backup og meta

สิวหัวช้าง อาการ สาเหตุ และการรักษา

สิวหัวช้าง อาการ สาเหตุ และการรักษา

สิวหัวช้าง เป็นสิวที่มีอาการอักเสบชนิดรุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดเชื้อแบคทีเรีย น้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้วไปอุดตับบริเวณรูขุมขน ส่งผลทำให้เกิดตุ่มแดงขนาดใหญ่และมีหนองอยู่ภายใน ลักษณะคล้ายกับสิวซีสต์ที่เกิดอยู่ใต้ผิว เมื่อสัมผัสแล้วอาจทำให้เกิดอาการเจ็บ คัน นอกจากนี้ การรักษาที่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้ 

[embed-health-tool-bmr]

สิวหัวช้าง คืออะไร

สิวหัวช้าง คือ สิวอักเสบชนิดรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการอุดตันของของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย บางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ส่งผลทำให้เกิดตุ่มแดงขนาดใหญ่และมีหนองอยู่ภายใน ลักษณะคล้ายกับสิวซีสต์ที่เกิดอยู่ใต้ผิว เมื่อสัมผัสแล้วอาจทำให้เกิดอาการเจ็บ คัน โดยสิวหัวช้างอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

อาการของสิวหัวช้าง

สิวหัวช้างเป็นสิวที่เกิดจากถุงและก้อนสิวนูนขึ้นแล้วมีเลือดและหนองเข้าไปคั่งอยู่ โดยส่วนใหญ่แล้วสิวทุกประเภทมักไม่มีอาการใด ๆ แต่อาจส่งผลทางด้านอารมณ์และความมั่นใจในตัวเอง แต่สิวหัวช้างเป็นสิวขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน อาจจะทำให้มีอาการเจ็บปวด ร่วมด้วยได้ โดยอาการของสิวหัวช้างที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • เจ็บปวดเมื่อสัมผัส รวมถึงอาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • อาการอักเสบ
  • อาการบวมแดงรอบฐานสิว
  • มีหนอง

นอกจากนี้ หากทิ้งสิวหัวช้าไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็นและความสร้างความเสียหายกับผิวได้ดังนี้

  • หลุมสิวทั้งแบบเล็ก ๆ หรือเป็นรอยลึก
  • หลุมสิวขนาดใหญ่
  • รอยขรุขระ
  • แผลเป็นที่เป็นรอยนูนแดง

สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวหัวช้าง

ยังไม่ทราบถึงปัจจัยที่แน่ชัดว่าสิวเกิดจากอะไร แต่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย น้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้วไปอุดตันในรูขุมขน นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติเป็นสิวหัวช้าง อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นสิวหัวช้างได้มากกว่าปกติ
  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน เทสโทสเทอโรน เอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น อาจไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามาก
  • การตั้งครรถ์
  • การมีประจำเดือน
  • อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน
  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome)
  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดอาจไปกระตุ้นการผลิตไขมันให้เพิ่มขึ้น
  • ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ลิเทียม กลุ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • รับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาลสูงเป็นประจำ รวมถึงของทอด ของมัน ผลิตภัณฑ์จากนม ช็อกโกแลต ซึ่งอาหารเหล่านี้อาจไปกระตุ้นการเกิดสิว
  • การเสียดสี เช่น การสวมหมวกกันน็อคที่หลวมหรือแน่นเกินไป
  • มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น ควันรถ ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิว

วิธีรักษาสิวหัวช้าง

สำหรับวิธีการรักษา สิวหัวช้า คุณหมออาจรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รับประทานยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ เช่น ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline) เพื่อช่วยควบคุมเชื้อแบคทีเรียและลดอาการอักเสบ แต่บางครั้งสิวหัวช้างอาจไม่ตอบสนองต่อยาปฎิชีวนะ เนื่องจากมีการอักเสบมาก
  • รับประทานยาคุมกำเนิด เนื่องจากสิวอาจเกิดจากประจำเดือน ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน การรับประทานยาคุมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรนเป็นส่วนประกอบอาจช่วยลดสิวได้
  • รับประทานยายาไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin) ซึ่งอาจช่วยจัดการกับสาเหตุของการเกิดสิว โดยอาจต้องรับประทานสัปดาห์ละ 3-7 เม็ด เป็นเวลา 4-6 เดือน ซึ่งอาจช่วยให้สิวหายไป แต่ยาชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ทำให้พิการได้
  • รับประทานยาสไปโรโนแลคโตน(Spironolactone) ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะ และอาจช่วยรักษาสิวหัวช้างในผู้หญิงได้
  • ใช้ครีม โลชั่น หรือเจล ที่มีส่วนผสมของเรตินอล ซึ่งเป็นวิตามินเอรูปแบบหนึ่ง ลดการอักเสบและช่วยลดรอยสิว 

วิธีป้องกันการเกิดสิว

การปรับพฤติกรรมบางอย่างอาจช่วยป้องกันการเกิดสิวหัวช้างได้ เช่น

  • ล้างหน้า อาบน้ำ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยสบู่อ่อน ๆ รวมถึงควรสระผมเป็นประจำ เพื่อลดความมันบนหนังศีรษะ
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสกับผิวหน้า เพราะมืออาจมีสิ่งสกปรก เชื้อโรค เชื้อแบคมีเรียที่อาจก่อให้เกิดสิวได้
  • โกนขนด้วยความระมัดระวัง และควรโฉลมน้ำสบู่ทำให้เส้นขนนิ่มก่อนโกน และควรโกนขนเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดมากเกินไป แต่หากต้องออกไปข้างนอกควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป รวมถึงการสวมเสื้อแขนยาว แว่นกันแดด และหมวก เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดรูป เพื่อลดการอักเสบและระคายเคืองของผิวหนัง
  • ล้างเครื่องสำอางออกทุกครั้ง เพื่อป้องกันการอุดตันของรูขุมขน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หากจะใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ หรือครีมกันแดดควรดูฉลากผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมัน และเหมาะสมกับสภาพผิว
  • ลดอาหารประเภทของมัน ของทอด (มีผลในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น)
  • ควรเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม รวมถึงผ้าเช็ดตัวที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียอยู่เสมอ อย่างน้อยทุก ๆ 1-2 สัปดาห์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cystic Acne: What Is It and How Do You Treat It?.https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/cystic-acne#1.Accessed on August 10, 2018

Cystic acne. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/multimedia/cystic-acne/img-20006234. Accessed February 16, 2022

WHAT CAN CLEAR SEVERE ACNE?. https://www.aad.org/public/diseases/acne/derm-treat/severe-acne. Accessed February 16, 2022

Cystic Acne. https://westcoderm.com/procedure/acne/types-of-acne/cystic-acne/. Accessed February 16, 2022

Acne. https://www.nhs.uk/conditions/acne/treatment/. Accessed February 16, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/11/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระดับความรุนแรงของสิว และ การรักษาสิว

สิวเสี้ยน สาเหตุ อาการ และการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 07/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา