โรคมนุษย์หมาป่า (Hypertrichosis หรือ Werewolf Syndrome) เป็นโรคหายากที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของขนในร่างกาย โดยผู้ป่วยอาจเป็นโรคนี้แต่กำเนิด หรือเป็นตอนโตก็ได้
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง
โรคมนุษย์หมาป่า (Hypertrichosis หรือ Werewolf Syndrome) เป็นโรคหายากที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของขนในร่างกาย คือ มีขนขึ้นมากเกินไป พบได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยขนที่ขึ้นอาจปกคลุมทั่วบริเวณ หรือขึ้นเป็นหย่อม ๆ และผู้ป่วยอาจป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นตอนโตแล้วก็ได้
โรคมนุษย์หมาป่าเป็นโรคหายาก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และผู้คนมักสับสนระหว่างโรคมนุษย์หมาป่ากับภาวะขนดก (Hirsutism) แต่ข้อแตกต่างระหว่างโรคมนุษย์หมาป่ากับภาวะขนดก ก็คือ โรคมนุษย์หมาป่าเป็นโรคหายาก พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย และสามารถพบขนขึ้นดกได้ทุกบริเวณของร่างกาย แต่ภาวะขนดก จะพบในผู้หญิง และสามารถพบได้ทั่วไป โดยผู้ป่วยจะมีขนเส้นใหญ่ หยาบ ขึ้นในบริเวณที่ผู้ชายมักมีขนขึ้นแต่ผู้หญิงไม่ค่อยมี เช่น คาง
อาการทั่วไปของ โรคมนุษย์หมาป่า ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมนุษย์หมาป่าที่เป็น โดยชนิดของโรคมนุษย์หมาป่านั้นเกี่ยวข้องกับขน 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
ขนลานูโก (Lanugo hair)
เป็นเส้นขนชุดแรกที่สร้างขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ มีลักษณะคือ เป็นเส้นขนขนาดเล็ก เส้นยาว อ่อนนุ่ม มักมีสีอ่อนหรือสีจาง ทารกส่วนใหญ่จะมีขนอ่อนนี้ขึ้นตามร่างกาย โดยขนก็จะหลุดร่วงไปเองภายใน 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์หลังลืมตาดูโลก แต่ในผู้ที่เป็นโรคมนุษย์หมาป่า ขนอ่อนนี้จะยังคงอยู่ เว้นแต่จะได้รับการรักษาหรือจำกัดขนออก
ขนเวลลัส (Vellus hair)
ขนอ่อนที่เกิดขึ้นแทนขนลานูโก มีลักษณะคือ เป็นเส้นสั้น อ่อนนุ่ม รากขนสั้น (ความยาวรากขนน้อยกว่า 1/13 ของความยาวเส้นขน) ขนอ่อนนี้พบได้ในทุกบริเวณที่มีรูขุมขน ยกเว้นฝ่าเท้า หลังหู ริมฝีปาก ฝ่ามือ รอยแผลเป็น เพราะไม่มีรูขุมขน
ขนเทอร์มินัล (Terminal hair)
ลักษณะเป็นขนเส้นหนา หยาบ ยาว และมีสีเข้มที่สุดในบรรดาขนทั้งสามชนิด มักขึ้นตามใบหน้า รักแร้ ศีรษะ และอวัยวะเพศ
ชนิดของโรคมนุษย์หมาป่านั้นมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาในการเกิดโรคและประเภทของขนดังที่กล่าวไป สามารถเป็นโรคมนุษย์หมาป่าตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นภายหลังก็ได้ ที่พบได้บ่อย เช่น
Congenital hypertrichosis lanuginose
โรคมนุษย์หมาแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับขนลานูโก กล่าวคือ แทนที่ขนลานูโกจะหลุดร่วงไปหลังคลอด กลับขึ้นดกขึ้นในหลายบริเวณของร่างกายไปตลอดชีวิต
Congenital hypertrichosis terminalis
โรคมนุษย์หมาป่าแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับขนเทอร์มินัล กล่าวคือ แทนที่ทารกแรกเกิดจะมีขนอ่อนอย่างขนลานูโกหรือขนเวลลัส กลับมีขนเทอร์มินัลซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นหนา หยาบ เส้นใหญ่ และมีสีเข้มขึ้นปกคลุมร่างกาย รวมถึงบนในหน้าด้วย
Acquired hypertrichosis
โรคมนุษย์หมาป่าที่เป็นตอนโต โรคนี้อาจมีรูปแบบเดียวกับโรคมนุษย์หมาป่าแต่กำเนิด โดยสามารถพบความผิดปกติกับขนชนิดลานูโก เวลลัส หรือเทอร์มินัลก็ได้ และขนอาจขึ้นเป็นหย่อม ๆ หรือขึ้นปกคลุมทั่วร่างกายก็ได้
Naevoid hypertrichosis
เป็นโรคมนุษย์หมาป่าที่ทำให้ขนเทอร์มินัลขึ้นดกดำเป็นหย่อม ๆ หรือเฉพาะจุด เช่น ขนคิ้วขึ้นและเชื่อมต่อกันเป็นแพ เหมือนเป็นคิ้วอันเดียว
อาการอื่น ๆ ที่พบได้ทั่วไปของโรคมนุษย์หมาป่า คือ เหงือกและฟันผิดปกติ เช่น ฟันหลุด เหงือกบวม
ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคมนุษย์หมาป่าแต่กำเนิดเกิดจากสาเหตุใด แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม แต่โรคมนุษย์หมาป่าตอนโตสามารถหาสาเหตุได้ง่ายกว่า เช่น หากผู้ป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติอย่างโรคกลัวอ้วน หรืออะนอเร็กเซีย (Anorexia nervosa) ก็อาจทำให้น้ำหนักลดลงมาก จนร่างกายซูบผอม เมื่อปริมาณไขมันในร่างกายลดลง ร่างกายก็จะตอบสนองด้วยการสร้างขนลานูโกขึ้นมาปกคลุมเพื่อไม่ให้อุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไป หรือหนาวเกินไป เพราะโดนปกติแล้วไขมันจะคอยช่วยให้ร่างกายอบอุ่นนั่นเอง
โรคมนุษย์หมาป่าตอนโตอาจเกิดจากสภาวะโรคดังต่อไปนี้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมนุษย์หมาป่าอาจเพิ่มขึ้น หากมีภาวะดังต่อไปนี้
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
โรคมนุษย์หมาป่าจัดเป็นโรคที่พบได้ยากมาก หากผู้ป่วยมีรูปแบบการเจริญเติบโตของขนผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คุณหมอก็สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยง่ายว่าเป็นโรคมนุษย์หมาป่าโดยกำเนิดหรือไม่ ยิ่งหากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ ก็ยิ่งช่วยให้วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น
การวินิจฉัยบางครั้ง คุณหมออาจต้องตรวจดูตัวอย่างขน รากขน หรือเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาว่ารูปแบบการเจริญเติบโตของคนที่ผิดปกตินั้น ใช่โรคมนุษย์หมาป่าหรือไม่
หากเป็นโรคมนุษย์หมาป่าที่เป็นตอนโต แพทย์อาจต้องวินิจฉัยหลายขั้นตอนขึ้น เพื่อหาสาเหตุของโรคและวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคมนุษย์หมาป่า แต่หากคุณหมอทราบว่าโรคมนุษย์หมาป่าที่เป็น เป็นโรคแต่กำเนิดหรือโรคเกิดขึ้นตอนโต ก็อาจช่วยให้คุณหมอสามารถเลือกวิธีรักษาได้เหมาะสมขึ้น เช่น หากผู้ป่วยเป็นโรคมนุษย์หมาป่าเพราะมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS) หรือโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ แพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาภาวะดังกล่าวก่อน หรือหากเป็นโรคมนุษย์หมาป่าเพราะใช้ยารักษาโรคบางชนิด คุณหมออาจต้องสั่งให้หยุดยา ปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนยา
คุณหมออาจสั่งจ่ายยาป้องกันหรือชะลอการเจริญเติบโตของเส้นขนให้ใช้ และผู้ป่วยอาจต้องงดใช้ยาบางชนิด เช่น ไมนอกซิดิล (Minoxidil) เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นขน
โรคมนุษย์หมาป่าอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด วิตกกังวล มีความนับถือตัวเองต่ำ ไม่มั่นใจในรูปลักษณ์ของตัวเอง ยิ่งหากเป็นโรคมนุษย์หมาป่าแต่กำเนิด หรือเป็นตั้งแต่วัยเด็ก ก็อาจโดนคนอื่นล้อเลียน หรือกลั่นแกล้ง จนผู้ป่วยกลัวการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และตัดสินใจปลีกวิเวก หรืออยู่ตัวคนเดียวในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการกับโรคมนุษย์หมาป่าได้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
เนตรนภา ปะวะคัง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย