ฝี เป็นตุ่มหนองสะสมใต้ชั้นผิวหนัง ลักษณะคล้ายสิว หากอักเสบอาจขยายใหญ่ขึ้น เมื่อสัมผัสอาจรู้สึกเจ็บ เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและภายใน หากเป็นฝีควรไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี
[embed-health-tool-bmr]
คำจำกัดความ
ฝี คืออะไร
ฝี เป็นตุ่มหนองสะสมใต้ชั้นผิวหนัง ลักษณะคล้ายสิว หากอักเสบอาจขยายใหญ่ขึ้น เมื่อสัมผัสอาจรู้สึกเจ็บ เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและภายใน ฝีสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ฝีที่ผิวหนัง เกิดใต้ผิวหนัง
- ฝีที่อวัยวะภายใน เกิดบริเวณอวัยวะภายใน เช่น โพรงหนองที่ฟันจากการติดเชื้อในเหงือกหรือฟัน ฝีในสมอง ฝีที่ก้น
ฝี พบได้บ่อยแค่ไหน
ฝีอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย หากร่างกายหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนไม่สามารถต่อสู้กับแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้
อาการ
อาการของฝี
อาการของฝีอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ตำแหน่งที่เป็น โดยอาการทั่วไปของฝี อาจมีดังนี้
- มีตุ่มหนองอักเสบบวม
- มีหนองสีขาว หรือเหลืองใต้ผิวหนัง
- เมื่อสัมผัสโดนจะรู้สึกเจ็บหรือปวด
- รู้สึกไม่สบายตัวหรือหนาวสั่น และอาจมีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากมีอาการหนาวสั่น และมีไข้สูงกว่า 38.5 องศา และบริเวณที่เป็นฝีมีอาการเจ็บ ปวด หรือมีขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดฝี
สาเหตุของการเกิดฝี คือ การอุดตันของต่อมน้ำเหลืองหรือต่อมเหงื่อใต้ผิวหนัง รวมถึงเกิดการอักเสบของรูขุมขน ทำให้เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เข้าไปในต่อมเหล่านั้น นอกจากนั้น การที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแออาจต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ลดลง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดฝี
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดฝี มีดังนี้
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- สภาพแวดล้อมที่สกปรก รวมถึงมีสุขอนามัยที่ไม่ดี
- สัมผัสกับบุคคลที่ติดเชื้อที่ผิวหนังบางประเภท
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยฝี
คุณหมออาจสอบถามถึงระยะเวลาในการเกิดฝี ชนิดของยาที่ใช้อยู่ โดยการวินิจฉัยอาจดูจากตำแหน่งที่เกิดของโรค เช่น หากอยู่ใกล้ทวารหนัก คุณหมอจะตรวจทวารหนัก หากเกิดฝีบริเวณแขนหรือขา คุณหมอจะตรวจหาต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ หรือใต้วงแขน และหากมีฝีที่ผิวหนังมากกว่า 1 ตำแหน่งอาจมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพิ่มเติม
วิธีการรักษาฝี
การรักษาฝี อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
- การประคบอุ่น ประมาณครั้งละ 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง อาจช่วยลดอาการบวม และอาจช่วยให้เส้นเลือดบริเวณที่เกิดฝีไหลเวียนได้ดีขึ้น รวมถึงอาจทำให้ฝีฝ่อได้ง่ายขึ้น
- การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยลดการติดเชื้อ และป้องกันไม่ให้ฝีแพร่กระจาย
- การผ่าตัด วิธีนี้อาจใช้กับฝีที่อวัยวะภายใน และมีขนาดใหญ่เกิดกว่าที่จะสามารถระบายฝีออกได้หมดด้วยการใช้เข็ม
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์เหล่านี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นฝีได้
- ล้างมือบ่อย ๆ
- ดูแลสุขอนามัย รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด
- หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า มีดโกน ร่วมกับผู้อื่น
- หากมีบาดแผล ควรทำสะอาดแผลให้แห้งและใช้พลาสเตอร์ปิดแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าแผล
- รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถต้านทานโรคหรือเชื้อโรคได้อย่างเป็นปกติ