backup og meta

โรคน้ำกัดเท้า หรือโรคฮ่องกงฟุต อาการ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษา

โรคน้ำกัดเท้า หรือโรคฮ่องกงฟุต อาการ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษา

โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s Foot) หรือโรคฮ่องกงฟุต (Hong Kong foot) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราซึ่งพบได้บ่อยเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน หรือหากต้องอยู่ในพื้นที่เปียกชื้น โรคนี้ถือเป็นโรคติดต่อ สามารถติดต่อจากการสัมผัสผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับสะเก็ดผิวหนังที่ติดอยู่ตามรองเท้า ผ้าเช็ดตัว พื้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาสุขอนามัยให้ดีอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคนี้ได้

[embed-health-tool-heart-rate]

โรคน้ำกัดเท้า คืออะไร

โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s Foot) หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคฮ่องกงฟุต (Hong Kong foot) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา พบมากในสภาพแวดล้อมที่ชื้นแฉะและอบอ้าว เช่น ห้องอาบน้ำ สระว่ายน้ำ บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง อาการของโรคน้ำกัดเท้าที่พบบ่อย อาจมีดังนี้

  • รู้สึกคัน ระคายเคือง แสบ ที่ฝ่าเท้าหรือง่ามเท้า
  • มีแผลขนาดเล็กที่ทำให้คัน
  • ผิวหนังบริเวณเท้าแห้งแตก
  • เล็บเท้าเปราะบาง เล็บเปลี่ยนสี
  • เท้ามีกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์

ปัจจัยเสี่ยงโรคน้ำกัดเท้า

แม้จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง หรือชื้นแฉะ แต่หากมีภาวะต่อไปนี้ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคน้ำกัดเท้าได้เช่นกัน

  • เป็นโรคเบาหวาน
  • มีเชื้อราที่เล็บ
  • สวมถุงเท้าหรือรองเท้าที่คับหรือรัดจนเท้าอับชื้น และเสี่ยงเกิดเชื้อรา
  • ไม่ทำความสะอาดรองเท้าบ่อย ๆ ทำให้มีคราบเหงื่อและคราบสกปรกสะสมในรองเท้า จนอาจทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้

วิธีรับมือกับโรคน้ำกัดเท้า

ผู้ที่มีอาการที่เป็นสัญญาณของโรคน้ำกัดเท้า ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยทั่วไปแล้ว คุณหมออาจสั่งจ่ายยาต้านเชื้อราให้ใช้ และแนะนำให้หยุดเกา หรือสัมผัสผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ อีกทั้งยังอาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโต และโรคน้ำกัดเท้ารุนแรงขึ้น

  • สวมรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี และพอดีเท้า ไม่คับแน่นเกินไป
  • เปลี่ยนรองเท้า หรือทำความสะอาดรองเท้าเพื่อกำจัดเชื้อราสะสม
  • หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าหรือถุงเท้าร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้เชื้อราแพร่กระจายได้
  • หลังอาบน้ำ ล้างทำความสะอาดเท้า หรือเท้าเปียกน้ำ ควรเช็ดเท้าให้แห้งเสมอ อย่าปล่อยให้เปียกชื้น โดยเฉพาะบริเวณง่ามเท้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Understanding Athlete’s Foot — the Basics. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-athletes-foot-basics. Accessed June 4, 2020

Athlete’s foot. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/athletes-foot/symptoms-causes/syc-20353841. Accessed June 4, 2020

Athlete’s foot: Causes, prevention, and treatment. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/athletes-foot-causes-prevention-and-treatment. Accessed June 4, 2020

Athlete’s foot. https://www.nhs.uk/conditions/athletes-foot/. Accessed April 25, 2022

Athlete’s foot. https://medlineplus.gov/athletesfoot.html. Accessed April 25, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

COVID Toe ผื่นแดงที่เท้า สัญญาณเตือนอีกอย่างของโควิด-19 ที่ควรสังเกต

ประโยชน์ของการแช่เท้า ด้วย ดีเกลือฝรั่ง สปาเท้าง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา