backup og meta

สมุนไพร บรรเทาโรคสะเก็ดเงิน และข้อควรระวัง

สมุนไพร บรรเทาโรคสะเก็ดเงิน และข้อควรระวัง

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ผิวหนัง จนทำให้เกิดผิวหนังเกิดเป็นปื้นหนาและมีสีขาวปกคลุม โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่อาจทำให้เกิดอาการคันบางแต่ก็ไม่มาก ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจมีอาการข้ออักเสบร่วมด้วย ดังนั้น การใช้  สมุนไพร บรรเทาโรคสะเก็ดเงิน อาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากร่างกายมีการสร้างเซลล์ผิวหนังที่เร็วผิดปกติมากถึง 10 เท่า จึงทำให้เซลล์ผิวหนังหนังเกิดขึ้นซ้อนกัน จนเป็นปื้นสีแดงและถูกปกคลุมด้วยเกล็ดสีขาว ซึ่งการเกิดเกล็ดแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดที่หนังศีรษะ ข้อศอก เข่า และบริเวณแผ่นหลังด้านล่าง โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ แต่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคสะเก็ดเงิน

ส่วนใหญ่โรคสะเก็ดเงินมักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปอาจเกิดขึ้นในบริเวณต่าง ๆ เพียงเล็กน้อย แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะเกิดขึ้นเป็นบริเวณที่กว้างขึ้น ซึ่งโรคสะเก็ดเงินนั้นอาจหายไปเป็นพัก ๆ และอาจกลับมาเป็นได้อีก

3 สมุนไพร บรรเทาโรคสะเก็ดเงิน

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นพืชสมุนไพรที่มีการปลูกมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีสรรพคุณในการให้ความชุ่มชื่น ให้ความเย็น และช่วยผ่อนคลาย นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังอาจช่วยฟื้นฟูผิวหนังที่เกิดความระคายเคือง จึงเป็นสมุนไพรที่อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินได้ โดยทาครีมที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้อย่างน้อยร้อยละ 0.5 โดยทาครีมอย่างน้อย 3 ครั้ง/วัน เป็นเวลาติดต่อกัน 5 วัน อย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็อาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบและอาการปวดของโรคสะเก็ดเงินได้ หลังจากใช้ไปได้ 3-4 สัปดาห์อาจพบว่า บริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินจะมีอาการแดงน้อยลง

ขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขิง ซึ่งในขมิ้นและขิงนั้นจะมีสารที่เรียกว่า เคอคูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการลดหรือบรรเทาอาการอักเสบ และยังมีส่วนช่วยในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยสารเคอคูมินที่มีในขมิ้นและขิงอาจช่วยรักษาอาการของโรคสะเก็ดเงินได้

แคปไซซิน (Capsaicin)

แคปไซซิน เป็นสารที่พบได้ทั่วไปในพริก ซึ่งเป็นสารที่ทำให้รู้สึกเผ็ดร้อนเมื่อรับประทานพริกเข้าไป นอกจากนี้ ความสามารถในการสร้างความแสบร้อนให้กับเนื้อเยื่อของแคปไซซิน อาจช่วยฟื้นฟูและบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินได้ โดยการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินเป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ อาจช่วยให้อาการของโรคสะเก็ดเงินลดลง ซึ่งในระยะแรกที่ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินอาจทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนบริเวณที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน แต่เมื่อรักษาไปได้ระยะหนึ่งอาการแสบร้อนก็จะเริ่มดีขึ้น

ข้อควรระวังในการใชัสมุนไพร บรรเทาโรคสะเก็ดเงิน

การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคสะเก็ดเงินอาจต้องมีความระมัดระวัง เพราะสารในสมุนไพรบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับตัวยาอื่น ๆ ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะใช้สมุนไพรในการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอถึงผลข้างเคียงและปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้ร่วมกัน สำหรับบางคนอาจมีอาการแพ้สารบางตัวที่อยู่ในสมุนไพร ดังนั้น ก่อนการใช้ควรทดสอบทาครีมสมุนไพรลงบริเวณที่ไม่เป็นโรคสะเก็ดเงินและสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น หากบริเวณที่ทามีรอยแดง ผื่น คัน ควรหยุดใช้ในทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Herbs and Natural Remedies. https://www.psoriasis.org/treating-psoriasis/complementary-and-alternative/herbal-remedies

Home Remedies for Psoriasis. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/psoriasis/ss/slideshow-home-remedies-for-psoriasis. Accessed April 14, 2022

Here Are the Psoriasis Home Remedies That Dermatologists Approve. https://creakyjoints.org/alternative-medicine/psoriasis-home-remedies/. Accessed April 14, 2022

Effects of topically applied capsaicin on moderate and severe psoriasis vulgaris. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3760276/. Accessed April 14, 2022

Psoriasis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/psoriasis/diagnosis-treatment/drc-20355845. Accessed April 14, 2022

Psoriasis. https://knowyourskin.britishskinfoundation.org.uk/condition/psoriasis/. Accessed April 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/04/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สะเก็ดเงิน กับเคล็ดลับเรื่องบนเตียงที่ควรรู้

เป็นโรคสะเก็ดเงิน อาหารอะไรควรกิน อะไรควรเลี่ยง มาดูกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา