backup og meta

3 ประเภทของรอยแผลเป็นจากสิว และวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

3 ประเภทของรอยแผลเป็นจากสิว และวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

รอยแผลเป็นจากสิว มักเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาสิวอักเสบอย่างรุนแรง รวมถึงการบีบสิวหรือกดสิวอย่างรุนแรง ที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อผิวหนังในบริเวณนั้นเสียหาย และกลายเป็นรอยจากสิว และหลุมสิว รอยแผนเป็นจากสิวอาจรักษาได้โดยการใช้ยา การผลัดเซลล์ผิว รวมถึงการบำรุงผิวเพื่อช่วยฟื้นฟูให้ผิวหลับมามีสุขภาพดี

[embed-health-tool-bmi]

รอยแผลเป็นจากสิว เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน

แน่นอนว่าก่อนการเกิดรอยแผลเป็นที่ขึ้นเต็มบนใบหน้าของเรา มักมากจากปัญหาของการเกิดสิวมาก่อน โดยเฉพาะกับสิวอักเสบรุนแรง ทั้งแบบตุ่มนูน และตุ่มหนอง ที่ทำให้เราจำเป็นต้องนำสิ่งสกปรกที่อยู่ใต้ตุ่มสิวนั้นออกมาด้วยการกด การบีบ จนสิ่งเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาให้เกิดรอยแผลเป็น รอยดำ รอยแดง และหลุมสิวได้

นอกจากนี้การที่ปล่อยให้ รอยแผลเป็นจากสิว ลุกลามอยู่บนใบหน้าเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังสูญเสียคอลลาเจนในการนำมาซ่อมแซมผิวหนังส่วนนั้นที่ได้รับความเสียหาย เพราะคอลลาเจนในร่างกายคนเรามักจะถูกผลิตออกมาเพื่อทำการรักษา และสร้างคอลลาเจนใหม่ทดแทน แต่ในบางครั้งก็อาจมีการผลิตน้อยเกินไปจนทำให้ไม่เพียงพอต่อการนำไปซ่อมแซมผิวเรา จนเกิดเป็นร่องรอยแผลเป็นในที่สุด

3 ประเภทของรอยแผลเป็นจากสิว

เนื่องจากสุขภาพผิวหน้าของแต่ละบุคคลค่อนข้างมีความแตกต่างกันออกไป จึงทำให้บางครั้งทำให้ชนิดสิวที่ขึ้น รวมถึงร่องรอยของแผลเป็นมีความต่างออกไปด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะประสบกับรอยแผลเป็นจากสิว 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. รอยแผลเป็นชนิดลึก (Ice Pick Scars)

เป็นรอยแผลเป็นที่มีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ อาจมีความตื้น หรือลึกร่วมด้วยได้ตามแต่ละผิวหน้า และชนิดของสิวที่เกิดขึ้น ที่สำคัญเป็นร่องรอยที่ทำให้ชั้นผิวหนังแท้ได้รับความเสียหายอย่างมาก จึงก่อให้เกิดเป็นรูลึกเสมือนถูกของมีคมเล็ก ๆ เจาะลงไป อีกทั้งยังเป็นรอยแผลเป็นที่ค่อนข้างรักษาได้ยากอีกด้วย

การรักษารอยแผลเป็นชนิดลึก

แพทย์ผิวหนังเฉพาะทางอาจจำเป็นต้องทำการตรวจสอบถึง รอยแผลเป็นจากสิว นี้อย่างละเอียดเสียก่อน เพื่อประเมินการรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับผิวหน้า ซึ่งอาจเป็นการใช้เครื่องมือบางอย่างเข้าไปตัด หรือเลาะพังผืดใต้ผิวออก เพื่อให้ผิวหนังหนังรู้สึกตื้นขึ้นมาอีกครั้ง

เนื่องด้วยเป็นรอยแผลเป็นที่ค่อนข้างรักษาได้ยาก จึงทำให้ผู้ที่ประสบกับรอยแผลเป็นนี้ต้องหมั่นเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามใบนัดของแพทย์ ไม่ควรขาดการรักษาเป็นเวลานาน หากอยากให้ใบหน้ากลับมาเรียบเนียน

2. รอยดำจากสิว

รอยแผลเป็นประเภทนี้ค่อนข้างพบได้ทั่วไป และสามารถพบได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งเป็นร่องรอยรอยที่เกิดมาจากผิวที่ได้รับผลกระทบจากสิวรุนแรง จนทำให้ผิวหลังจากสิวหายเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสีดำ สีน้ำตาล สีแดง หรือสีม่วง ตามสภาพผิวของแต่ละบุคคล

การรักษารอยดำจากสิว

อาจต้องใช้ยาลดรอยแผลตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง โดยเฉพาะยาที่มีส่วนประกอบของกรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha hydroxy acids) หรือ กรดเอเอชเอ (AHAs) เนื่องจากสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการลดรอย และปรับสีของรอยดำให้ดูจางตั้งแต่ในระดับน้อย ถึงปานกลางได้

3. รอยแผลเป็นนูน (Hypertrophic)

เป็นรอยแผลเป็นที่สังเกตได้ค่อนข้างง่าย เพราะรอยเป็นนี้จะนูนออกมาจากผิวหนัง ในบางครั้งก็อาจมีขนาดใหญ่ และนูนกว่าตุ่มสิวเดิมได้ เนื่องจากกระบวนการของการเกิดแผลเป็นนี้มาจากการผลิตคอลลาเจนที่มากเกินไป โดยไม่รู้ว่าแผลจากสิวได้ทำการปิดสนิทแล้วนั่นเอง

การรักษารอยแผลเป็นนูน

การรักษาส่วนใหญ่ที่ทางแพทย์เลือกใช้มัก เป็นการฉีดสเตียรอยด์เข้าไป เพื่อให้รอยแผลเป็นนี้มีความนิ่ม และหดตัวลง แต่ข้อเสียคืออาจจำเป็นต้องทำการฉีดอยู่บ่อยครั้งต่อเนื่องจนกว่าก้อนนูนนี้จะยุบลงตัวลงอย่างถาวร แต่สำหรับผู้ที่ไม่อยากรอนาน หรือไม่ค่อยมีเวลามากนัก อาจเลือกเป็นการรักษาแบบการเลเซอร์ หรือการผ่าตัดได้ แต่ควรอยู่ในการพิจารณา และการอนุญาตจากแพทย์ที่ทำการรักษาผิวหน้าเสียก่อน

การดูแลผิวหลังจากรักษารอยแผลเป็นจากสิว

การป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นลุกลามขึ้นมาอีกรอบนั่นก็คือ การยับยั้งสิว และการดูแลผิวหน้าอย่างถูกต้องวิธีเพื่อป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ  โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้าด้วยสารประกอบที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านสิว เช่น ซาลิไซลิก แอซิด (Salicylic Acid) เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) หรือผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำของแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางกำหนด

ที่สำคัญ ควรงดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างความระคายเคืองให้แก่ผิวหน้า เช่น ใยบวบขัดหน้า สครับขจัดเซลล์ผิว เป็นต้น อีกทั้งยังควรหมั่นทาครีมกันแดดที่มีเนื้อครีมเหมาะกับผิวหน้าอย่างเป็นประจำ เพื่อช่วยป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด ที่อาจเข้ามาทำร้ายชั้นผิวหนังให้ได้รับความเสียหาย และเกิดเป็นสิว หรือร่องรอยจุดด่างดำ ฝ้า กระ ได้ในอนาคต

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acne scars: What’s the best treatment?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/expert-answers/acne-scars/faq-20058101. Accessed April 7, 2022.

Can Acne Scars Be Removed?. https://kidshealth.org/en/teens/acne-scars.html. Accessed April 7, 2022.

Acne scarring. https://dermnetnz.org/topics/acne-scarring. Accessed April 7, 2022.

ACNE SCARS: WHO GETS AND CAUSES. https://www.aad.org/public/diseases/acne/derm-treat/scars/causes. Accessed April 7, 2022.

Acne Scars: Pathogenesis, Classification and Treatment. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2958495/. Accessed April 7, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/05/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ที่กดสิว ใช้กับสิวประเภทไหน และการรักษาสิวที่ถูกต้อง

ลดรอยสิว รอยดำ ให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น ทำได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา