backup og meta

กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือ?

    กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือไม่ เป็นปัญหาที่หลายคนให้ความสนใจ และหลีกเลี่ยงไม่ยอมกินกุ้ง แม้ว่ากุ้งจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ที่ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ

    กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง ได้จริงหรือ?

    กระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) ระบุว่ากุ้ง ในปริมาณ 100 กรัม อาจมีคอเลสเตอรอลอยู่ถึง 189 มิลลิกรัม และได้ให้คำแนะนำในการบริโภคว่า ร่างกายควรได้รับคอเลสเตอรอลให้น้อยที่สุด โดยอาจไม่เกิน 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันเชื่อว่าควรรับประทานอาหารที่มีไลโปโปรตีน หรือไขมันชนิดดี (HDL) เนื่องจากไขมันดีอาจเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ที่อยู่ในร่างกาย จนเกิดความสมดุลทางสุขภาพ

    มีงานวิจัยมากมายที่ทำการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการ กินกุ้ง และระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ในปีพ.ศ. 2539 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ พบว่า การกินกุ้งทำให้ไขมันชนิดไม่ดี หรือคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยที่พบว่า การกินกุ้งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวหัวใจได้เช่นกัน

    อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ควรรับประทานกุ้งในปริมาณที่เหมาะสม เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รวมไปถึงลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกบุหรี่อย่างถาวร เนื่องจากพฤติกรรมนี้สามารถสร้างความเสียหายให้แก่หลอดเลือด ที่เชื่อมโยงกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย

    กินกุ้ง อย่างไร ไม่ทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่ม

    ปัจจัยด้านการปรุงอาหารและวัตถุดิบที่เลือกใช้ ม่ว่าจะเป็นน้ำมัน เนย ซอสครีม เกลือ อาจส่งผลให้การ กินกุ้ง เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลสูงได้ หากต้องการจะให้กินกุ้งได้อย่างสบายใจไร้กังวล อาจเลือกใช้เทคนิคการปรุงอาหารด้วยการต้ม อบ ย่าง นึ่ง แทนการทอด รวมถึงควรเลือกวัตถุดิบการปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ที่สำคัญในแต่ละมื้อควรประกอบด้วยผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันจำพวกปลา และคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังธัญพืช เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์

    อาหารทะเลชนิดอื่น ๆ ที่สามารถเลือกรับประทานได้

    นอกจากกุ้งยังคงมีอาหารทะเลชนิดอื่น ๆ ที่อาจมีปริมาณคอเลสเตอรอลน้อยกว่าการ กินกุ้ง โดยสามารถเลือกรับประทาน หรือนำมาปรุงอาหารได้ตามความต้องการ ดังนี้

    • ปู ในเนื้อปูค่อนข้างมีโปรตีนสูง อีกทั้งยังมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อยกว่ากุ้ง แต่อาจมีปริมาณโซเดียมที่มากกว่า จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
    • แซลมอน เป็นปลายอดนิยมที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากแซลมอนอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 โปรตีน วิตามินบีสูง ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบเผาผลาญ และระบบประสาทที่ดี
    • หอยนางรม หอยแมลงภู่ ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี 12 ฟอสฟอรัส ไนอาซิน และซีลีเนียม เป็นสารอาหารที่อยู่ภายในหอยนางรม และหอยแมลงภู่ ซึ่งหอยทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลได้ทั้งชนิดดี และชนิดไม่ดีได้ จึงเป็นสิ่งที่อาจช่วยเสริมสร้างความสมดุลให้แก่ร่างกาย

    นอกจากนี้ ก่อนการรับประทานหากมีความกังวลถึงสุขภาพ ควรเข้าขอรับการปรึกษาจากแพทย์เสียก่อน เพราะอาหารทะเลบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น ผดผื่น ลมพิษ หายใจลำบาก และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา