backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

ตาปลา ประเภท และสัญญาณบ่งบอกอันตราย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 24/10/2022

ตาปลา ประเภท และสัญญาณบ่งบอกอันตราย

ตาปลา หมายถึงตุ่มนูนเล็ก ๆ ที่เกิดจากแรงเสียดสีหรือแรงกด พบได้มากในบริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้า ตาปลาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือตาปลาแบบแข็งและตาปลาแบบนิ่ม โดยปกติมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ แต่หากอาการตาปลาเริ่มมีอาการอักเสบ เป็นหนอง หรือส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมออย่างรวดเร็ว

ตาปลา คืออะไร

ตาปลาเป็นอาการที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นบนของผิวหนังมีการหนาตัวและนูนขึ้นมาเป็นตุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากแรงกดหรือแรงเสียดสีเป็นเวลานาน ๆ มักเกิดขึ้นตรงบริเวณที่มีปุ่มกระดูกนูน โดยเฉพาะที่บริเวณฝ่าเท้าและนิ้วเท้า ตาปลาพบได้บ่อยในคนทั่วไป โดยพบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัย แต่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ส่วนใหญ่ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากอาการนี้แต่อย่างใด ยกเว้นในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าเกิดอาการตาปลาแล้วไม่รักษาให้ดี อาจเกิดการอักเสบรุนแรงได้

สัญญาณของอาการตาปลา

สัญญาณของตาปลา สามารถสังเกตได้จากอาการ ดังต่อไปนี้

  • ผิวเป็นปื้นหนาและสากด้าน
  • ผิวแห้งบริเวณที่เริ่มมีอาการ
  • ตุ่มนูนตรงกลางของบริเวณที่มีอาการ
  • อาการเจ็บและรู้สึกระคายเคืองตรงบริเวณที่มีอาการตาปลา

ประเภทของตาปลา

ตาปลาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

ตาปลา (Corns)

ลักษณะของตาปลานั้นคล้ายกับ อาการหนังหนา (Calluses) พบได้บ่อยบริเวณส่วนบนและด้านข้างของเท้า ซึ่งอาจไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากนัก อย่างไรก็ตาม ตาปลาสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดย่อย ๆ คือ

  • ตาปลาแบบแข็ง (Hard corns) ที่เกิดจะแข็งและหนาเป็นรูปวงกลมคล้ายโดนัท วงด้านนอกมีสีเหลืองและมีจุดแข็งตรงกึ่งกลางเป็นสีเทา มักเกิดบริเวณที่เท้ารับน้ำหนัก และจะเกิดอาการเจ็บหากสัมผัสโดนบริเวณที่เป็นตาปลา
  • ตาปลาแบบนิ่ม (Soft corns) จะมีพื้นผิวที่บางกว่าและนุ่มบริเวณส่วนกลาง ส่วนใหญ่พบตาปลาแบบนิ่มตามบริเวณซอกนิ้วเท้ามากกว่าบริเวณอื่น

หนังหนา

หนังหนา มีขนาดใหญ่และไม่มีขอบเขตชัดเจน มักเกิดขึ้นบริเวณมือและฝ่าเท้า ที่มีการเสียดสีอยู่บ่อยครั้ง การเดินด้วยเท้าเปล่าก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหนังหนา โดยทั่วไป หนังหนาจะมีลักษณะแห้งสาก และมีสีเหลืองหรือเทา ไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ผิวในบริเวณนั้นจะมีความรู้สึกน้อยกว่าผิวหนังธรรมดา

เมื่อใดควรพบคุณหมอ

แม้ว่าอาการตาปลาและหนังหนานั้นจะไม่รุนแรงและไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ แต่ในกรณีที่เริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบคุณหมอเพื่อขอตรวจรับการวินิจฉัยทันที

  • อาการไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะดูแลด้วยตนเองแล้วในเบื้องต้น เช่น การกำจัดผิวหนังส่วนที่หนาออกด้วยหินขัด
  • เริ่มมีอาการ ปวด บวม แดง อักเสบ และเป็นหนอง บริเวณที่มีอาการ
  • มีอาการของระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณเท้าของผู้ป่วย

หนังหนาและตาปลาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะทำให้ผิวหนังหนาและสากบริเวณผิวหนัง อาการของตาปลาและหนังหนาส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและมักไม่ต้องการการรักษาใด ๆ อย่างไรก็ตาม หากมีปัญหาในส่วนของระบบไหลเวียนเลือดและอาการแย่ลง ควรสังเกตอาการ หรือขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 24/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา