ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดติ่งเนื้อ
ปัจจัยที่อาจเพิ่มโอกาสเกิดติ่งเนื้อที่ผิวหนัง ดังนี้
- หากคนในครอบครัวมีติ่งเนื้อที่ผิวหนังอาจเพิ่มโอกาสให้บุตรหลานมีติ่งเนื้อได้เช่นกัน
- ปัญหาสุขภาพ เช่น ติดเชื้อ HPV โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ผู้ที่มีความผิดปกติของผิวหนัง เช่น กลุ่มอาการเบิร์ต-ฮ็อกก์-ดูเบ (Birt–Hogg–Dubé หรือ BHD) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดความไวต่อโรคมะเร็ง โรคไต ซีสต์ในปอด และเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง
- การเจริญเติบโตของผิวหนังที่ผิดปกติซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยติ่งเนื้อ
คุณหมออาจทำการวินิจฉัยติ่งเนื้อบนผิวหนังด้วยการสอบถามประวัติสุขภาพของผู้ป่วย พฤติกรรม หรือสภาวะที่อาจทำให้เกิดการพัฒนาของติ่งเนื้อ และตรวจสอบลักษณะภายนอกติ่งเนื้อเพื่อดูการเจริญเติบโตของติ่งเนื้อ หากคุณหมอมีข้อสงสัยหรือพบเห็นความผิดปกติของติ่งเนื้อ อาจจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อทำการทดสอบต่อไป
การรักษาติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อที่ผิวหนังมักไม่เป็นอันตรายจึงอาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่สำหรับบางคนที่กังวลเรื่องรูปลักษณ์หรือติ่งเนื้อมีอาการเจ็บปวด คุณหมออาจทำการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้
การผ่าตัด
- การรักษาด้วยความเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลว เพื่อให้ติ่งเนื้อหลุดออกมาเอง
- การรักษาด้วยความร้อน โดยใช้กระแสไฟฟ้าอิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis)
- การผ่าตัดติ่งเนื้อออกจากผิวหนัง
- การผูกติ่งเนื้อ เพื่อหยุดไม่ให้เลือดเข้าไปเลี้ยงติ่งเนื้อ ทำให้ติ่งเนื้อตายและหลุดออก
ขั้นตอนการรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นกระบวนการรักษาที่ต้องทำโดยคุณหมอเท่านั้น เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงเลือดออกมาก รอยแผลเป็น แผลอาจติดเชื้อ ติ่งเนื้ออาจกลับมาเป็นซ้ำ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดติ่งเนื้ออาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับติ่งเนื้อ
การป้องกันไม่ให้เกิดติ่งเนื้อบนผิวหนัง อาจทำได้ดังนี้
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงเครื่องประดับและเสื้อผ้าที่อาจเสียดสีกับผิวหนัง ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของผิวหนังที่ผิดปกติ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย