backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สิว อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/07/2023

สิว อาการ สาเหตุ และการรักษา

สิว อาจเกิดจากการอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจทำให้ร่างกายหลั่งไขมันมากผิดปกติ และไปกระตุ้นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังจนก่อให้เกิดสิวได้ โดยบริเวณที่มักพบสิว ได้แก่ ใบหน้า ลำคอ หน้าอก ไหล่ หลัง

คำจำกัดความ

สิว คืออะไร

สิว อาจเกิดจากการอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจทำให้ร่างกายหลั่งไขมันมากผิดปกติ และไปกระตุ้นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังจนก่อให้เกิดสิวได้ โดยบริเวณที่มักพบสิว ได้แก่ ใบหน้า ลำคอ หน้าอก ไหล่ หลัง

สิวอาจจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่ผิวหนังได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสิวนั้น ๆ ดังนั้น หากทำการรักษาสิวได้เร็วเท่าไหร่ ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นได้มากขึ้น

สิวพบได้บ่อยแค่ไหน

สิวเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย โดยสิวอาจพบได้มากในช่วงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในวัยผู้ใหญ่ โปรดปรึกษาคุณหมอเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของสิว

อาการของสิวอาจขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรง โดยประเภทของสิวและอาการที่เกิดขึ้น อาจมีดังนี้

  • สิวหัวขาว อาจเกิดจากรูขุมขนอุดตัน โดยอาจไม่มีอาการใด ๆ ที่รุนแรง หากสิวไม่พัฒนากลายเป็นฝี หรือสิวอักเสบที่ทำให้เกิดหนอง
  • สิวหัวดำ เกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมัน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมถึงแบคทีเรียสะสม รวมถึงการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้เกิดการเปลี่ยนเป็นสีดำบนผิวหนัง และเป็นสิวหัวเปิด โดยอาการมักไม่ค่อยรุนแรงเหมือนสิวหัวหนอง หรือสิวประเภทอื่น
  • สิวหัวหนอง (Pustule) เป็นสิวขนาดใหญ่ มีตุ่มหนองสีขาวหรือสีเหลือง ซึ่งบริเวณผิวหนังโดยรอบสิวอาจปรากฏเป็นสีแดง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม เจ็บ คัน มีหนอง
  • สิวหัวช้าง เป็นสิวที่มีอาการอักเสบชนิดรุนแรงที่สุด ซึ่งก็คล้ายกับสิวซีสต์ที่เกิดอยู่ใต้ผิว มีหนองอยู่เต็ม มีขนาดใหญ่ และจะรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส

อาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาณต่างๆของสิวควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร

ควรไปพบหมอเมื่อไหร่

  • เมื่อพยายามรักษาด้วยตัวเองเกิน 3 เดือน แต่ยังไม่มีอาการดีขึ้น
  • เมื่อสิวไม่ยอมหายไป และอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น
  • เมื่อสิวยังคงอยู่แม้จะใช้ยาตามที่คุณหมอสั่งแล้วก็ตาม
  • เมื่อมีอาการแพ้ หรือแสดงอาการอื่น ๆ เช่น หายใจลำบาก หายใจเป็นช่วง ๆ ตาบวม หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม หลังจากใช้ยา

สาเหตุ

สาเหตุของสิว

สำหรับสาเหตุของการเกิดสิว อาจมีดังนี้

  • ไขมันส่วนเกิน
  • การอักเสบ
  • การผลัดเซลล์ผิวที่ผิดปกติทำให้เกิดรูขุมขนอุดตัน
  • แบคทีเรีย

โดยทั่วไปแล้ว ต่อมผลิตน้ำมันจะหลั่งน้ำมันเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว แต่เมื่อการผลิตน้ำมันมีมากเกินไปเป็นแหล่งอาหารของเชื้อแบคทีเรีย หรือรูขุมขนถูกปกคลุมไปด้วยเซลล์ผิวตายจึงทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน ซึ่งเมื่อรูที่เกิดการอุดตันติดเชื้อแบคทีเรีย จะเกิดอาการอักเสบ ตามมาด้วยการเกิดสิว ฉะนั้นการทราบสาเหตุการเกิดสิวอาจช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสิว

  • ฮอร์โมน การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจนในช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยหนุ่มสาวอาจก่อให้เกิดการผลิตน้ำมันมากจนเกินไป
  • ยาบางประเภท เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ แอนโดรเจน ลิเธียม
  • ประวัติครอบครัว พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดสิว หากมีคนในครอบคัวเป็นสิว ก็อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงสนการเป็นสิวได้
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน เช่น โลชั่น ครีมบำรุงผิว
  • แรงเสียดทานหรือแรงดันบนผิว การสัมผัสหรือถูผิวหนังอย่างรุนแรงด้วยวัตถุต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ มือถือ หมวกกันน็อค กระเป๋าสะพายหลัง
  • ความเครียด อาจทำให้สิวที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยสิว

คุณหมออาจวินิจฉัยการเป็นสิวได้จากการตรวจร่างกายและการซักประวัติ นอกจากนั้น คุณหมออาจทำการตรวจเชื้อโรคในสิวโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ในบางครั้งอาจต้องมีการตรวจเลือดร่วมด้วยเพิ่อหาสาเหตุและให้ยา

การรักษาสิว

การรักษาสิวขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว บางครั้งคุณหมออาจใช้วิธีในการรักษาหลายวิธีเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อดื้อยา สำหรับผิวที่มีความรุนแรงเล็กน้อย อาจใช้วิธีรักษาดังต่อไปนี้

  • ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด และคลีนเซอร์ที่อ่อนโยนต่อผิว
  • ใช้โลชั่นที่มีส่วนผสมของเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide)
  • ใช้โลชั่นที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซคลิก (Salicylic Acid)

หากอาการไม่ดีขึ้น คุณหมออาจให้ยาที่ออกฤทธิ์แรงขึ้นและอาจใช้ยาทาภายนอกร่วมด้วย เช่น

  • ใช้เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์
  • ใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาเรตินอยส์
  • ใช้กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)

สิวอักเสบอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ ดังนั้น คุณหมอจึงอาจจะต้องสั่งให้ใช้ทั้งยาสำหรับรับประทาน และยาสำหรับทาภายนอก เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นจากรอยสิว

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการกับสิว

การปรับพฤติกรรมหรือการดูแลตัวเองที่อาจช่วยรับมือสิวด้วยตัวเอง มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ดื่มน้ำให้มาก
  • ล้างหน้าให้สะอาด โดยใช้โฟมล้างหน้าสูตรอ่อนโยน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใช้ยาตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางและสิ่งที่ทำให้ผิวระคายเคือง
  • อย่าบีบสิว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/07/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา