backup og meta

ความดัน คืออะไร พร้อมวิธีอ่านค่าความดันเบื้องต้น

ความดัน คืออะไร พร้อมวิธีอ่านค่าความดันเบื้องต้น

ความดัน หรือความดันโลหิต คือ ค่าความดันของกระแสเลือดที่กระทบผนังหลอดเลือดแดง  เนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ทั้งนี้ หากมีค่าความดันโลหิตสูง หรือค่าความดันโลหิตต่ำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ ดังนั้น การรู้วิธีการอ่านค่าความดันเบื้องต้นอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันต่ำหรือสูงและรักษาระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

[embed-health-tool-heart-rate]

ความดัน คืออะไร

ความดัน คือ ค่าความดันของกระแสเลือดที่กระทบผนังหลอดเลือดแดงเนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ค่า ได้แก่

  • ค่าความดันโลหิตตัวบน หรือตัวเลขค่าบน (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวหรือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
  • ค่าความดันโลหิตตัวล่าง หรือตัวเลขค่าล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือ ค่าแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

วิธีอ่านค่าความดันเบื้องต้น

การอ่านค่าความดันโลหิต โดยปกติ จะอ่านจากตัวเลขค่าบนก่อนแล้วจึงตามด้วยตัวเลขค่าล่าง ระดับความดันโลหิต อาจแบ่งได้ดังนี้

  • ค่าความดันต่ำ ตัวเลขค่าบนต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท (90/60 มิลลิเมตรปรอท)
  • ความดันปกติ ตัวเลขค่าบนต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท (120/80 มิลลิเมตรปรอท)
  • ความดันเริ่มสูง ตัวเลขค่าบน 120-129 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท (120-129/80 มิลลิเมตรปรอท)
  • ความดันสูงขั้นต้น ตัวเลขค่าบน 130-139 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่าง 80-89 มิลลิเมตรปรอท (130-139/80-89 มิลลิเมตรปรอท)
  • ความดันสูง ตัวเลขค่าบนสูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างสูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
  • ความดันสูงระดับอันตราย ตัวเลขค่าบนสูงกว่า 180 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขค่าล่างสูงกว่า 110-120 มิลลิเมตรปรอท (180/110 มิลลิเมตรปรอท) ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันผิดปกติ

ค่าความดันผิดปกติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจมีอาการแตกต่างกันดังต่อไปนี้

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงในระยะต้น อาจมักไม่ค่อยมีอาการ

  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • เวียนศีรษะ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • เลือดกำเดาไหล
  • แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ตาพร่า มัว
  • ปัสสาวะมีเลือดปน

หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากอาจเสี่ยงเป็นโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต รวมถึงปัญหาทางด้านสายตา

ความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำ อาจมีอาการดังนี้

  • วิงเวียนศีรษะ
  • หน้ามืด เป็นลม
  • คลื่นไส้
  • ตาพร่ามัว
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ไม่ค่อยมีสมาธิ
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจถี่ขึ้น
  • ช็อก ซึ่งเป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ผู้ที่มีความดันผิดปกติ ควรหมั่นไปพบคุณหมอตามนัด เพื่อติดตามอาการและหาทางรักษาให้ค่าความดันกลับมาเป็นปกติ

วิธีป้องกันค่าความดันผิดปกติ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำได้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ทั้งนี้ เนื่องจากการบริโภคโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย อาจส่งผลทำให้ไตเสื่อมและทำงานได้น้อยลง ไตจึงขับโซเดียมได้ไม่ดี จนอาจทำให้มีเกลือและน้ำคั่งในอวัยวะต่าง ๆ และส่งผลให้ความดันโลหิตสูง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และรวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะอาจส่งผลต่อระดับความดันโลหิตได้ ทั้งนี้ ควรดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจส่งผลทำให้ความดันโลหิตต่ำได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเป็นความดันสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ทั้งยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมด้วยรวมถึงส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ อย่างน้อย 30 นาที/วัน หรือ 150 นาที/สัปดาห์ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง/วันจัดการกับความเครียด โดยอาจหางานอดิเรกทำ เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง ดูหนัง เนื่องจากความเครียดอาจส่งผลทำให้ความดันขึ้นได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Low blood pressure (hypotension). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20355465. Accessed April 5, 2022.

Understanding Low Blood Pressure — the Basics. https://www.webmd.com/heart/understanding-low-blood-pressure-basics. Accessed April 5, 2022.

High Blood Pressure. https://medlineplus.gov/highbloodpressure.html. Accessed April 5, 2022.

High Blood Pressure Symptoms and Causes. https://www.cdc.gov/bloodpressure/about.htm. Accessed April 5, 2022.

Understanding Blood Pressure Readings. https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure/understanding-blood-pressure-readings. Accessed April 5, 2022.

Symptoms of High Blood Pressure. https://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/guide/hypertension-symptoms-high-blood-pressure. Accessed April 5, 2022.

High Blood Pressure and Older Adults. https://www.nia.nih.gov/health/high-blood-pressure-and-older-adults. Accessed April 5, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/04/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์สุรพงษ์ หล่อสมฤดี

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง

ค่าความดันเลือดปกติ ของแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ในเกณฑ์ใด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์สุรพงษ์ หล่อสมฤดี

สุขภาพ · คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 24/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา