backup og meta

breast lump คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

breast lump คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

breast lump คือ เนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มักไม่พัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม และเนื้องอกบางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่ติดตามอาการทุก 6 เดือนหรือทุกปี โดยก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงจะมีลักษณะเรียบกลมหรือเป็นรูปไข่มีขอบเขตชัดเจน เมื่อสัมผัสอาจกลิ้งไปมาได้ ส่วนใหญ่อาจพบเพียงก้อนเดียว แต่ในบางรายก็อาจพบได้หลายก้อน

คำจำกัดความ

breast lump คือ อะไร

breast lump คือ ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงหรือเนื้องอกในเต้านมชนิดปกติ และอาจเป๋นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มักไม่พัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม และเนื้องอกบางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่ติดตามอาการทุก 6 เดือนหรือทุกปี โดยก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงจะมีลักษณะเรียบกลมหรือเป็นรูปไข่มีขอบเขตชัดเจน เมื่อสัมผัสอาจกลิ้งไปมาได้ ส่วนใหญ่อาจพบเพียงก้อนเดียว แต่ในบางรายก็อาจพบได้หลายก้อน

โดยประเภทของก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง อาจมีดังนี้

  • ไฟโบรซีสติก (Fibrocystic breast) คือ กลุ่มเนื้อเยื่อที่มารวมตัวกันเป็นก้อน หรือมีลักษณะคล้ายกับเชือก คุณหมอจะเรียกว่า เป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เต้านมนอดูล่า (nodular) หรือแกลนดูล่า (glandular)
  • ซีสต์ที่เต้านม (Breast Cyst) คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นในเต้านม ซีสต์ที่เต้านมนี้อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่
  • ไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma) คือ เนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งที่เกิดขึ้นในเต้านม มักพบได้ในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 30 ปี เนื้องอกนี้ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเต้านมสโตรมัล (Stromal) หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ก้อนเนื้อชนิดไฟโบรอะดีโนมาสามารถเกิดขึ้นได้ที่เต้านมทั้งหนึ่งหรือสองข้าง
  • เนื้องอกไม่ร้ายในท่อน้ำนม (Intraductal Papillomas) คือ ก้อนเล็ก ๆ คล้ายหูดที่โตในด้านในท่อน้ำนมใกล้กับหัวนม มักพบในผู้หญิงที่อายุ 45-50 ปี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกที่หัวนม

ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง พบได้บ่อยแค่ไหน

ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงนั้นเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยมักพบในผู้หญิงที่อายุ 45-50 ปี โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ breast lump

สำหรับอาการทั่วไปของอาการของก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง อาจมีดังนี้

  • มีก้อนเนื้อในเต้านม
  • อาจรู้สึกไม่สบาย เช่น รู้สึกหนัก มีอาการกดเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน
  • ก้อนในเต้านมหรือบริเวณผิวหนาขึ้น ซึ่งมักจะกลมกลืนไปกับเนื้อเยื่อรอบเต้านม
  • ปวดเต้านม และอาจรู้สึกเจ็บเมื่อกด
  • ก้อนในเต้านมที่มีขนาดขึ้น ๆ ลง ๆ ตามการมีประจำเดือน
  • สารคัดหลั่งผิดปกติจากหัวนม (Nipple Discharge) เป็นสีเขียวหรือสีคล้ำ มีเลือดหลั่งออกมา โดยไม่ต้องกดหรือบีบ
  • มีการเปลี่ยนแปลงที่เต้านมคล้ายกันทั้ง 2 ข้าง
  • ปวดเต้านมที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน หรือมีก้อนตามรอบการตกไข่ (Ovulation) ก่อนมีประจำเดือน
  • มีก้อนแข็ง กลม คล้ายยางที่เคลื่อนที่ได้ในเต้านม

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรพบคุณหมอเมื่อใด

หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณเต้านม ควรไปพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัน และรับการรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุ

สาเหตุของ breast lump

ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง ประเภทฟโบรอะดีโนมา ซีสต์ที่เต้านม และเนื้องอกชนิดไม่ใช่เนื้อร้ายในท่อน้ำนม อย่างไรก็ตาม การเกิดก้อนเนื้อประเภทไฟโบรซีสติค อาจมีสาเหตุมาจากการถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ breast lump

โปรดปรึกษากับคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย breast lump

คุณหมอจะให้นั่งหรือนอนราบลง และตรวจเต้านมเพื่อหาลักษณะที่ผิดปกติ เช่น หัวนมที่บุ๋มเข้าไปด้านใน หัวนมบอด มีก้อนเนื้อบริเวณเต้านม นอกจากนี้ คุณหมอยังอาจตรวจหารอยบุ๋ม ผิวที่หนาขึ้น รอยปื้นแดง หรือผิวรอบหน้าอกที่ตึงขึ้น รวมถึงบีบหัวนมเพื่อดูว่ามีสารคัดหลั่งหรือไม่ และตรวจที่รักแร้เพื่อดูว่าต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่

คุณหมออาจตรวจเต้านมและรักแร้ โดยให้เปลี่ยนท่าไปมา เช่น นั่ง กดมือทั้ง 2 ข้างที่บริเวณหน้าผาก ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อทรวงอกหดเกร็ง และอาจมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เต้านมได้ชัดขึ้น

คุณหมออาจให้คุณทบทวนเทคนิคการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ขณะที่กำลังตรวจ โดยเทคนิคการตรวจเต้านมด้วยตนเองและที่แพทย์ตรวจให้นั้นคล้าย ๆ กัน ดังนี้

การตรวจด้วยการถ่ายภาพ

  • ตรวจหาความผิดปกติของเต้านม ก่อนที่จะเป็นที่สังเกต เรียกว่า การสแกนหามะเร็งเต้านม
  • ประเมินค่าความผิดปกติที่บ่งชี้ได้แล้ว เช่น ก้อนในเต้านม ที่พบขณะที่คุณหมอกำลังตรวจร่างกาย

การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammography)

เป็นการการเอ็กซเรย์ที่เต้านมทั้ง 2 ข้างเพื่อหาความผิดปกติ โดยใช้การฉายรังสีในปริมาณน้อย ความผิดปกติที่ตรวจได้ด้วยเครื่องแมมโมแกรม ราว 10%-15% เป็นผลมาจากโรคมะเร็ง

นอกจากนี้ การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมในผู้หญิงสูงอายุมักจะถูกต้องกว่า เนื่องจากเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นปริมาณของเนื้อเยื่อไขมันจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้แยกเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ออกจากเนื้อเยื่อไขมันได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อในเต้านมแบบอื่น

การทำอัลตร้าซาวด์

การทำอัลตร้าซาวด์อาจช่วยให้ข้อมูลความผิดปกติได้มากกว่าการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม เช่น อัลตราซานด์สามารถบอกได้ว่าก้อนเนื้อเป็นก้อนแข็งหรือว่ามีของเหลว โดยก้อนเนื้อเป็นก้อนแข็ง หรือซีสต์มักไม่ค่อยกลายเป็นมะเร็ง การทำอัลตราซาวด์ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณหมอนำเข็มเข้าไปเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ผิดปกติได้ด้วย

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI)

สามารถทำพร้อม ๆ กับการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม เพื่อสแกนหาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น หากมีการกลายพันธ์ุของยีนส์สำหรับมะเร็งเต้านม (BRCA Gene) หลังจากการวินิจฉัยโรคมะเร้งเต้านม มักใช้การสแกนเอ็มอาร์ไอเพื่อระบุต่อมน้ำเหลืองที่ผิดปกติและบ่งชี้ขนาดและปริมาณของเนื้องอก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยให้คุณหมอวางแผนในการผ่าตัดหรือรักษาได้

การรักษา breast lump

  • ก้อนเนื้อในเต้านมประเภทไฟโบรซีสติคไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่คุณหมออาจแนะนำวิธีการบรรเทาอาการเมื่อกดเจ็บในแต่ละเดือน
  • ซีสต์ธรรมดาอาจรักษาได้ด้วยการเจาะดูดเซลล์ (Fine Needle Aspiration) โดยคุณหมอจะใช้เข็มเล็ก ๆ ดูดเอาเซลล์บางส่วนออกมาจากก้อนเนื้อในเต้านม โดยไม่ต้องผ่าตัด ถ้าก้อนเนื้อนั้นเป็นซีสต์ ก็จะสามารถดูดเอาน้ำในก้อนเนื้อออกมา เพื่อทำให้ซีสต์ยุบตัวลง ซีสต์ยังอาจหายไปได้เองด้วย ดังนั้น คุณหมออาจจะใช้วิธีรอก่อนที่จะพยายามกำจัดมัน
  • ก้อนเนื้อในเต้านมประเภทไฟโบรอะดีโนมา และเนื้องอกชนิดไม่ใช่เนื้อร้ายในท่อน้ำนม อาจกำจัดได้ด้วยการผ่าตัด

การจะระบุว่าก้อนเนื้อที่พบเป็นก้อนเนื้อที่เกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อไขมันหรือไม่นั้นถือเป็นเรื่องทำได้ยาก คุณหมออาจต้องตรวจชิ้นเนื้อที่ผิดปกติ โดยวิธีใช้เข็มเจาะเข้าที่เนื้อเยื่อ โดยส่วนใหญ่อาการนี้ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากก้อนเนื้อนี้สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการกับก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลงต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงได้

  • ใส่เสื้อชั้นในที่นุ่มและรองรับหน้าอกได้ดี เช่น สปอร์ตบรา
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen)
  • ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Breast Cysts. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/breast-cysts. Accessed November 27, 2017.

Overview of Breast Disorders. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/overview-of-breast-disorders. Accessed November 27, 2017.

Fibroadenomas of the Breast. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/fibroadenomas-of-the-breast. Accessed November 27, 2017.

Fibrocystic Changes of the Breast. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/fibrocystic-changes-of-the-breast. Accessed November 27, 2017.

Fibrocystic breasts. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fibrocystic-breasts/symptoms-causes/syc-20350438. Accessed November 27, 2017.

Benign Breast Lumps. https://www.webmd.com/breast-cancer/benign-breast-lumps#1. Accessed November 27, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/09/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยารักษาความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ?

ไลฟ์สไตล์อันตรายที่อาจนำไปสู่ โรคมะเร็งเต้านม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา