แสบร้อนกลางอก เป็นภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร และเคลื่อนตัวไปยังลำคอซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ ท้องอืด ท้องเฟ้อ และรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น หากสังเกตพบอาการแสบร้อนกลางอกควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว
[embed-health-tool-bmi]
คำจำกัดความ
แสบร้อนกลางอก คืออะไร
อาการแสบร้อนกลางอก (Acid reflux) เป็นภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร (ท่อที่เชื่อมต่อคอและกระเพาะอาหาร) และเคลื่อนตัวไปยังลำคอซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ กระเพาะอาหารมีกรดเข้มข้นที่เรียกว่ากรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) ที่ช่วยในการย่อยอาหารที่มีประสิทธิภาพและป้องกันจุลชีพที่ไม่พึงประสงค์ เช่น แบคทีเรีย ที่ช่วงต้นของกระเพาะอาหารจะมีลิ้นที่ให้อาหารเข้าไปในกระเพาะอาหารแต่ไม่ย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่อลิ้นดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก
อาการแสบร้อนกลางอกสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
แสบร้อนกลางอกมีอาการอย่างไร
อาการทั่วไปของอาการแสบร้อนกลางอกอาจได้แก่
- เรอ
- คลื่นไส้หลังรับประทานอาหาร
- ท้องขึ้นหรือท้องเฟ้อ
- มีอาการปวดและแน่นที่ช่องท้องส่วนบน
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์
สาเหตุ
สาเหตุของอาการแสบร้อนกลางอก
อาการแสบร้อนกลางอกอาจเกิดขึ้นเป็นระยะในบางช่วงของชีวิต พบได้ในคนทุกวัย โดยในบางครั้งไม่ทราบสาเหตุ ตามปกติแล้ว ปัจจัยเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์เป็นสาเหตุของภาวะดังกล่าว แต่ยังสามารถเกิดจากสาเหตุที่มักไม่สามารถป้องกันได้ สาเหตุประการหนึ่งคือความผิดปกติของกระเพาะอาหาร ที่เรียกว่าไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernia) เป็นความผิดปกติทางกายภาพ ซึ่งรูในกระบังลมทำให้กระเพาะอาหารส่วนบนเข้าไปยังช่องว่างที่หน้าอกได้ ซึ่งในบางครั้งทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD)
ปัจจัยเสี่ยงของอาการแสบร้อนกลางอก
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่สามารถทำให้เกิดอาการดังกล่าวนี้ ซึ่งได้แก่
- ไลฟ์สไตล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ อิริยาบถที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (งอตัว)
- การใช้ยาต่างๆ ยากลุ่ม calcium channel blockers ยาเธโอฟิลลีน (theophylline) อย่างเทดรัล (Tedral) ไฮโดรพรีเอด (Hydrophed) มาแรกซ์ (Marax) บรอนกิล (Bronchial) ควิบรอน (Quibron) ยากลุ่มไนเตรท (nitrates) ยาแก้แพ้ (antihistamines)
- อาหาร อาการที่มีไขมันและอาหารทอด ช็อคโกแล็ต กระเทียมและหัวหอม กาแฟ อาหารที่มีกรด อาหารเผ็ด ฯลฯ
- นิสัยการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ การรับประทานอย่างรวดเร็วหรือใกล้เวลานอน
- ภาวะสุขภาพอื่นๆ โรคอ้วน การตั้งครรภ์ เบาหวาน การมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็ว
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เสมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการแสบร้อนกลางอก
มีหลายวิธีในการวินิจฉัยกรดไหลย้อน เช่น
- การตรวจโดยการดื่มสารทึบรังสี (แป้งแบเรี่ยม) เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติเชิงโครงสร้างต่างๆ ในหลอดอาหาร
- การส่องกล้องทางการแพทย์ (Endoscopy หรือ EGD) ใช้เวลา 20 นาทีและไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด การส่องกล้องนั้น แพทย์จะใส่ท่อขนาดเล็กที่ติดตั้งกล้อง ผ่านทางปากเข้าไปยังหลอดอาหาร เพื่อตรวจพื้นผิวหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
- การตัดเนื้อเยื่อเพื่อส่งตรวจ (biopsy) ขึ้นอยู่กับผลการตรวจของวิธี EGD โดยแพทย์จะนำชิ้นส่วนขนาดเล็กของพื้นผิวหลอดอาหารมาส่องกล้องตรวจ
- การตรวจการเคลื่อนไหวของของหลอดอาหาร และการบีบรัดตัวของหูรูดหลอดอาหาร (Esophageal manometry test) ประเมินการทำงานของหลอดอาหารและใช้เวลา 20 – 30 นาที
- การตรวจวัดภาวะความเป็นกรดในหลอดอาหาร (Esophageal impedance monitoring) เป็นการวัดอัตราที่ของเหลวและก๊าซต่างๆ เคลื่อนตัวผ่านหลอดอาหาร
- การบันทึกความเป็นกรด (pH monitoring) บันทึกความเป็นกรดในหลอดอาหารในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง
การรักษาอาการแสบร้อนกลางอก
นอกเหนือจากการใช้ยาที่เป็นยากลุ่ม proton-pump inhibitors แล้ว วิธีที่ได้ผลมากที่สุดในการรักษากรดไหลย้อนคือ การหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นอาการต่างๆ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการอาการแสบร้อนกลางอก
ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติได้
- รับประทานอาหารมื้อเล็กลงบ่อครั้งมากขึ้นตลอดทั้งวัน
- เลิกสูบบุหรี่
- ยกหมอนบนเตียงนอนให้สูงกว่าปกติเล็กน้อย
- รับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ถึง 3 ชั่วโมงก่อนนอน
- ลองนอนในเก้าอี้สำหรับการงีบหลับในเวลากลางวัน
- ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่แน่นหรือเข็มขัดที่แน่น
- หากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ให้พิจารณาการออกกำลังกายหรือรับประทานอาหารที่สมดุลเพื่อลดน้ำหนัก