backup og meta

แก้มแดง (Rosy cheeks) เพราะอาย หรือ ร่างกายกำลังบอกโรค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    แก้มแดง (Rosy cheeks) เพราะอาย หรือ ร่างกายกำลังบอกโรค

    หลายคนคงเคยได้ยินว่า การที่มีเลือดฝาดบนใบหน้า ซึ่งส่งผลทำให้แก้มแดงนั้น บ่งบอกถึงการมีสุขภาพที่ดี แต่ความจริงแล้วอาการ แก้มแดง ที่เกิดขึ้น ยังสามารถบ่งบอกอาการของโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างายได้อีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน

    อาการ แก้มแดง เกิดขึ้นจากอะไร?

    แก้มแดงเป็นสีกุหลาบ เกิดจากหลอดเลือดขยายตัวเพื่อให้เลือดไหลผ่านใบหน้ามากขึ้น ซึ่งอาการแก้มแดงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ท่ามกลางความหนาวเย็น เนื่องจากร่างกายพยายามทำให้ผิวอุ่นขึ้น อาการแก้มแดงยังเกิดได้จากความร้อนที่สูงเกินไปหลังจากที่ออกกำลังกาย แก้มแดงจากการดื่มเครื่องดื่มที่ร้อน  แก้มแดงจากความระส่ำระส่ายหรือเกิดความลำบากใจ ซึ่งบางคนสามารรถแก้มแดงได้ง่ายกว่าคนอื่น บางครั้งอาการแก้มแดงที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการป่วนก็เป็นได้

    แก้มแดงสามารถบ่งบอกเรื่องสุขภาพได้จริงหรือ?

    แม้แก้มแดงจะหมายถึงผู้ที่มีสุขภาพดี แต่ก็ไม่ใช่สำหรับทุกคน เพราะบางครั้งอาการแก้มแดงที่เกิดขึ้นก็กำลังบ่งบอกโรคที่เกิดขึ้นต่างๆ ดังนี้

    โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย (Rosacea)

    โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย ส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันมากกว่า 161 ล้านคน ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่าพวกเขากำลังเป็นโรคนี้ เนื่องจากอาการของมันดูเมือนหน้าแดงปกติ โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชียนั้นเกิดขึ้นจากหลอดเลือดในใบหน้าขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เลือดไหลผ่านแก้มได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังอาจมีอาการเหล่านี้ประกอบด้วย มองเห็นหลอดเลือด ตุ่มที่เต็มไปด้วยหนองที่มีลักษณะเหมือนสิว เปลือกตาบวมแดง จมูกโป่ง ผิวอบอุ่น

    สิว

    สิวเป็นสภาพผิวที่พบมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รูขุมขนบนผิวหนังอุดตัน และอาจทำให้เกิดรอยแดง ซึ่งอาจรวมถึงบริเวณใบหน้า โดยปกติแล้วสิวมักเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันดักจับแบคทีเรีย และเกิดการติดเชื้อภายใต้ผิวหนัง เมื่อแบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็จะส่งผลทำให้ผิวหนังดูแดงและบวม

    ปฏิกิริยาต่ออาหาร

    อาการเผ็ดสามารถทำให้ผิวหน้าเป็นสีแดงได้ สารประกอบในอาหารเหล่านี้สามารถกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำให้หลอดเลือดในผิวหนังขยายตัวตามความร้อน ซึ่งปฏิกิริยาเดียวกันนี้ยังสามารถทำให้เหงื่อออกได้ด้วย

    ยา

    ยาเฉพาะทางสามารถกระตุ้นอาการแดงบนใบหน้าได้ อาการนี้มักเกิดจากฮีสตามีนซึ่งเป็นสารเคมีที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายปล่อยออกมาเมื่อทำปฏิกิริยากับยา โดยยาบางชนิดอาการให้เกิดอาการหน้าแดง ยกตัวอย่างเช่น

    • ยาระงับปวด เช่น มอร์ฟีน
    • ไนอะซิน (Niacin)
    • ไนโตรกลีเซอริน (Nitroglycerin)
    • เอมิลไนไตรท์และบิวทิลไนไตรท์ (Amyl nitrite and Butyl nitrite)
    • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blocker)
    • ซิลเดนาฟิล ซิเตรต (Sildenafil citrate) ที่รู้จักกันในชื่อ ไวอากร้า ® (Viagra®)
    • ไตรแอมซิโนโลนที่ใช้ในช่องปาก(Triamcinolone)
    • ไรแฟมพิซิน(Rifampicin)

    อาการร้อนวูบวาบ

    เมื่อประจำเดือนของผู้หญิงหมดลงและการผลิตเอสโตรเจนลดลง จะส่งผลให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนประมาณ 80% เกิดอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันบนใบหน้าและร่างกาย โดยอาการจะเกิดขึ้นประมาณ 5 นาที ซึ่งอาการร้อนวูบวาบที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง แพทย์เชื่อว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอาจส่งผลต่อไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย

    ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) นี้ทำให้อุณภูมิในร่างกายร้อนเกินไปและส่งสัญญาณไปยังหลอดเลือด เพื่อทำให้หลอดเลือดขยายตัวและปล่อยเหงื่อออกมาทำให้ร่างกายเย็นลง

    ปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์

    มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่อยู่ในประเทศทางเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น จีน และ เกาหลี มักจะเกิดอาการหน้าแดงเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป

    จริงหรือไม่ แก้มแดง หมายถึงสุขภาพดี

    จากการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ใน PLoS ONE พบว่า ผู้ที่มีแก้มแดงคือผู้ที่มีสุขภาพดี ทั้งยังดูมีเสน่ห์มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วนักวิจัยยังได้ค้นพบก่อนหน้านี้ว่าในสปีชีส์อื่น ก็มีการใช้สีเพื่อบ่งบอกสุขภาพ สถานะการสืบพันธุ์ หรือแม้กระทั่งลำดับชั้นในการปกครอง บ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงของสี เช่น สีแดงของใบหน้าจะเกิดขึ้นจากหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนัง ในคนนั้นมีการแสดงออร์โมนเพศเพื่เพิ่มเส้นเลือดใต้ผิวหนังและทำให้ออกซิเจนในเลือดดีขึ้น สำหรับคนที่ออกกำลังกายมากขึ้นจะเห็นได้ว่าระดับออกซิเจนในเลือดจะสูงขึ้น ทำให้เลือดมีสีแดงขึ้น ส่วนการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรงถือเป็นสัญญาณเตือนของความเจ็บป่วย ส่งผลทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยมีสีซีด

    จากการวิจัยพบว่า สีแดงยังมีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านจิตวิทยาอีกด้วย ผู้หญิงที่สวมชุดสีแดง รวมถึงทาปากสีแดง มักจะดูน่าดึงดูด นอกจากนั้นแล้วมนุษย์ยังใช้สีแดงของเลือดบนผิวหนังในการตัดสินสุขภาพโดยรวม ผู้ที่มีเส้นเลือดใต้ผิวหนังมากจะแสดงให้เห็นถึงสุขภาพที่ดี ส่วนคนที่ป่วยจะมีหลอดเลือดบนใบหน้าน้อย และมีออกซิเจนในเลือดน้อย ทำให้ใบหน้าดูไม่สดใส

    การเปลี่ยนสีมีผลอย่างมากต่อการรับรู้ถึงสุขภาพที่ดีในใบหน้าผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นั่นจึงอาจเป็นเหตุผลที่ผู้หญิงมักจะปัดแก้มเป็นสีแดงเพื่อที่จะได้ดูสุขภาพดี รวมถึงใช้ในการดึงดูดเพศตรงข้ามอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วการเลิกสูบบุหรี่ก็จะทำให้เลือดมีออกซิเจนดีขึ้น

    เมื่อแก้มแดงควรจัดการอย่างไร?

    หากต้องการควบคุมความแดงที่เกิดขึ้นบนใบหน้า สามารถทำได้โดยการดูแลผิวดังนี้

    • ล้างหน้าทุกวันด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่อ่อนโยน  เช็ดให้แห้ง และห้ามขัดผิว
    • ลองมาสก์หน้าโดยแผ่นมาสก์หน้าที่ออกแบบมาเพื่อรักษาโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย
    • ถ้าเป็นไปได้ควรอยู่ให้พ้นแสงแดด เนื่องจากแสงแดดจะทำให้ผิวแดงมากขึ้น แต่หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30
    • หลีกเลี่ยงอาหาร เครื่องดื่ม หรือยา ที่ทำให้เกิดอาการแก้มแดง
    • ใช้รองพื้นในการปกปิดรอยแดงที่เกิดขึ้นบนใบหน้า

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา