3. โรคสังคัง
โรคสังคังเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราบนผิวหนังที่เจริญเติบโตมากเกินไป หรือการติดเชื้อราจากผู้อื่นผ่านการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ทำให้เกิดอาการคัน รู้สึกแสบร้อนผิวหนัง มีผื่นแดง ผิวหนังเป็นสะเก็ด พบได้มากในบริเวณรอยพับของขาหนีบ ต้นขา
วิธีรักษาโรคสังคัง สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อราในรูปแบบครีม เจล หรือสเปรย์ และการดูแลสุขอนามัยด้วยการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น สวมเสื้อผ้าที่สะอาดระบายอากาศและเหงื่อได้ดี ป้องกันความชื้นที่อาจกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโต
4. โรคผิวหนังติดเชื้อราแคนดิดา (Candida)
โรคติดเชื้อราแคนดิดา เกิดจากเชื้อราแคนดิดาที่อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอก ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณผิวหนังที่อับชื้น เช่น หนังศีรษะ เล็บ ในช่องปาก ช่องคลอด นำไปสู่การเกิดผื่นแดง ตกสะเก็ด อาการคัน แสบร้อนผิวหนังในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
วิธีรักษาโรคผิวหนังติดเชื้อราแคนดิดา
- ไมโคนาโซล (Miconazole) คือยาในรูปแบบทาบนผิวหนังเฉพาะที่ มีการออกฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ควรทาบริเวณที่ได้รับผลกระทบวันละ 2 ครั้ง
- โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) เป็นยาในรูปแบบครีม ที่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา ควรทาบริเวณที่มีอาการวันละ 1-2 ครั้ง
5. โรคน้ำกัดเท้า
เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) เหมือนโรคกลาก โดยมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น และการสะสมของเหงื่อ ที่กระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโต พบได้บ่อยในบริเวณเท้า ซอกนิ้วเท้า ทำให้ผิวหนังเป็นสะเก็ด ผิวแตกแดง อาการคัน อาการอักเสบ แผลพุพอง แสบผิว โรคน้ำกัดเท้าอาจติดต่อไปสู่ผู้อื่นผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่เปียก เช่น บริเวณที่มีน้ำขัง พื้นห้องน้ำ และการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ถุงเท้า รองเท้า ผ้าขนหนู พรมเช็ดเท้า
วิธีรักษาโรคน้ำกัดเท้า
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย