สาเหตุที่ทำให้เกิดมิเลียขึ้นมานั้น เป็นไปได้ว่าอาจมาจากการสะสมของเคราติน (Keratin) หรือโปรตีนของชั้นผิวหนังที่ถูกสะสมไว้ จึงทำให้ปรากฏออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูนสีขาวอยู่บนผิวหน้า อีกทั้งยังอาจเป็นผลมาจากการที่คุณใช้ครีมสเตรียรอยด์ และถูกแสงแดดในระยะยาวที่มากเกินไปได้อีกด้วย
ประเภทของ มิเลีย
-
มิเลีย ในเด็กแรกเกิด (Neonatal milia)
ถือเป็นมิเลียที่สามารถพัฒนาในทารกแรกเกิด และอาจหายไปได้เองเมื่อพวกเขาโตขึ้น หรือประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังคลอด โดยส่วนใหญ่มักจะเห็นก้อนซีสต์นี้ได้ที่ใบหน้า หนังศีรษะ และลำตัวส่วนบน จากข้อมูลดังกล่าวของโรงพยาบาลเด็กทารกแรกเกิดส่วนใหญ่สามารถประสบได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์
-
มิเลียในเด็กและผู้ใหญ่ (Primary milia)
ถึงแม้อาการนี้อาจหายไปได้เอง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถปรากฏบนใบหน้าของเราได้เป็นเวลาหลายเดือน โดยมักพบได้ตามทั่วทั้งบริเวณเปลือกตา แก้ม หน้าปาก และอวัยวะเพศ
-
มิเลียทางพันธุกรรม (Milia en plaque)
ภาวะนี้ค่อนข้างมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือภูมิต้านทาน เช่น โรคลูปัสดิสรอยด์ (Discoid lupus) ที่ปรากฏอยู่ตามเปลือกตา หู แก้ม รวมไปถึงสันกราม และอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหลายเซนติเมตรด้วยกัน
-
มิเลียชนิดคันระคายเคือง (Multiple eruptive milia)
เป็น มิเลีย ที่อาจสามารถสร้างอาการคันระคายเคืองแก่ผิวหนังของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของใบหน้า แขน ลำตัว อีกทั้งยังมักปรากฏในช่วงบริเวณเดียวกัน เป็นเวลาหลายสัปดาห์
ลักษณะอาการของมิเลียที่ปรากฎเด่นชัด
คุณสามารถสังเกตลักษณะของ สิวหิน หรือ มิเลีย เหล่านี้ได้จากตุ่มสีขาว หรือสีเหลืองที่ขึ้นอยู่ตามส่วนต่าง ๆ บนใบหน้า เช่น เปลือกตา แก้ม จมูก แต่บางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นได้กับลำตัว และอวัยวะเพศได้เช่นเดียวกัน