได้

หากรักษาด้วยครีมสเตียรอยด์แล้วไม่ได้ผล อาจต้องใช้วิธีการรักษาด้วยแสงแทน การรักษาอาจช่วยคืนสภาพผิวได้ แต่ผลที่ได้มักจะไม่คงอยู่ถาวร เนื่องจากการรักษาไม่สามารถหยุดอาการลุกลามของโรคด่างขาวได้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับโรคด่างขาว

ผู้ที่เป็นโรคด่างขาวควรทากันแดดทุกวันแม้จะไม่ออกแดด และควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง พยายามอย่าให้ผิวโดนแสงแดดจัด โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นด่างขาว เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/07/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา