โรคผิวหนังแบบอื่น

นอกเหนือจากโรคผิวหนังติดเชื้อ โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผิวหนังอักเสบที่อาจพบได้บ่อยแล้ว ยังมีโรคผิวหนังอีกมากที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และต้องการการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคผิวหนังแบบอื่น มาไว้ที่นี่ เพื่อเป็นความรู้ให้แก่ทุกคน

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนัง คัน แห้ง และการดูแลตัวเอง

โรคผิวหนัง คัน แห้ง หมายถึง โรคผิวหนังต่าง ๆ ที่่พบได้ในชีวิตประจำวัน อย่างผื่นผิวหนังอักเสบ หนังเกล็ดปลา หรือผื่นแพ้ต่อมไขมัน โดยจะมีอาการผิวแห้งและคัน ร่วมกับอาการอื่น ๆ ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคดังกล่าว ควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาอาการและลดโอกาสที่โรคจะกำเริบ [embed-health-tool-bmi] โรคผิวหนัง คันและแห้ง มีอะไรบ้าง ผิวหนัง คัน แห้ง เป็นอาการที่พบได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขาดน้ำ การสูบบุหรี่ รวมถึงเมื่อป่วยเป็นโรคบางอย่าง นอกจากนี้ ผิวหนัง คัน แห้ง ยังเป็นอาการร่วมเมื่อป่วยด้วยโรคผิวหนังดังต่อไปนี้ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบ ที่พบได้ทั่วไปในเด็ก และบางครั้งยังพบได้ในผู้ใหญ่ด้วย เมื่อเป็นโรคนี้ ผิวหนังจะแห้ง คัน ลอก เป็นผื่น และอาจมีตุ่มน้ำใสร่วมด้วย ทั้งนี้ ผื่นผิวหนังอักเสบเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ผิวหนังอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและสารเคมีต่าง ๆ รวมถึงไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด เมื่อเป็นแล้ว เซลล์ผิวหนังจะเติบโตเร็วกว่าปกติ ทำให้ผิวหนังบางส่วนเป็นปื้นหนา มีขุยสีขาวหรือสีเงิน ซึ่งแห้ง […]

สำรวจ โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้น ที่ควรระวัง มีกี่โรค อะไรบ้าง

โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้น เกิดจากการหมักหมกบริเวณอวัยวะเพศจนกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค รวมทั้งการทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้อง จนก่อให้เกิดโรคผิวหนังตามมา เนื่องจากจุดซ่อนเร้นเป็นบริเวณผิวหนังที่ค่อนข้างบอบบางและอับชื้นได้ง่าย ควรได้รับการดูแลทำความสะอาดอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาผิวหนังและโรคอื่น ๆ [embed-health-tool-ovulation] โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้น ที่พบบ่อย คืออะไร โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้นที่พบได้บ่อย และควรระวัง มีดังนี้ 1. โรคซิฟิลิส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ จนก่อให้เกิดแผลเล็ก ๆ หรือผื่นบนผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ช่องคลอด และทวารหนัก บางกรณีอาจส่งผลปรากฏเป็นผื่นขึ้นปกคลุมทั่วร่างกาย ริมฝีปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า การรักษา คุณหมออาจวินิจฉัยก่อนว่าป่วยเป็นโรคซิฟิลิสในระยะใดจึงจะสามารถแนะนำยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมสำหรับระยะของโรคและอาการได้ ส่วนใหญ่แล้วผื่นซิฟิลิสมักหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่เชื้อจะยังสะสมอยู่ในร่างกาย และโรคจะพัฒนาเข้าสู่ระยะถัดไปแล้วแสดงอาการออกมาในรูปแบบผื่นที่แตกต่างออกไป หรือในบางคนไม่มีอาการอีกเลยแต่เชื้อก็ยังคงอยู่ แม้จะรักษาโรคซิฟิลิสหายแล้ว อาการก็อาจกำเริบได้อีก โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ป้องกันตนเองจากโรคติดต่อเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2. โรคเริม เชื้อไวรัสเริมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด โดยชนิดที่ 1 คือ เริมในช่องปาก และชนิดที่ 2 คือ เริมที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือจุดซ่อนเร้น เริมทั้ง 2 ชนิดอาจได้รับมาจากสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อไวรัส ก่อให้เกิดเป็นแผลพุพองรอบ ๆ จนทำให้รู้สึกเจ็บแสบอย่างมาก การรักษา […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนังในหน้าฝน ที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง

โรคผิวหนังในหน้าฝน เกิดจากร่างกายอับชื้นเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่อาจท่วมขังกลายเป็นแหล่งเชื้อโรค รวมทั้งการที่เมื่อโดนฝนแล้วไม่รีบอาบน้ำเช็ดตัวและเป่าผมให้แห้ง ทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบนผิวหนังและเกิดโรคผิวหนังตามมา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคผิวหนังในหน้าฝน ควรทำให้ร่างกายแห้งอยู่เสมอ และหมั่นสังเกตผิวพรรณ หากพบความผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอโรคผิวหนังเพื่อรักษาต่อไป [embed-health-tool-bmi] โรคผิวหนังในหน้าฝน ที่พบได้บ่อย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ความอับชื้น เฉอะแฉะ และอบอ้าว มักตามมา จนบางครั้งส่งผลให้ผิวหนังเกิดปัญหาสุขภาพได้  โดยเฉพาะผิวหนังที่เปียกฝนและไม่ได้ทำความสะอาดทันที อาจพัฒนาเกิดเป็นโรคผิวหนังต่าง ๆ ดังนี้ 1. โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อราบางชนิด ส่วนมากมักเกิดบริเวณง่ามนิ้วเท้า ส่งผลให้ผิวหนังเปื่อย แข็งแห้งแตกออก และอาจมีเลือดออก หรือรู้สึกเจ็บร่วมด้วย โรคน้ำกัดเท้ารักษาให้หายได้ ด้วยการทาครีม พร้อมกับการรักษาความสะอาด และเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหากเปียกน้ำ เพื่อป้องกันเชื้อราจากฝน หรือสิ่งสกปรกโดยรอบที่อาจเข้าไปทำลายผิวหนัง 2. โรคกลาก โรคกลากจะก่อให้เกิดตุ่มแดง ผิวหนังหนา ตกสะเก็ด และมีอาการคัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา มักเป็นบริเวณผิวหนังที่อับชื้น หากเป็นโรคกลากควรรีบเข้ารับการรักษาจากคุณหมอด้านผิวหนัง เพื่อรับยาที่เหมาะสม และควรดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย เช่น ไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ถ้าเหงื่อเยอะควรรีบล้างทำความสะอาด ไม่ปล่อยให้หมักหมม 3. โรคเกลื้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ลักษณะอาการคือ เกิดจุดเล็ก ๆ หรือรอยด่างสีแดง หรือสีชมพู ขึ้นบริเวณแผ่นหลัง หน้าอก คอ และแขน วิธีรักษาเบื้องต้นอาจหาซื้อยาต้านเชื้อราเฉพาะที่จากร้านขายยา […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

ลูปัสที่ผิวหนัง (cutaneous lupus) สาเหตุ อาการ การรักษา

ลูปัสที่ผิวหนัง (Skin lupus หรือ cutaneous lupus) เป็นหนึ่งในโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ โรคพุ่มพวง เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการทางผิวหนังต่าง ๆ  เช่น ผื่นแดง แผลตกสะเก็ด อาการคัน ซึ่งในแต่ละคนอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน บางรายรักษาหายได้แต่ในบางรายอาจกลับมาเป็นอีก คำจำกัดความ ลูปัสที่ผิวหนัง คืออะไร ลูปัสที่ผิวหนัง (Skin lupus หรือ cutaneous lupus) เป็นหนึ่งในโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ และสารแอนติบอดี้เข้าโจมตีเซลล์ผิวหนังที่แข็งแรงภาย ทำให้เกิดเป็นอาการทางผิวหนังต่าง ๆ เช่น ผื่นแดง แผลตกสะเก็ด อาการคัน โรคลูปัสที่ผิวหนัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังต่อไปนี้ ผื่นดีสคอยด์ หรือผื่นดีแอลอี (Discoid lupus erythematosus) เป็นผื่นเรื้อรังที่มีลักษณะเป็นวงกลม มักพบในบริเวณหนังศีรษะและใบหน้า ผื่นชนิดกึ่งเฉียบพลัน (Subacute cutaneous lesions) เป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นวงแหวน พร้อมอาการแผลตกสะเก็ด มักเกิดขึ้นในบริเวณที่โดนแสงแดด เช่น แขน มือ ใบหน้า […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

ผื่นในฤดูหนาว ปัญหาผิวหนัง ที่มาพร้อมกับความเย็น

ผื่นในฤดูหนาว เป็นผื่นที่เกิดจากการที่สภาพอากาศหนาวเย็นเข้าไปลดความชุ่มชื่นของชั้นผิวหนัง จนส่งผลให้ผิวแห้ง และเป็นผดผื่น แม้ผื่นชนิดนี้อาจไม่มีอันตราย แต่ก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลและบำรุงผิวในฤดูหนาว เพราะหากละเลยการดูแลผิว นอกเหนือจากผื่นหน้านาวแล้ว ก็อาจเกิดโรคทางผิวหนังรุนแรงบางอย่างได้ ผื่นในฤดูหนาว คืออะไร ผื่นในฤดูหนาว (Winter Rash) คือ ผื่นที่เกิดจากการที่สภาพอากาศหนาวเย็นเข้าไปลดความชุ่มชื่นของชั้นผิวหนัง จนส่งผลให้ผิวแห้งและเป็นผดผื่น แม้ว่าอาจจะไม่มีอันตราย แต่ก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลและบำรุงผิวในฤดูหนาว เพราะหากละเลยการดูแลผิว นอกเหนือจากผื่นหน้านาวแล้ว ก็อาจเกิดโรคทางผิวหนังรุนแรงบางอย่างได้ดังนี้ โรซาเซีย (Rosacea) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดผดผื่น และมีตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) อาจเกิดจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นและแห้ง จนทำให้ผิวหนังเกิดเป็นผื่นแดง และขุยสีขาวลอกออกมาเป็นแผ่นหนาได้ โรคผิวหนัง (Dermatitis) คือ การอักเสบของผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการไหลเวียนของเลือดติดขัด หรือการเผลอสัมผัสกับสารอันตรายจนเกิดการติดเชื้อขึ้น ลมพิษที่เกิดจากความเย็น (Cold Urticaria) ถึงแม้ว่าภาวะนี้อาจพบได้ยาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้หากผิวหนังสัมผัสกับความเย็นจนมากเกินไป จนส่งผลให้ผิวหนังมีอาการบวมแดง คัน และผื่นขึ้น แต่ผื่นที่เกิดอาจอยู่เพียงชั่วคราวประมาณ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น อาการของผื่นหน้าหนาว นอกเหนือจากอาการผดผื่นแล้ว ผื่นหน้าหนาวก็อาจมาพร้อมกับอาการดังต่อไปนี้ อาการคัน ผิวหนังเป็นสะเก็ด แผลพุพอง ผิวหนังบวมอักเสบ ผื่น และรอยแดง หากมีอาการแทรกซ้อนอื่น […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

สิวข้าวสาร (Milium Cysts)

สิวข้าวสาร (Milium Cysts)  คือก้อนซีสต์ขนาดเล็กเท่าหัวเมล็ดข้าวสาร มีลักษณะเป็นสีขาวหรือสีเหลือง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือเคราติน (Keratin) ที่สะสมไว้ใต้ผิวหนัง จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ มักพบบริเวณใบหน้า เปลือกตาและใต้ตา [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ สิวข้าวสาร (Milium Cysts) คืออะไร สิวข้าวสาร (Milium Cysts) คือ ก้อนซีสต์ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นสีขาวหรือสีเหลือง โดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือเคราติน (Keratin) ที่สะสมไว้ใต้ผิวหนัง จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ มักพบบริเวณใบหน้า เปลือกตาและใต้ตา พบได้บ่อยเพียงใด สิวข้าวสารเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็กทารก อาการ อาการของสิวข้าวสาร (Milium Cysts) สิวข้าวสารมีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวหรือเหลือง ขึ้นเป็นกระจุก มักพบบริเวณ ใบหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา แก้ม ตามลำตัว และอวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสิวข้าวสารจะไม่มีอาการคันหรือรู้สึกเจ็บปวด แต่อาจทำให้เรารู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามอาการ สาเหตุ สาเหตุของสิวข้าวสาร (Milium Cysts) สิวข้าวสารเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหรือเคราติน (โปรตีนที่พบในผิวหนังและเส้นผม) สะสมอยู่ภายใต้ผิว จึงทำให้ปรากฎออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูน ๆ  ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของสิวข้าวสารในทารกแรกเกิด หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิวในทารก แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาวะที่ถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนและทำให้เกิดการอักเสบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสิวข้าวสาร […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

หนังแข็ง (Scleroderma) อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคหนังแข็ง หรือโรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผิวหนังแข็งและหนาขึ้น เกิดขึ้นได้กับผิวหนังบริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น มือ เท้า แขน ใบหน้า ทั้งยังส่งผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ปอด ลำไส้ หลอดเลือด หัวใจ ไต ทำงานผิดปกติเกิดเป็นปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรค หนังแข็ง คืออะไร โรคหนังแข็ง หรือโรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง หรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดหายากและเรื้อรัง ที่เกี่ยวข้องกับการหนาและแข็งตัวขึ้นของเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้จะส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แต่ในบางกรณีก็อาจส่งผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ทางเดินอาหาร ปอด ไต หัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ หากเป็นในกรณีเหล่านี้ ส่วนใหญ่อาการมักจะรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคหนังแข็งทั่วตัว (Systemic scleroderma) สามารถแยกออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ โรคหนังแข็งทั่วตัวแบบลิมิเต็ด หรือแบบจำกัด (Limited scleroderma) อาการของโรคจะพัฒนาอย่างช้า ๆ มักส่งผลกระทบกับผิวหนังบริเวณใบหน้า […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

จุดสีขาวบนใบหน้า ปัญหาผิวที่ควรรักษา

จุดสีขาวบนใบหน้า บางครั้งอาจเกิดจากสิวอักเสบ หลุมสิว แต่นอกจากสาเหตุเหล่านี้ยังอาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ เช่น กลากน้ำนม เกลื้อน โรคด่าวขาว โรคกระขาว ซึ่งอาจทำให้ใบหน้าไม่เรียบเนียน มีรอยแผล และส่งผลต่อความมั่นใจ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุของการเกิดจุดสีขาวบนใบหน้า อาจช่วยให้รักษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดมากขึ้น [embed-health-tool-bmr] จุดสีขาวบนใบหน้า ที่ควรรักษา ผิวหน้าของแต่ละคนอาจประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพผิว ซึ่งจุดสีขาวบนใบหน้าที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากสิวเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ ดังนี้ 1. กลากน้ำนม กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง โดยส้วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย กลากน้ำนมอาจส่งผลให้บริเวณผิวหนังมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงวงกลมหรือวงรี แห้ง มีขนาดตั้งแต่ 0.6-2.5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณใบหน้า ต้นแขน คอ หน้าอก หลัง วิธีรักษากลากน้ำนม อาการที่เกิดขึ้นอาจจางหายไปเองภายในไม่กี่เดือน แต่ในบางคนอาจทิ้งร่องรอยไว้เล็กน้อยนานหลายปี การรักษาอาจขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ้คุณหมออาจสั่งจ่ายยาสเตรียรอยด์ที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรืออาจแนะนำมให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและลดความแสบร้อนโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า 2. สิวหิน หรือมิเลีย สิวหิน หรือสิวข้าวสาร คือ ก้อนซีสต์มิเลีย (Milia) ขนาดเล็กที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

อาบแดด ประโยชน์และข้อควรระวัง

การ อาบแดด ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นวิธีการที่ช่วยทำให้ผิวมีสีแทน ดูสุขภาพดี ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ และอาจช่วยเพิ่มความมั่นใจให้หลาย ๆ คน แต่การอาบแดดก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะอาจส่งผลให้มีอาการแดดเผา แสบร้อนผิว ทำให้ผิวแก่ก่อนวัยอันควร และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้น จึงไม่ควรอาบแดดเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง และควรทาครีมกันแดดทุกครั้งเพื่อช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีที่อาจทำร้ายสุขภาพผิว [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของแสงแดดและการอาบแดด อีกหนึ่งสูตรความงามในปัจจุบันที่มีคนให้ความสนใจมากนั่นก็คือ การมีผิวแทน หรือการไปอาบแดดเพื่อให้มีผิวแทน เนื่องจากรสนิยมที่มองว่าผิวสีแทนนั้นเป็นผิวที่ดูสุขภาพดี เสริมเสน่ห์ให้แก่ตัวบุคคล และสร้างความมั่นใจได้ ซึ่งการอาบแดดนั้น นอกจากจะให้ข้อดีในเรื่องของความสวยความงามอย่างการมีผิวที่ดูสวยและสุขภาพแล้ว ยังดีต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ แสงแดดช่วยปรับสภาพอารมณ์และความรู้สึก ผู้ช่วยเชี่ยวด้านสุขภาพอย่าง ดร.แครีย์ บลิการ์ด (Carey Bligard, MD, UnityPoint Health) กล่าวว่า แสงแดด ช่วยในการกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นอย่างดี การออกไปรับแสงแดดจะช่วยให้รู้สึกถึงการมีพลังงาน ช่วยในการกระตุ้นระดับของฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยทำให้อารมณ์ดี ประโยชน์จากวิตามินดี วิตามินดี เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยดูแลให้กระดูกแข็งแรง นอกเหนือจากการรับประทานอาหารและอาหารเสริมทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การออกไปรับแสงแดดราว 15 นาที ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจาก แสงแดด ได้เช่นกัน ปลดปล่อยความเครียด ความเครียดเป็นปัญหาทางจิตใจที่ใคร ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญกันอยู่แล้ว การทำกิจกรรมเพื่อช่วยในการคลายเครียดนั้นมีอยู่หลายวิธี […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

รังสียูวี (UV) กับผลกระทบต่อสุขภาพผิวที่ควรระวัง

รังสียูวีหรือรังสีอัลตร้า ไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation-UV) ) คือ รังสีที่มาจากดวงอาทิตย์ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งสามารถแบ่งประเภทออกได้เป็น รังสียูวีเอ รังสียูวีบี และรังสียูวีซี ซึ่งมีความแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วร่างกายได้รับรังสียูวีเอเป็นหลัก และรังสียูวีบีบางส่วน ส่วนรังสียูวีซียังไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่ผิวโลกได้ ทั้งนี้ หากได้รับรังสียูวีมากเกินไปมักส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพผิวหนัง ควรหาวิธีป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงแดด [embed-health-tool-bmi] รังสียูวี คืออะไร ในโลกประกอบไปด้วยรังสีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น รังสีสำหรับการเอกซเรย์ รังสีแกมมา หรือแม้แต่คลื่นวิทยุเองก็นับว่าเป็นรังสีด้วยเช่นกัน สำหรับ รังสียูวี คือ รังสีที่มาจากดวงอาทิตย์ หรือรังสีที่ใช้ในการอบผิวทำให้ผิวแทน หรือการเชื่อมโลหะ และในรังสียูวีก็ยังมีการแยกประเภทออกไปได้อีกตามพลังงานที่รังสีแต่ละประเภทนั้นมีอยู่ รังสียูวีจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ยูวีเอ (UVA rays) รังสียูวีเอ เป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรังสียูวีทั้งหมด ยูวีเอ สามารถทำร้ายอายุของเซลล์ผิว และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบดีเอ็นเอในผิวหนังทางอ้อมได้อีกด้วย ปัญหาสุขภาพผิวในระยะยาวที่มาสาเหตุมาจากรังสียูวีเอคือการมีริ้วรอยและรอยเหี่ยวย่นต่าง ๆ รวมถึงเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งด้วย ยูวีบี (UVB rays) รังสียูวีบีมีพลังงานมากกว่ายูวีเอ ยูวี ประเภทนี้สามารถทำลายระบบดีเอ็นเอที่อยู่ในเซลล์ผิวได้โดยตรง เป็นสาเหตุหลักของปัญหาผิวไหม้หรือแดดเผา โดยรังสียูวีบีจัดว่าเป็นรังสีที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาผิวหนังมากที่สุด ยูวีซี (UVC rays) รังสียูวีซีเป็นรังสีที่มีพลังงานมากที่สุดในบรรดารังสียูวีทั้งหมด เป็นรังสีที่พบได้ในชั้นโอโซนและชั้นบรรยากาศต่าง […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

ไฝ (Moles) คืออะไร

ไฝ คือ กลุ่มเซลล์เม็ดสีที่ก่อตัวขึ้นบริเวณผิวหนัง มักจะมีสีน้ำตาลหรือดำ อาจปรากฏเห็นเป็นจุดเดียวหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อผ่านไปหลายปี ไฝมักใหญ่ขึ้นและอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีอย่างช้า ๆ บางครั้ง อาจมีเส้นผมโผล่ขึ้นจากไฝ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย แต่ในบางรายอาจเปลี่ยนไปเป็นมะเร็งเมลาโนได้ แต่พบได้น้อยมาก [embed-health-tool-”bmi”] คำจำกัดความ ไฝ คืออะไร ไฝ เป็นผิวหนังที่มีการเติบโตขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของเม็ดสีเมลานินใต้ชั้นผิวหนังที่มากกว่าปกติ ทำให้เกิดเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำเห็นบนผิวหนัง มีลักษณะนูน เป็นตุ่ม ไฝอาจใหญ่ขึ้นได้และอาจมีการเปลี่ยนสี ปกติแล้ว ไฝไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผิวหนัง แต่ในบางรายอาจเกิดความผิดปกติจนกลายเป็นมะเร็งบางชนิดได้ ไฝพบได้บ่อยแค่ไหน ไฝเป็นภาวะของผิวหนังที่พบได้ทั่วไป ไฝส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กจนถึงช่วงวัย 25 ปี เป็นเรื่องปกติที่จะมีจำนวนไฝอยู่ระหว่าง 10 ถึง 40 ตำแหน่งทั่วร่างกายในวัยผู้ใหญ่ อาการ อาการของการมีไฝ ไฝมักจะเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ และสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องของ สี รูปร่างและขนาด: สีและผิวสัมผัส ไฝอาจมีสีน้ำตาล สีแทน สีดำ สีแดง สีน้ำเงินหรือสีชมพู ผิวสัมผัสอาจมีความนุ่ม มีรอยย่น แบนราบ หรือนูนขึ้น อาจมีขนงอกออกมาจากไฝ รูปแบบของไฝมีความหลากหลาย ตั้งแต่ทรงรีจนไปถึงทรงกลม ไฝมักจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1/4 นิ้ว (ประมาณ 6 มิลลิเมตร) และสำหรับไฝที่ปรากฏขึ้นเมื่อตอนเกิด อาจมีขนาดใหญ่มากและปกคลุมใบหน้าร่างกายหรือแขนและขาเป็นบริเวณกว้าง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม