สาเหตุ
สาเหตุผื่นลมพิษ
สาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นลมพิษอาจมาจากถูกสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาหาร ยา พิษจากแมลงกัดต่อย แสงแดด เหงื่อ ละอองเกสร ขนสัตว์ จนทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า แมสต์เซลล์ หรือมาสต์เซลล์ (Mast cell) ปล่อยสารฮิสตามีนออกมา สารชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำให้ผิวหนังบวมแดง นูน เป็นผื่นลมพิษ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงผื่นลมพิษ
ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดผื่นลมพิษ มีดังนี้
- อาหารบางชนิด โดยเฉพาะ ถั่วลิสง ไข่ หอย กุ้ง
- การเกาผิวหนัง
- การสัมผัสกับสารเคมี เช่น น้ำยาง
- ขนสัตว์เลี้ยง
- แมลงกัดต่อย
- ละอองเกสรดอกไม้
- ยาบางชนิด เช่น เพนิซิลลิน แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides)
- สภาพอากาศร้อนหรือเย็น
- แสงแดด
- การติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไข้หวัด การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคโมโนนิวคลิโอสิส (Infectious Mononucleosis)
- เหงื่อจากการออกกำลังกาย และการสวมใส่เสื้อผ้ารัดรูปที่ส่งผลให้ระบายเหงื่อออกได้ยาก
- การสูบบุหรี่
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคผิวหนังภูมิแพ้
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยผื่นลมพิษ
คุณหมอผิวหนังอาจซักประวัติสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร ยาที่ใช้อยู่ และอาจขอเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อผิวหนัง หรืออาจทดสอบอาการแพ้บนผิวหนัง เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้สิ่งใด
การรักษาผื่นลมพิษ
ปกติแล้ว ผื่นลมพิษสามารถหายไปได้เองหรือมีอาการดีขึ้นภายใน 2 วัน แต่หากผื่นลมพิษมีอาการแย่ลง คุณหมออาจรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ยาแก้แพ้ เช่น เซทิริซีน (Cetirizine) ยาต้านฮิสทามีน (Antihistamines) เพื่อบรรเทาอาการคันและบวมจากผื่นลมพิษ
- โลชั่นหรือครีม ที่มีส่วนประกอบของเมนทอล (Menthol) เพื่อบรรเทาอาการคันชั่วคราว
- คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone) สำหรับลมพิษระดับรุนแรง เพื่อบรรเทาอาการคัน ลดการอักเสบ
- กระบอกยาฉีดอัตโนมัติ (Epinephrine หรือ EpiPen) ใช้สำหรับภาวะฉุกเฉิน หรือเมื่อเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง
- ยาโอมาลิซูแมบ (Omalizumab) เป็นยาฉีดรักษาผื่นลมพิษ
- การบำบัดด้วยแสง คุณหมอผิวหนังอาจรักษาผื่นลมพิษด้วยแสง ในกรณีที่รับประทานยาแก้แพ้แล้วไม่ได้ผล ซึ่งอาจจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดหลายครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 เดือน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันผื่นลมพิษ
วิธีป้องกันและบรรเทาอาการผื่นลมพิษ อาจมีดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย