backup og meta

สะเก็ดเงินที่หัว เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์ · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

    สะเก็ดเงินที่หัว เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร

    สะเก็ดเงินที่หัว เป็นภาวะผิวหนังอักเสบที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันจนส่งผลให้เกิดอาการหนังศีรษะลอกเป็นแผ่น คล้ายกับรังแค มีอาการคัน และอาจมีอาการอักเสบจนทำให้เจ็บหนังศีรษะ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้บุคลิกภาพเสียได้อีกด้วย ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้อาการของสะเก็ดเงินกำเริบ

    สะเก็ดเงินที่หัว เกิดจากอะไร

    สะเก็ดเงินที่หัว อาจเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกัน ที่โจมตีเซลล์ผิวบนหนังศีรษะ ทำให้ผิวหนังสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาซ่อมแซมเร็วกว่าปกติ เมื่อร่างกายผลัดเซลล์ผิวเก่าไม่ทันก็อาจส่งผลให้เกิดการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่หนาตัวขึ้น นอกจากนี้ อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นก่อให้เกิดสะเก็ดเงินที่หัว ดังนี้

  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษามาลาเรีย ยาลิเทียม (Lithium)
  • สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สภาพอากาศ โดยเฉพาะอากาศหนาว และแห้ง
  • ความเครียด
  • การบาดเจ็บที่ผิวหนัง เช่น แมลงกัด ความร้อนจากแสงแดดเผาไหม้ผิวหนัง
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน เช่น เอชไอวี 
  • การติดเชื้อบนหนังศีรษะ
  • อาการสะเก็ดเงินที่หัว

    อาการสะเก็ดเงินที่หัว อาจสังเกตได้จาก

    • อาการคันหรือแสบหนังศีรษะ
    • สะเก็ดเงินบนหนังศีรษะหลุดลอก คล้ายกับรังแค
    • ผิวหนังศีรษะแดง หนา และอักเสบขึ้น
    • หนังศีรษะแห้งแตก และอาจมีเลือดออก
    • ผมร่วง

    สะเก็ดเงินที่หัว รักษาอย่างไร

    การรักษาสะเก็ดเงินที่หัว อาจทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

    • คอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroid) คือยารักษาสะเก็ดเงินที่หัว ใช้เพื่อบรรเทาอาการคันระคายเคือง ลดอาการอักเสบบวมแดงบนหนังศีรษะ ที่ มีในรูปแบบเจล ขี้ผึ้ง ครีม แชมพู หรืออาจใช้วิธีการฉีดคอร์ติโคสตเรียรอยด์บริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินโดยตรงซึ่งวิธีนี้อาจเข้ารับการรักษาจากคุณหมอเท่านั้น
    • แชมพูสระผม คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาในรูปแบบแชมพูสระผม ที่มีส่วนประกอบของ โคลเบทาซอล โพรพิโอเนต  (Clobetasol Propionate) เพื่อลดการอักเสบ บวมแดง และบรรเทาอาการคัน
    • น้ำมันดิน ในรูปแบบแชมพูที่ใช้สำหรับรักษาสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ อาจช่วยบรรเทาอาการคัน และการอักเสบ ทั้งนี้ สตรีตั้งครรภ์และอยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันดิน และเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน เพราะน้ำมันดินอาจแทรกซึมเข้าสู่ผิวและส่งผลกระทบต่อทารก เสี่ยงทำให้ทารกผิดปกติแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด ปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับปอด
    • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) แชมพูที่มีส่วนประกอบของกรดซาลิไซลิก อาจช่วยลดความหนาของสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ และช่วยให้สะเก็ดเงินนิ่มขึ้น หลุดลอกออกง่าย
    • แคลซิโปทรีน (Calcipotriene) กลุ่มยาอนุพันธุ์วิตามินดี อาจามีส่วนช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์ผิว สามารถใช้ควบคู่กับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง
    • ทาซาโรทีน (Tazarotene) ยาทาเฉพาะที่ในรูปแบบครีมที่อาจช่วยบรรเทาอาการสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ ควรทาก่อนนอนแล้วล้างออกในตอนเช้า
    • เมโธเทรกเซต (Methotrexate) คือ ยาในรูปแบบรับประทานที่ช่วยลดการผลิตเซลล์ผิว บรรเทาอาการอักเสบ ผู้ที่ใช้ยานี้ในระยะยาวอาจจำเป็นต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำ เนื่องจากยานี้อาจส่งผลกระทบกับการทำงานของตับได้
    • ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) เป็นยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้สำหรับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่หัวระดับรุนแรงก่อนใช้และระหว่างใช้ควรวัดระดับความดันโลหิต และตรวจการทำงานของไตเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตราย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก อาการแพ้ ผื่นคัน สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
    • รักษาด้วยเลเซอร์ การเลเซอร์ การบำบัดด้วยแสง อาจใช้ได้กับสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ ผิวหนังบนร่างกาย เท้า เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินในระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง เพื่อบรรเทาอาการสะเก็ดเงินหนังศีรษะให้ดีขึ้น รักษารอยแดง แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น รู้สึกร้อนหนังศีรษะ อาการคันบริเวณที่รักษาด้วยเลเซอร์ และอาจทำให้หนังศีรษะไวต่อแสงแดด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา