กรมอนามัยโลกประมาณจำนวนผู้ที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี ไว้ที่ 240 ล้านคน โรคไวรัสตับอักเสบเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส ที่ส่งผลโดยตรงต่อตับ การติดเชื้ออาจเรื้อรังหรือเฉียบพลันได้ เนื่องจากประชากรผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีอยู่ทั่วโลก จึงมีความเชื่อเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งบางข้อก็จริง แต่บางข้อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และควรได้รับการอธิบายให้ถูกต้อง
[embed-health-tool-bmi]
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ การติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี
การรู้สึกแข็งแรงไม่ได้หมายความว่าไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ในช่วงของการติดเชื้อเฉียบพลัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่พบอาการ แต่บางคนอาจเกิดอาการเฉียบพลัน ซึ่งเกิดขึ้นนานนับสัปดาห์ เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง อุจจาระสีเข้ม อ่อนเพลียมาก ปวดท้อง คลื่นไส้
ในผู้ป่วยบางราย ไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตับเรื้อรัง ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะตับแข็ง หรือแม้แต่มะเร็งตับได้
กว่าร้อยละ 90 ของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถรักษาได้ และหายจากการติดเชื้อได้ ภายในเวลาครึ่งปี
การตรวจคัดกรองไม่จำเป็นหากไม่ได้ใช้สารเสพติด หรือไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่ครอง
ปัญหาก็คือ ทุกคนสามารถติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ตั้งครรภ์ การได้รับการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากแพทย์สามารถสั่งยารักษาให้ก่อนการคลอด ดังนั้น ทารกจะมีความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้น้อยลง แม้ว่าผู้เป็นแม่จะไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ควรให้วัคซีนป้องกันไวรัสชนิดนี้แก่ทารก เนื่องจากเด็กอาจได้รับเชื้อจากผู้ที่เข้ามาใกล้ๆ เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือพี่เลี้ยงเด็ก
มีแนวโน้มว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตั้งแต่แรกเกิด หรือระหว่างวัยเด็ก (ต่ำกว่า 6 ปี) เป็นการติดเชื้อเรื้อรัง ที่ทำให้เกิดมะเร็งหรือตับวายได้ วิธีการป้องกันการติดเชื้อ จึงมีความสำคัญมาก
การรับวัคซีนแรกเกิดหมายถึงการได้รับภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบไปตลอด
ทารก เด็กเล็ก และวัยรุ่นกว่าร้อยละ 95 เมื่อได้รับวัคซีน ภูมิคุ้มกันจะถูกสร้างเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และจะมีภูมิคุ้มกันนานถึง 20 ปี หรือตลอดชีวิต
อย่างไรก็ตาม บางรายโชคไม่ดี เมื่อได้รับวัคซีนการป้องกันเชื้อทั่วไป ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพอ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ เรียกว่าผู้ที่ตอบรับวัคซีนไม่ดี ถ้าเป็นผู้ที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อย่างเช่นผู้ที่ทำงานด้านสุขภาพ ควรตรวจระดับแอนตี้บอดีเชื้อไวรัสตับอักเสบ เพื่อดูว่ามีภูมิต้านทานหรือไม่ ถ้าภูมิต้านทานของอ่อนแอ หรือไม่แข็งแรงพอ ควรฉีดวัคซีนซ้ำอีกครั้ง หรือรับการฉีดวัคซีนกระตุ้น
การถูกเข็มทิ่มมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่าได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
หากถูกเข็มทิ่มจะทำให้เสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้มากกว่าการติดเชื้อเอชไอวี ในขณะที่ความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสเลือดที่มีเชื้อ มีประมาณร้อยละ 0.3 แต่ความเสี่ยงการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีสูงถึงร้อยละ 30 (สูงกว่าถึง 100 เท่า)