backup og meta

กลาก เกลื้อน ต่างกันอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์ · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/03/2023

    กลาก เกลื้อน ต่างกันอย่างไร

    หลายคนมักเข้าใจผิดว่า โรคกลากและโรคเกลื้อนเป็นโรคเดียวกัน เพราะมีลักษณะอาการและชื่อคล้ายกัน แต่ความจริง โรคกลากและเกลื้อนคือคนละโรคกัน การทราบความแตกต่างของ กลาก เกลื้อน อาจช่วยให้สังเกต แยกแยก และรับมือกับโรคทั้งสองชนิดนี้ได้ดียิ่งขึ้น

    กลาก เกลื้อน สองโรคเชื้อราบนผิวหนังที่พบบ่อย

    โรคกลากและโรคเกลื้อน เป็นโรคเชื้อราบนผิวหนังที่เกิดขึ้นบ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย โดยโรคกลาก (Ringworm) เกิดจากเชื้อราที่ผิวหนังในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) สามารถเกิดขึ้นได้ตามทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่บริเวณศีรษะ มือ เท้า จนถึงบริเวณขาหนีบ ส่งผลให้ผิวหนังผู้ป่วยมีอาการระคายเคือง มีผื่นคัน ส่วนโรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) เกิดจากเชื้อมาลาสซีเซีย (Malassezia) มักพบบริเวณแขน หน้าอก และหลัง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคัน ผิวแห้ง

    กลาก เกลื้อน ต่างกันอย่างไร

    ความแตกต่างของกลาก เกลื้อน ที่สามารถสังเกตได้ อาจมีดังต่อไปนี้

    สาเหตุ

    • โรคกลาก (Ringworm) เกิดจากเชื้อราที่ผิวหนังในกลุ่ม

      เดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes)

    • โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) เกิดจากเชื้อมาลาสซีเซีย (Malassezia)

    ปัจจัยเสี่ยง

    • โรคกลาก (Ringworm) 
  • อายุต่ำกว่า 15 ปี
  • ภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • เหงื่อออกมาก
  • อาศัยอยู่ในที่อบอุ่นและชื้น
  • โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) 
    • ผิวมัน เหงื่อออกมาก
    • สภาพภูมิอากาศ (อากาศร้อน)
    • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
    • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • บริเวณเกิดโรค

    • โรคกลาก (Ringworm) มักพบได้ทุกส่วนตามร่างกาย
    • โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) มักขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าอก หลัง

    อาการ

    • โรคกลาก (Ringworm)
      • มีอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง อาการคัน
      • ลักษณะผื่นสีขาวชมพูแดงหรือน้ำตาล เป็นลักษณะวงกลม มีขุยเป็นรอบขอบ
    • โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) 
      • มีอาการผื่นคัน ผิวแห้ง ตกสะเก็ด
      • ลักษณะเป็นวงดวงสีขาว ชมพูแดง หรือน้ำตาล โดยจะมีสีเข้มหรืออ่อนกว่าผิวหนังปกติ

    วิธีป้องกันโรคกลาก เกลื้อน

    วิธีต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกัน หรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลาก เกลื้อน ได้

    • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวมัน
    • ล้างมือเป็นประจำ
    • ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น หวี เสื้อ ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
    • หลีกเลี่ยงการออกแดดเป็นเวลานาน ๆ เพราะอาจกระตุ้นให้อาการแย่ลง และอาจทำให้มองเห็นผื่นชัดเจนยิ่งขึ้น
    • สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ เลือกผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย
    • ใช้แชมพูป้องกันเชื้อราในช่วงที่เหงื่อออกมาก หรือสภาพอากาศร้อน
    • รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายหลังจากออกแดด เหงื่อออกมาก หรือออกกำลังกาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา