ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากร่างกายส่งสัญญาณเตือนหรือมีอาการตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ
ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการแตกต่างกัน จึงควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสาเหตุและอาการของแต่ละคน
สาเหตุ
สาเหตุของ โรคหนังแข็ง
โรคหนังแข็งเป็นผลจากภาวะที่ร่างกายผลิตและสะสมคอลลาเจน (Collagen) ไว้ในเนื้อเยื่อมากเกินไป แต่ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเป็นเพราะเหตุใดกระบวนการผลิตคอลลาเจนของร่างกายถึงทำงานผิดปกติได้ แต่สันนิษฐานว่าภาวะนี้อาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการเกิดโรคหนังแข็งส่วนใหญ่ มักเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน เช่น ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางพันธุกรรม
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหนังแข็ง
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหนังแข็งมีหลายประการ เช่น
- พันธุกรรม บางคนอาจมีความผันแปรทางพันธุกรรม (Genetic variation) บางอย่างที่ทำให้เป็นโรคหนังแข็งได้ง่ายขึ้น
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาการของโรคหนังแข็งในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากการสัมผัสกับไวรัส การใช้ยารักษาโรค หรือใช้ยาเสพติดบางชนิด นอกจากนี้ การสัมผัสกับสารประกอบหรือสารเคมีอันตรายบ่อย ๆอาจมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
- ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน มีการสันนิษฐานว่า โรคหนังแข็ง เป็นผลจากปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน กล่าวคือ ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และจากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่เป็นโรคหนังแข็ง 15-20 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Disease) อื่น ๆ ด้วย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส โรคโรคโจเกรนหรือโรคโซเกร็น (Sjögren’s Syndrome)
การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคหนังแข็ง
การวินิจฉัยโรคหนังแข็งทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการของโรคสามารถเกิดได้กับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย รวมถึงอวัยวะภายใน เช่น ข้อต่อ ลำไส้ และคุณหมออาจวินิจฉัยอาการเบื้องต้นผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคลูปัสได้
หากคุณหมอสันนิษฐานว่าคนไข้อาจเป็นโรคหนังแข็ง จะทำการซักประวัติสุขภาพทั้งตัวคนไข้และสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว รวมถึงให้คนไข้เข้ารับการตรวจร่างกายและการตรวจวินิจฉัยโรค ดังต่อไปนี้
- ภาพวินิจฉัย เช่น การเอกซเรย์ การทำซีทีสแกน
- การตรวจเลือด
- การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจวินิจฉัย
- การตรวจระบบทางเดินอาหาร
- การตรวจสมรรถภาพปอด
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจ เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การรักษาโรคหนังแข็ง
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคหนังแข็งโดยเฉพาะ คุณหมอมักรักษาโรคตามอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย โดยวิธีรักษาโรคหนังแข็งที่นิยมใช้ ได้แก่
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย