backup og meta

โรซาเซีย อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรซาเซีย อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรซาเซีย (Rosacea) ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า สิวหน้าแดง เป็นโรคผิวหนังทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการแดงที่หน้า และมักจะทำให้เกิดรอยแผลแดง หรือแม้กระทั่งตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดการแดงที่จมูก คาง แก้มและหน้าผาก เมื่อเวลาผ่านไป ผิวหนังจะแดงขึ้น และจะเห็นหลอดเลือดได้ชัดมากขึ้น

คำจำกัดความ

โรซาเซีย คืออะไร

โรซาเซีย (Rosacea) ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า สิวหน้าแดง เป็นโรคผิวหนังทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการแดงที่หน้า และมักจะทำให้เกิดรอยแผลแดง หรือแม้กระทั่งตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดการแดงที่จมูก คาง แก้มและหน้าผาก เมื่อเวลาผ่านไป ผิวหนังจะแดงขึ้น และจะเห็นหลอดเลือดได้ชัดมากขึ้น

สัญญาณและอาการของโรคจะรุนแรงเป็นบางช่วง อาจจะหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน แล้วก็ทุเลาลง มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโรซาเซียกับการเป็นสิว การแพ้ หรืออาการของโรคผิวหนังอื่น ๆ หากไม่รีบรักษา โรคนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น

โรซาเซีย พบบ่อยแค่ไหน

โรซาเซียพบได้ทั่วไป เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงและคนผิวขาว ช่วงวัยกลางคน ชาวยุโรปเหนือและคนที่มีผิวขาวก็มักเกิดอาการของโรคโรซาเชีย โรคนี้สามารถควบคุมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคโรซาเซีย

อาการและสัญญาณของโรคโรซาเซียอาจมีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคโรซาเซียหลายคนอาจมีประวัติการแดงของผิวหนังอยู่บ่อยครั้ง อาการแดงอาจเกิดขึ้นและหายไป แต่ถือว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรค
  • อาการหน้าแดงต่อเนื่องเหมือนชาวอินเดียนแดงหรือผิวไหม้แดด และไม่ทุเลาลง
  • ผื่นหรือตุ่มหนอง ตุ่มแดง หรือสิว มักจะกลายเป็นโรคโรซาเซีย บางครั้งผื่นมีลักษณะคล้ายสิว แต่ไม่มีหัว หรืออาจทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บได้
  • อาจเห็นเส้นเลือดฝอยปรากฏที่ผิวหนังได้ชัด
  • ตาอาจเกิดการระคายเคือง น้ำตาไหลหรือแดงก่ำ ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคโรซาเซีย อาการนี้เรียกว่า โรคตาโรซาเซีย ซึ่งอาจทำให้เกิดสิวหัวช้าง เปลือกตาบวมแดง หากมีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้กระจกตาถูกทำลายและสูญเสียการมองเห็นได้
  • ความรู้สึกแสบหรือปวด หรืออาการคันอาจเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้า
  • ผิวแห้ง ผิวสากที่บริเวณตรงกลาง มักเกิดขึ้นเมื่อผิวเริ่มแห้งมาก
  • อาการผิวแดงเป็นปื้นอาจเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่เกิดโรคโรซาเซีย  แต่บริเวณรอบ ๆ ผิวหนังอาจไม่เปลี่ยนแปลง
  • ในบางกรณีของโรคโรซาเซียอาจทำให้ผิวหนาและขยายใหญ่จากจำนวนเซลล์ที่มากเกินไป อาการนี้จะเกิดบริเวณจมูก ทำให้จมูกดูใหญ่ขึ้น เรียกว่า อาการจมูกสิงโต (Rhinophyma)

สัญญาณและอาการของโรคโรซาเซียเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าหรือบริเวณใกล้เคียง เช่น คอ หน้าอก หู อาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรคควรเข้าพบคุณหมอ

ควรพบหมอเมื่อใด

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรงของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคโรซาเซีย

ปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อมอาจเป็นสาเหตุของโรคโรซาเซีย นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มร้อน และอาหาร แม้จะไม่ทำให้เกิดโรคชนิดนี้ แต่ก็อาจทำให้อาการของรุนแรงได้

นอกจากนี้ แสงแดด ความเครียด การออกกำลังกายอย่างหักโหม ซาวน่า และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยารักษาความดันโลหิตก็อาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคโรซาเซีย

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคโรซาเซีย ได้แก่

  • กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นโรคโรซาเรีย ก็อาจเพิ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคโรซาเซีย
  • เพศ เพศหญิงอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศชาย
  • เชื้อชาติ ผู้ที่มีผิวขาวอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่สีผิวปกติ
  • อายุ ผู้ที่อยู่ในวัย 30-60 ปี อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคโรซาเซีย

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคโรซาเซีย

วิธีการวินิจฉัยโรคที่อาจใช้บ่อย คือ การตรวจทางคลินิก นอกจากนี้ คุณหมออาจอ้างอิงจากประวัติทางการแพทย์ และประวัติครอบครัวในขณะที่พิจารณาอาการ เพื่อหาทางรักษาโรคโรซาเซีย ซึ่งมีอาการคล้ายกับสิว กลาก โรคลูปัสหรือโรคพุ่มพวง และโรคสะเก็ดเงิน

การรักษาโรคโรซาเซีย

หากอาการของโรคโรซาเซียไม่รุนแรง อาจรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครีม เช่น ยาเมโตรไนดาโซล (Metronidazole) ยาคลินดาไมซิน (Clindamycin) ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) หรือยาปฏิชีวะนะ โรคโรซาเซียอาจเกิดขึ้นซ้ำได้บ่อย และอาจต้องใช้ยาสม่ำเสมอเพื่อควบคุมอาการ การรักษาโดยเร็วช่วยชะลอการเติบโตของโรคได้

ในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจมีการใช้ยาหลายตัวร่วมกันในการรักษา หรือหากมีอาการจมูกบวมอย่างรุนแรง อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหรือเลเซอร์ กซึ่งารรักษาด้วยเลเซอร์ในบางครั้งใช้กับเส้นเลือดใหญ่ และอาการแดง

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 135.

Rosacea. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rosacea/basics/definition/con-20014478. Accessed July 7, 2016.

Rosacea. American Academy of Dermatology. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases- and-treatments/q- — t/rosacea. Accessed July 7, 2016.

Rosacea: MedlinePlus Medical Encyclopedia. National Library of Medicine – National Institutes of Health. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000879.htm. Accessed July 7, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/04/2022

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของผิวหนังอักเสบ มีอะไรบ้าง

วิธีธรรมชาติในการจัดการโรคผิวหนังอักเสบ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 16/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา